โรคพีซีโอเอส หรือ Poly-cystic ovarian syndrome ย่อว่า PCOS เป็น การเรียก โรคที่เกิดในผู้หญิง ที่มีความผิดปกติของรังไข่ โดย ในรังไข่ปกติจะมีการตกไข่ได้ 1-2 ฟองเท่านั้น แต่ ผู้ป่วยโรคนี้พบว่า ไข่ที่ตกมามีถุงน้ำหุ้ม ภายในมีไข่อยู่หลายใบ ทำให้เมื่ออัลตราซาว์ดู จะพบลักษณะเป็นก้อนสีดำ ที่ นิยมเรียกว่า ซีสต์ หรือ Cyst นั่นอง โรคนี้เป็นโรคในกลุ่มโรคระบบต่อมไร้ท่อในเพศหญิง อาการที่สังเกตุง่ายสุดคือ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนไม่ตรง มาๆหยุดๆ มาเดือนเว้นเดือน หรือ นานๆมาที บางกรณีพบว่า ไม่มีประจำเดือน มีลักษณะฮอร์โมนเพศชายสูง เช่น สิวขึ้นเยอะ เสียงห้าว หน้าอกเล็ก ขนดก หัวล้าน โรคนี้พบได้ประมาณ 5-10 เปอร์เซนต์ ในเพศหญิง หากปล่อยให้ อาการต่างๆเรื้อรัง โดยไม่เข้ารับ การรักษา จะทำให้เกิด โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โรคมะเร็งเต้านม และ โรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุการเกิดโรคพีซีโอเอส
มักพบว่า กลุ่มเสี่ยงจะมีบุคคลในครอบครัว ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื่อรัง หรือ NCDs ได้แก่ โรคอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โรคความดัยโลหิตสูง โรคเก๊าท์ โรคไต และ เมื่อมีลูกหรือหลานเป็นผู้หญิง จะพบว่า อัตราเสี่ยงต่อการเป็น โรคพีซีโอเอส สูงขึ้นมาก
- พันธุกรรม ผลข้างเคียงจาก โรคNCDs ของ คนในครอบครัว
- ความผิดปกติของระบบฮอร์โมนในร่างกาย มีหลายขั้นตอน ที่สามารถเกิด ความผิดปกติได้ เช่น ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมใต้สมองผิดปกติ ฮอร์โมนกระตุ้นเซลล์รังไข่ผิดปกติ ระดับฮอร์โมนเพศชายในร่างกายเพศหญิงที่มากเกินไป ส่งผลต่อ การตกไข่ผิดปกติ การพัฒนาของไข่ผิดปกติ
- ปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตโรน น้อยกว่าปกติ ทำให้ การหลุดของผนังเยื่อบุมดลูกผิดปกติ ประจำเดือนจึงมาไม่ปกติ
- ปริมาณเอสโตรเจน มากเกินไป ทำให้ผนังเยื่อบุมดลูกหนามากเกินไป เลือดไปล่อเลี้ยงได้ไม่ดี จนหลุดลอกยาก ทำให้ประจำเดือนผิดปกติ การหลุดออกมาทีจะเป็นย่อมๆ กระปริดกระปรอย
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ใน รายที่อาการหนัก ที่ จำเป็นต้องฉีดอินซูลิน แต่ อินซูลินมีผลข้างเคียงต่อรังไข่ เพราะ ไปกระตุ้น การสร้างฮอร์โมนเพศชาย จนเกิดความผิดปกติต่อการตกไข่ จนเกิด อาการต่างๆ ที่กล่าวมา
อาการของโรคพีซีโอเอส
- ประจำเดือนไม่มา มาผิดปกติ บางรายออกมามากผิดปกติ บางรายไม่มาเป็นปี บางรายมาแบบกระปริกระปรอย
- น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ ลักษณะของคนเป็นโรคอ้วน กินปกติแต่อ้วน สามารถอ่านบทความการคำนวณน้ำหนักตามเกณฑ์ BMI ในบทความเรื่อง โรคอ้วน
- สิวขึ้นเยอะ หน้ามัน
- ขนแขน ขนหน้าแข้ง ขนหน้าอก ขนรักแร้ มากผิดปกติ
- หัวล้าน หน้าผากกว้าง เว้าเข้า
- มีลูกยาก ถึงแม้ตั้งใจจะมีก็มียาก บางรายทำการผสมเทียมแล้ว ก็ไม่สามารถฝังตัวอ่อนลงมดลูกได้ เพราะมดลูกหนาเกินไป
- เซ็กซ์จัด มีความต้องการทางเพศมากขึ้นผิดปกติ
การตรวจวินิจฉัยโรคพีซีโอเอส
- การสอบถามอาการเบื้องต้น
- การสอบถามเรื่องประจำเดือน เวลา ความถี่ ลักษณะประจำเดือน ปริมาณ
- การตรวจฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย
- การอัลตราซาว์ ดูมดลูก ดูซีสส์ หรือ ถุงน้ำรังไข่หลายใบ
- การตรวจภายใน เพื่อส่องกล้องดูจากทางช่องคลอด
การรักษาโรคพีซีโอเอส
เนื่องจาก เป็น โรคที่มีมาแต่กำเนิด มีสาเหตุหลักจากพันธุกรรม ทำให้ การรักษาให้หายขาดทำไม่ได้ แต่ ทำได้แค่การบรรเทาอาการ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการรักษา โดย
ในรายที่ไม่ต้องการมีบุตร
- การปรับสมดุลของฮอร์โมน ด้วยยาฮอร์โมน ให้มีฮอร์โมนเพศชายอ่อนๆ การสั่งยาจะต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์เท่านั้น อาจจะมีผลข้างเคียงของยา เกิด อาการคลื่นไส้ อาเจียน
- การเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง เพื่อกระตุ้นประจำเดือน อาจจะมีผลข้างเคียง ทำให้ตัวบวม อารมณ์ขึ้นๆลงๆ
- การปรับพฤติกรรม ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมการกิน ลดความเสี่ยง ในรายที่่ความเสี่ยงต่อการเป็น โรคเบาหวาน
ในรายที่ต้องการมีบุตร
- การรักษาโดยยา ใช้ในรายที่ยังมี อาการไม่มาก ขึ้นอยู่กับ การพิจารณาของแพทย์ ยาที่ใช้ และ ปริมาณ ต้องได้รับ การควบคุมโดยแพทย์เท่านั้น ห้ามซื้อยารับประทานเองเด็ดขาด
- การผ่าตัด การใช้เลเซอร์ ผ่านทางหน้าท้อง จี้ที่ผิวรังไข่ กระตุ้นให้เกิดการตกไข่ โดยแพทย์ผู้เฉี่ยวชาญ จะเพิ่มโอกาสการมีบุตรมากขึ้น กว่า 70 เปอร์เซนต์
การป้องกันการเกิดโรคพีซีโอเอส
- ประจำเดือนขาดเกิน สามเดือน ให้รีบพบแพทย์
- ประจำเดือนมาๆขาดๆ กระปริกระปรอย ให้รีบพบแพทย์
- อ้วน โดยไม่ทราบสาเหตุ ให้รีบพบแพทย์
- สิวขึ้นมากผิดปกติ ขนขึ้นมากผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์
- ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ อย่าตามใจปาก
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 140 นาที ต่อ สัปดาห์
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ ลดแป้ง และ อาหารมัน อาหารทอด
ขอบคุณข้อมูลจาก https://lungwee.com/