ในปัจจุบันผู้ป่วยเป็นโรคไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี หนึ่งในสาเหตุการเกิดโรค คือ ปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล โดยที่ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรอย่างถูกต้อง
ยาที่มักก่อให้เกิดอันตรายต่อไต
- กลุ่มยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน (Aspirin), ไอบูโพเฟน (Ibuprofen) เป็นต้น กลุ่มที่ก่อให้เกิดปัญหามากที่สุด
- ยาต้านจุลชีพบางชนิด เช่น อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir), สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin), ไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้อีก
- ยาชุดผิดกฎหมายที่มักมียาที่เป็นพิษต่อไตอย่างสเตียรอยด์หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์รวมอยู่
- ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งมักลักลอบใส่สารที่อันตรายยาไม่เหมาะสม สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายต่อไต
- ผลิตภัณฑ์ที่แอบอ้างสรรพคุณว่าบำรุงไตหรือล้างไต ซึ่งไม่สามารถโฆษณาสรรพคุณนี้ได้ถือว่าผิดกฎหมาย ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แม้จะไม่ได้เป็นพิษต่อไตโดยตรง แต่อาจสร้างปัญหาได้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยละเลยการดูแลไต จนโรคลุกลามได้
สัญญาณอันตราย “โรคไต”
ส่วนการสังเกตอาการโรคไตนั้น วิธีที่ได้ผลชัดเจนที่สุดคือการเจาะเลือดตรวจ แต่เราสามารถสังเกตุอาการสัญญาณเตือนโรคไตได้ ดังนี้
- เหนื่อยง่าย
- บวม อาจจะเป็นตัวบวม มือ แขน ขาบวม กดแล้วบุ๋มลง ผิวหนังไม่เด้งกลับคืนเหมือนเก่า
- ปวดสีข้างด้านหลัง
- ปัสสาวะน้อยมาก หรือปัสสาวะมีฟอง
การป้องกันการเกิดโรคไตจากการใช้ยา
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาเอง แนะนำปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
- ไม่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ยา อาหารเสริมหรือยาจากสมุนไพรที่ผิดกฎหมายไม่ได้ขึ้นทะเบียน โอ้อวดสรรพคุณ รวมถึงยาชุด
ขอขอบคุณ https://www.sanook.com
ข้อมูล :สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ภาพ :iStock