คุณประโยชน์อันหลากหลายของเห็ดหลินจือนั้นเลื่องชื่อลือนามมาตั้งแต่ 4,000 ปีก่อน เป็นสมุนไพรที่สามารถยับยั้ง และช่วยรักษาโรคต่างๆ ได้ สรรพคุณอันหลากหลายของเห็ดหลินจือให้ทุกคนได้รู้กันค่ะ
เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ (Lacquered mushroom) จัดเป็นราชาแห่งสมุนไพรจีน ที่มีการใช้มานานกว่า 4,000 ปี เป็นยาอายุวัฒนะและรักษาโรคต่าง ๆ ในเภสัชตำรับของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเห็ดหลินจือที่พบทั่วโลกมีกว่า 2,000 ชนิด แต่มีประมาณ 200 ชนิดที่สามารถรับประทานได้โดยปลอดภัย
ในเห็ดหลินจือนั้นมีสารประกอบแร่ธาตุที่จำเป็นแก่ร่างกายเป็นจำนวนมาก ได้แก่ วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน กรดไขมัน ใยอาหาร เอนไซม์ สารออร์โกสเตอรอล วิตามิน แร่ธาตุ และโปรตีนในปริมาณสูงเพียงพอที่จะเสริมภาวะขาดแคลนต่างๆของร่างกาย รวมทั้งมีสารอื่นๆ อีกมากที่มีส่วนช่วยแก้ไขระบบเผาผลาญอาหารให้คืนสู่สภาวะปกติ
ประโยชน์ของเห็ดหลินจือ
1. บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง
2. บำรุงและรักษาสายตา
3. ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง ชะลอแก่ ชะลอวัย
4. ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจดีขึ้น
5. ทำให้การทำงานของระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
6. ผ่อนคลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้นอนหลับได้สนิท
7. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวสร้างสารต้านมะเร็ง ต้านการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง ระงับการกระจายของเซลล์มะเร็ง
8. แก้พิษจากรังสี คีโม
9. ระงับอาการปวด
10. ลดความดันโลหิตและรักษาโรคความดันโลหิตสูง ปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำให้สมดุล
11. รักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ป้องกันเส้นเลือดในสมองและหัวใจอุดตัน
12. ป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาต
13. รักษาและบรรเทาอาการของโรคหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาทให้ทุเลา
14. ลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมอาการเบาหวาน
15. รักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด
16. บำรุงตับ และรักษาโรคตับ ตับแข็ง ตับอักเสบ
17. รักษาโรคไตเรื้อรังบางชนิด โดยช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของไตให้ดีขึ้น
18. รักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
19. ยับยั้งเชื้อไวรัส อย่าง ไวรัสเอดส์ อีสุกอีใส งูสวัด
20. รักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน เช่น ถุงลมโป่งพอง หัวใจล้มเหลว เส้นเลือดหัวใจตีบ
ในปัจจุบันเห็ดหลินจือสามารถหาบริโภคกันได้อย่างหลากหลายรูปแบบทั้ง แคปซูล ผงสกัด และเครื่องดื่มสำเร็จรูป พอได้รู้ประโยชน์นานัปการของเห็ดหลินจืออย่างนี้แล้ว ก็ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมเห็ดหลินจือถึงได้ชื่อว่า “เทพเจ้าแห่งชีวิต” ใช่ไหมล่ะคะ
ขอบคุณข้อมูล Wikipedia
ภาพประกอบจาก istockphoto
Story : แพรวา คงฟัก
ขอบคุณที่มา https://www.sanook.com/health/5329/