มะเร็งกระดูก

มะเร็งกระดูกคืออะไร เกิดจาก ป้องกันได้อย่างไร

Views

ประเภทของมะเร็งกระดูก

1.มะเร็งกระดูกที่เกิดจากความผิดปกติภายในเซลล์ของเนื้อกระดูกโดยตรง หากเกิดจากเหตุนี้และมีตรวจพบในระยะเริ่มต้น ยังมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้

2.มะเร็งกระดูกที่เกิดจากอวัยวะส่วนอื่นแล้วกระจายเข้าสู่กระดูก

สาเหตุทั่วไปที่อาจพบ

โดยทั่วไปแล้วร่างกายของมนุษย์ เมื่อกระดูกโตเต็มที่จะมีการปรับแต่งกระดูกให้เข้ารูป โดยมีทั้งการสร้างและการสลายกระดูกเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดียวกัน กระดูกจะไม่มีการเปลี่ยนรูปทรงแต่จะมีความแข็งแรงขึ้น

ส่วนสาเหตุที่เกิดมะเร็งกระดูกนั้น มีทั้งที่เกิดมะเร็งในกระดูกเอง และเกิดจาก “ต้นกำเนิดเม็ดเลือดบางชนิดในโพรงไขกระดูก หรือเกิดจากเซลล์มะเร็งในอวัยวะอื่นกระจายไปที่กระดูก โดยการเจาะทะลุหลอดเลือดและไหลไปตามหลอดเลือดแล้วจึงแทรกตัวผ่านผนังหลอดเลือดเข้าไปเกาะตัวบริเวณเนื้อกระดูก ทำให้กระดูกบางส่วนถูกทำลายเกิดเป็นรูขนาดเล็กจำนวนมาก ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรงและแตกหักง่าย”

อาการมะเร็งเข้ากระดูก

สามารถสังเกตได้หากมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้
1. กระดูกแขนขาหัก โดยที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุอะไร
2. ชามือ ชาเท้า แขนขาอ่อนแรง ทั้งนี้เนื่องจากกระดูกสันหลังถูกมะเร็งทำลายจนยุบหรือกร่อน แล้วไปกดทับไขสันหลัง
3. มีอาการปวดกระดูกมากผิดปกติ
4. อาการภาวะแคลเซียมในเลือดสูง อาจแสดงอาการให้เห็นผ่านทางอาการอื่นๆ เช่น ซึมหมดสติ ท้องอืด ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัสสาวะผิดปกติ หิวน้ำมาก

หากมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอย่างละเอียด

แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งกระดูก

เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรคนั้นยังไม่ชัดเจนนัก แต่ก็พอจะป้องกันไม่ให้เกิดได้จากการทำให้ร่างกายแข็งแรง โดยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ให้พอเพียงต่อความต้องการ อีกทั้งออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหากพบสิ่งผิดปกติของร่างกาย เริ่มต้นจากอาการปวดบวม หรือมีก้อน รักษาแล้วก็ไม่หาย มิหนำซ้ำยังปวดมากขึ้น ก็ต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียด

นอกจากนั้นก็คือ ให้ดูแลในเรื่องป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคคือ  คนที่เคยเป็นมะเร็งประเภทอื่นมาก่อน แม้รักษาให้หายแล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งกระดูกในภายหลังได้ เพราะมะเร็งอาจเกิดซ้ำที่เดิมหรือกระจายไกลไปตามอวัยวะต่างๆ รวมถึงกระดูก และสมอง

หากจะป้องกันโรคมะเร็งกระดูกจึงต้องระวังมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เป็นสำคัญ

ขอขอบคุณข้อมูล:345health.com

Leave a Reply