-
การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังคืออะไร
การทดสอบผิวหนังใช้สารก่อภูมิแพ้ทั่วไปในรูปแบบเข้มข้น แพทย์จะใช้สารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนัง เพื่อดูว่าผิวหนังมีการตอบสนองอย่างไร ผิวหนังอาจมีอาการระคายเคือง และคันเหมือนยุงกัด ข้ออธิบายสำหรับปฏิกิริยาดังกล่าวก็คือ เกิดจากกลไกของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อคุณสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันจะปล่อยแอนติบอดีออกมา จะทำให้เกิดห่วงโซ่ปฏิกิริยาทางเคมี เพื่อต้านสิ่งกระตุ้น ตามปฏิกิริยาของผิวหนังแล้ว แพทย์จะสามารถตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ได้
-
ประเภทการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง
การทดสอบผิวหนังมีหลายประเภท
- การทดสอบด้วยการสะกิดผิว
การทดสอบด้วยการสะกิดผิว (Scratch test หรือ prick test) เป็นการทดสอบที่ใช้มากที่สุด แพทย์จะทำการตรวจผิวหนังที่แขนหรือหลัง แล้วเช็ดด้วยแอลกอออล์ แล้วแพทย์จะทำเครื่องหมายที่ผิวหนังด้วยปากกา หลังจากนั้น แพทย์จะหยดสารก่อภูมิแพ้ในแต่ละจุด และทำการสะกิดผิว เพื่อให้สารก่อภูมิแพ้เข้าไปในผิวหนัง การดำเนินการดังกล่าวไม่ใช่การฉีดยา และไม่มีเลือดออก
- การทดสอบในชั้นผิวหนัง (Intradermal test)
การเตรียมตัวค่อนข้างเหมือนกับการทดสอบด้วยการสะกิดผิวหนัง เว้นแต่ในการทดสอบนี้ จะฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในผิวหนังชั้นนอก
- การทดสอบด้วยแผ่นแปะ
ในการทดสอบด้วยแผ่นแปะ (Patch Test) นั้น จะใส่สารก่อภูมิแพ้เข้าไปในแผ่นทดสอบ แล้วนำไปติดที่ผิวหนัง
โดยปกติแล้ว การทดสอบมักใช้เวลา 30 นาที ซึ่งรวมถึงเวลารอให้ผิวหนังมีปฏิกิริยาตอบสนอง แต่การตรวจด้วยแผ่นทดสอบ ต้องใช้เวลามากกว่า โดยมักต้องเข้าพบแพทย์สองครั้งกว่าจะเสร็จสิ้น เนื่องจากคุณจำเป็นต้องติดแผ่นทดสอบ เป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อให้ปฏิกิริยาใดๆ ที่เกิดขึ้นช้าสามารถเกิดขึ้นได้
-
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทดสอบ
โดยทั่วไปแล้ว การทดสอบผิวหนังมีความปลอดภัย ผิวหนังของคุณอาจมีอาการระคายเคือง แต่การสัมผัสสารก่อภูมิแพ้มีความจำกัดมาก อาจไม่มีปฏิกิริยาทั่วร่างกายต่อการทดสอบผิวหนัง อย่างไรก็ดี คุณจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีอาการไข้ เวียนศีรษะ หายใจลำบาก มีผื่นขึ้นรุนแรง มีอาการบวม หรือกลืนลำบาก
หลังการทดสอบ จะทำความสะอาดสารก่อภูมิแพ้ออกจากผิวหนัง หากมีอาการระคายเคือง หมอจะทำการรักษาเฉพาะที่เพื่อบรรเทาอาการ จากผลการทดสอบ หมอจะได้จัดแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณ