SLEไม่มีหมวดหมู่

โรค SLE ห้ามกินอาหารอะไรบ้าง ไม่อยากอาการทรุดต้องดูแล

Views
โรค SLE หรือที่คนไทยคุ้นหูกันในชื่อว่า โรคพุ่มพวง หากป่วยแล้วควรต้องดูแลตัวเองอย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องอาหารการกินที่ควรต้องเลี่ยง เพราะอาจกระตุ้นอาการของโรค SLE ให้กำเริบได้ หาคำตอบได้ที่นี่

โรค SLE ก็คือโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคภูมิต้านทานตนเองชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายที่ผิดปกติ กล่าวคือ จากปกติที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย หรือไวรัสจากภายนอกร่างกาย แต่กลับต่อต้านร่างกายของตัวเอง จนทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่าง ๆ ถ้าเป็นรุนแรงจะมีการทำลายอวัยวะภายในด้วย เช่น ไต หัวใจ ปอด และระบบประสาท ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยจึงควรให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะในเรื่องอาหารการกิน ซึ่งหากใครกำลังสงสัยในประเด็นที่ว่า โรค SLE ห้ามกินอาหารอะไรบ้าง หรือผู้ป่วยโรค SLE ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไหน วันนี้เรามีข้อมูลมาไขข้อสงสัยให้คุณแล้วค่ะ


โรค SLE ก็คือโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคภูมิต้านทานตนเองชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายที่ผิดปกติ กล่าวคือ จากปกติที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย หรือไวรัสจากภายนอกร่างกาย แต่กลับต่อต้านร่างกายของตัวเอง จนทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่าง ๆ ถ้าเป็นรุนแรงจะมีการทำลายอวัยวะภายในด้วย เช่น ไต หัวใจ ปอด และระบบประสาท ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยจึงควรให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะในเรื่องอาหารการกิน ซึ่งหากใครกำลังสงสัยในประเด็นที่ว่า โรค SLE ห้ามกินอาหารอะไรบ้าง หรือผู้ป่วยโรค SLE ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไหน วันนี้เรามีข้อมูลมาไขข้อสงสัยให้คุณแล้วค่ะ
โรค SLE ห้ามกินอาหารอะไรบ้าง

จริง ๆ แล้วในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้ว่า อาหารชนิดไหนที่สามารถทำให้อาการ SLE กำเริบ หรือแม้แต่อาหารที่ช่วยให้อาการของโรค SLE ดีขึ้นได้ก็ยังไม่พบข้อมูลทางการแพทย์ที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน เพราะถ้าพูดถึงการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรค SLE จะมีลักษณะเหมือนกับแนวทางการกินเพื่อสุขภาพที่ดีทั่วไปนั่นเอง

พูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้ป่วยโรค SLE ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สด ไม่สุก หรือสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ไม่สะอาด หรือเสี่ยงต่อการปนเปื้อน เพราะผู้ป่วยโรค SLE มีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่ำอยู่แล้ว ดังนั้นอาหารที่จะรับประทานก็ควรถูกสุขอนามัยอย่างที่สุด

 แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลด้านอาหารการกินของผู้ป่วยโรค SLE เราก็พอมีข้อมูลอาหารที่ผู้ป่วยโรค SLE ควรหลีกเลี่ยง เพื่อลดโอกาสเกิดอาการที่รุนแรงหรือโรคแทรกซ้อนได้ ซึ่งมีตามนี้เลยค่ะ

โรค SLE

1. เนื้อแดง

เนื้อแดงมีไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูง เสี่ยงต่อภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรค SLE ควรเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงอย่างเนื้อแดง และเนื้อสัตว์ไขมันสูงทุกชนิดไว้จะดีกว่า แล้วเปลี่ยนมารับประทานเนื้อปลา เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอแรล ซึ่งมีกรดโอเมก้า 3 สูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยป้องกันอาการอักเสบในร่างกายได้ และถ้าจะให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้นไปอีก แนะนำเป็นอาหารประเภทโปรตีนไขมันต่ำอย่างเนื้อไก่และถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกค่ะ

โรค SLE

2. อาหารไขมันสูง อาหารที่มีไขมันทรานส์

อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารประเภททอด อาหารมัน ๆ หรือพวกเค้ก คุกกี้ แครกเกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ และโดนัท รวมไปถึงบรรดาอาหารฟาสต์ฟู้ดทั้งหลายที่มีไขมันทรานส์แอบแฝงอยู่ ผู้ป่วยโรค SLE ก็ควรเลี่ยงให้ไกลด้วยเช่นกัน เพราะอย่างที่บอกไปแล้วนะคะว่า อาหารไขมันสูงอาจทำให้ผู้ป่วย SLE มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อระบบใด ๆ ในร่างกายแน่นอน หนำซ้ำยังอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ อย่างโรคความดันโลหิต โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวานได้อีก

โรค SLE

3. คาเฟอีน

คาเฟอีนในที่นี้หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่มีคาเฟอีนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น กาแฟ ชา น้ำอัดลม ช็อกโกแลต หรือแม้กระทั่งเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นไปได้อยากให้งดไปเลยจะดีมากค่ะ เพราะคาเฟอีนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว รวมไปถึงอาจกระตุ้นระบบในช่องท้องด้วย ซึ่งยาบางตัวที่ใช้รักษาคนไข้ SLE บางราย ก็มีจุดประสงค์ให้คนไข้นอนหลับได้ดีขึ้น หรือยาบางตัวอาจมีผลข้างเคียงเรื่องระบบลำไส้อยู่แล้ว ดังนั้นก็อย่าให้คาเฟอีนมาซ้ำเติมร่างกายเราเลยดีกว่า

– 6 อาหารที่มีคาเฟอีนแฝงอยู่ บอกเลย ถึงไม่ดื่มกาแฟก็หนีไม่พ้น

โรค SLE

4. อาหารเค็มจัด

ผู้ป่วยโรค SLE ควรลดปริมาณการรับประทานเกลือให้ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วย SLE ที่เสี่ยงหรือเป็นโรคไตและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเพิ่มความรุนแรงของอาการได้หากกินอาหารรสเค็มจัดอย่างอาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป หรืออาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีปริมาณโซเดียมค่อนข้างมาก

โรค SLE

5. แอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เคยส่งผลดีกับใคร ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีก็ตาม ยิ่งในเคสผู้ป่วยโรค SLE ที่ต้องกินยารักษาอาการเป็นประจำ ยิ่งไม่ควรจะดื่มแอลกอฮอล์ด้วยประการทั้งปวง เพราะยาบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยาต่อแอลกอฮอล์ และทำให้อาการป่วยของเราแย่ไปด้วยได้นะคะ

โรค SLE

6. อาหารประเภทแป้งขัดสี และน้ำตาล

ผู้ป่วยโรค SLE ที่รับประทานยาสเตียรอยด์ จะมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานแทรกซ้อนได้ง่าย ดังนั้นจึงควรจำกัดปริมาณน้ำตาล และอาหารประเภทแป้งขัดขาวอย่างขนมปังขาว ข้าวขาว ข้าวเหนียว เป็นต้น เพราะหากรับประทานน้ำตาลและอาหารประเภทแป้งอย่างไม่ระมัดระวัง อาจเสี่ยงต่อโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้นได้ ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยโรค SLE แนะนำเป็นข้าวซ้อมมือ โฮลวีท โฮลเกรน ซึ่งนอกจากจะมีวิตามินเยอะกว่าแป้งขัดสีแล้ว ยังมีไฟเบอร์สูง ช่วยป้องกันอาการท้องผูก และช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจไปด้วยในตัว

โรค SLE

7.  กระเทียม

แม้กระเทียมจะเป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงสุขภาพได้หลายอย่าง แต่สำหรับผู้ป่วยโรค SLE กลับควรเลี่ยงกระเทียมและอาหารประเภทหน่อให้ไกลเลยค่ะ เพราะข้อมูลทางการแพทย์พบว่า กระเทียมมีสาร Allicin, Ajoene และ Thiosulfinates ซึ่งอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย และอาจทำปฏิกิริยากับยาประเภทสเตียรอยด์ อาจทำให้เลือดออกในร่างกายได้

อาหารเพื่อสุขภาพ

โรค SLE ควรกินอาหารอะไรเพิ่มเติม

นอกจากอาหารที่ให้สารอาหารครบ 5 หมู่ และอาหารที่สด สะอาดแล้ว อาหารที่ผู้ป่วยโรค SLE ควรกินเพิ่มเติมก็มีดังนี้

โรค SLE

1. อาหารแคลเซียมสูง

ผู้ป่วยโรค SLE ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมโค นมถั่วเหลือง เต้าหู้ งา ข้าวโอ๊ต เป็นต้น เนื่องจากผู้ป่วยโรค SLE มีแนวโน้มจะป่วยด้วยโรคกระดูกพรุน และปัจจัยที่ผู้ป่วยต้องกินยาสเตียรอยด์ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้มาก

โรค SLE

2. วิตามินดี

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ เผยว่า จากงานวิจัยทำให้ทราบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการขาดวิตามินดีกับความรุนแรงทางอาการของโรค SLE เนื่องจากผู้ป่วยโรค SLE ควรต้องเลี่ยงการถูกแสงแดด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ขาดวิตามินดีจากแสงแดดได้ และก็เหมือนโชคร้ายที่คนเราต้องรับวิตามินดีจากแสงแดดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และหากหวังจะพึ่งวิตามินดีจากอาหารก็ค่อนข้างมีน้อยมาก ดังนั้น นพ.สันต์ จึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรค SLE รับประทานวิตามินดีเสริม โดยวิตามินดี 2 หรือ เออโกแคลซิเฟอรอล (Vitamin D2 : Ergocalciferol) ขนาด 20,000 ยูนิต เดือนละ 2 เม็ด คือทุก 2 สัปดาห์ทานครั้งละ 1 เม็ด เพื่อลดโอกาสอาการกำเริบ

 อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยโรค SLE ควรหมั่นรักษาสุขภาพในด้านอื่น ๆ ควบคู่กันไป โดยหมั่นออกกำลังกาย ดื่มน้ำสะอาดให้เยอะ ๆ พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รวมทั้งควรป้องกันโรคที่สามารถป้องกันได้ไว้ก่อน เช่น ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น แต่ทั้งนี้การฉีดวัคซีนหรือการป้องกันโรคใด ๆ ควรอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ด้วยนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

DrSant บทความสุขภาพ นพ.สันต์ ยอดใจศิลป์
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์
ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค
lupusny
webmd
healthline