กินเร็วทำไมถึงอ้วนลงพุง?
การกินอาหารเร็วจะส่งผลให้คุณรับประทานอาหารได้ในปริมาณที่มากขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากสมองของคนเราจะได้รับสัญญาณจากกระเพาะ และสั่งการให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม โดยสมองจะใช้เวลามากกว่า 20 นาที บอกว่าอิ่มแล้ว การกินเร็วทำให้สมองจะสั่งการไม่ทัน กระเพาะยังไม่ได้รับรู้ถึงความรู้สึกอิ่ม ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณอาหารมากเกินไปนั่นเอง
นอกจากนี้แล้ว การกินเร็วยังส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างอื่นตามมาด้วย เช่น ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ระบบย่อยอาหารไม่ดี อาหารไม่ย่อย มีปัญหาต่อการขับถ่าย โรคกรดไหลย้อน หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคความดัน และโรคหัวใจ เนื่องจากโรคอ้วนลงพุงเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ เหล่านี้ได้ โดยมีผลจากงานวิจัยสรุปว่า คนที่กินเร็วเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานถึง 2.5 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่กินปกติ อีกทั้งการกินเร็วยังทำให้เสี่ยงต่อภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น ถ้าร่างกายเราดื้อต่อสารอินซูลินจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงสูงกว่าคนปกติ จึงทำให้เกิดโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจตามมาได้
โดยมีงานวิจัยเกี่ยวกับในประเทศญี่ปุ่นศึกษาเกี่ยวกับการกินเร็ว ใช้เวลาทำการวิจัย 5 ปี ในผู้ร่วมวิจัย 1,083 คน แบ่งเป็นคนกินเร็ว กินปกติ และกินช้า หลังการทำวิจัย 5 ปี พบว่า มีจำนวน 84 คนมีภาวะเผาผลาญอาหารผิดปกติ และ 89% คนที่กินเร็วมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น รอบเอวหนาขึ้น และมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนที่กินปกติและกินช้า
อีกทั้งคนที่กินเร็วมีแนวโน้มการกินมากเกินไปเนื่องจากมักจะกินหมดก่อนที่ร่างกายจะรู้สึกอิ่ม และการกินเร็วยังนำไปสู่การดื้อต่ออินซูลินได้
นอกจากนี้แล้วยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์บิน เมดิคัล ประเทศจีน พบว่า การเคี้ยวอาหารมากครั้งจะช่วยให้กินอาหารได้น้อยลง และมีน้ำหนักลดลงตามไปด้วย ซึ่งในการวิจัยได้ทดสอบผู้ชายรูปร่างผอมจำนวน 14 คน และผู้ชายรูปร่างอ้วนจำนวน 16 คน ผลปรากฏว่าชายรูปร่างอ้วนเคี้ยวน้อยครั้งและกลืนเร็วกว่าชายรูปร่างผอม
ขอบคุณข้อมูลจาก : mgronline