ต้อกระจก

ต้อกระจกในผู้สูงอายุ โรคตายอดฮิตที่มาเยือนยามแก่

Views

คุณอาจทราบกันดีอยู่แล้วว่าเมื่อคนเราแก่ตัวลง ก็มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้มากขึ้น และ ต้อกระจก คือ ความเจ็บป่วยอย่างหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปในกลุ่มผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุของสูญเสียการมองเห็นในที่สุด โดยอาจเป็นได้ในดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง  Hello คุณหมอ จึงชวนคุณมาทำความเข้าใจกับข้อมูลพื้นฐานว่า ต้อกระจกในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะรักษาให้ดีขึ้นได้อย่างไรหลังถูกวินิจฉัยว่าเป็นต้อกระจก

ต้อกระจกคืออะไร

ต้อกระจก คืออาการที่เลนส์ดวงตาเกิดความขุ่นมัว โดยเลนส์ดวงตาจะตั้งอยู่บริเวณหลังม่านตาและตาดำ ในดวงตาที่ปกตินั้น แสงจะผ่านเลนส์ที่มีลักษณะโปร่งใสมายังจอตา เมื่อแสงกระทบกับจอตา แสงจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณและถูกส่งไปยังสมอง เลนส์ดวงตาที่ดีจึงควรมีความชัดเจนเพื่อให้จอตารับภาพได้อย่างคมชัด ถ้าเลนส์ดวงตาขุ่นมัวเพราะต้อกระจก ภาพที่ผู้ป่วยเห็นก็จะพร่ามัวตามไปด้วย

ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มักมีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อกระจก และที่น่ากังวลก็คือ ต้อกระจก คือ สาเหตุอันดับต้นๆ ที่นำไปสู่อาการตาบอดของคนทั่วโลก

สาเหตุของ ต้อกระจกในผู้สูงอายุ

เลนส์ดวงตานั้นถูกสร้างขึ้นจากน้ำและโปรตีน โปรตีนจะถูกเก็บรักษาไว้เพื่อช่วยคงสภาพให้เลนส์ดวงตามีความชัดเจน และช่วยให้แสงผ่านทะลุไปได้

เมื่อคนเราแก่ตัวลง โปรตีนอาจจะจับตัวเป็นกลุ่มก้อน ทำให้บางส่วนของเลนส์ดวงตามีความขุ่นมัว และนี่คือที่มาของต้อกระจกนั่นเอง เมื่อเวลาผ่านไป ต้อกระจกจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและทำให้เลนส์ดวงตามีความขุ่นมัวมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการมองเห็นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

สาเหตุหลักของการเกิดต้อกระจก มีดังนี้

  • ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์หรือจากแหล่งอื่นๆ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคอ้วน
  • สูบบุหรี่
  • มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน
  • ใช้ยาประเภทคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นเวลานาน
  • ดวงตาเคยเกิดการบาดเจ็บหรือมีอาการอักเสบ
  • เคยเข้ารับการผ่าตัดดวงตา
  • เข้ารับการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone replacement therapy)
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากออกซิเดชั่นในเลนส์ดวงตา

สัญญาณและอาการของต้อกระจก

  • มองเห็นภาพขุ่นมัว
  • มองเห็นสีสันได้ไม่สดใสอย่างที่เคยเป็น
  • มองเห็ แสงไฟ โคมไฟ หรือแสงแดด มีความสว่างจ้ามากกว่าปกติ หรืออาจเห็นรัศมีรอบแสงไฟด้วย
  • ไม่สามารถมองเห็น หรือ มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืน
  • เห็นภาพซ้อนในดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง โดยอาการนี้อาจหายไปเมื่อต้อกระจกมีความรุนแรงมากขึ้น
  • ต้องเปลี่ยนแว่นตาหรือคอนแท็คเลนส์บ่อยผิดปกติ

อาการเหล่านี้อาจนำมาสู่ปัญหาทางด้านสายตาชนิดอื่นๆ ได้ โปรดปรึกษาแพทย์ว่าควรเข้ารับการตรวจดวงตาหรือไม่ อย่าลังเลที่จะไปพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาและรับประทานยาเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะตามมา

การป้องกันต้อกระจก

รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุ และอาหารเสริม ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดต้อกระจกได้ทั้งสิ้น

โดยอาหาร แร่ธาตุ และวิตามิน ที่มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดต้อกระจกได้แก่

  • วิตามินอี สามารถพบได้ในผักใบเขียว ถั่ว เมล็ดพืช อะโวคาโด หอย ปลา น้ำมันที่สกัดมาจากพืช บร็อกโคลี่ ฟักและผลไม้ เป็นต้น
  • สารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) สามารถพบได้ในไข่ ผักใบเขียวอย่างเช่นผักโขม ผักคะน้า ผักเทอร์นิปเขียว ผักคะน้าฝรั่ง (collard greens) และผักกาดโรเมน (Romaine Lettuce) บร็อกโคลี่ แตงกวาญี่ปุ่น ถั่วลันเตา และกะหล่ำปลีบรัสเซลส์ (Brussels sprouts)
  • วิตามินซีและกรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถพบได้ในอาหารทะเลและผลไม้

การรักษาต้อกระจก

เปลี่ยนแว่นสายตาใหม่ โดยอาจใช้แว่นที่มีเลนส์สำหรับมองระยะใกล้และไกล การใช้แว่นขยาย การใช้แสงไฟในระดับที่ถนอมสายตา หรือการใช้ตัวช่วยอย่างอื่นสำหรับการมองเห็น จะช่วยรักษาให้อาการต้อกระจกดีขึ้น อีกทั้งผู้ป่วยอาจพิจารณาถึงการผ่าตัด ถ้าปัญหาทางสายตาที่เกิดจากต้อกระจกส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ย้ำเตือนว่าเราควรใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณผู้อ่านศึกษาและทราบถึงข้อมูลข้างต้นเหล่านี้ทั้งหมดแล้ว ต้อกระจก คงยังไม่มาในเร็วๆ นี้ แน่นอน เพราะคุณได้เคล็ดลับดีๆ ในการป้องกันตัวเองจากต้อกระจกไปแล้ว

ขอขอบคุณข้อมูล:hellokhunmor.com

Leave a Reply