งูสวัด

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “งูสวัด” โรคผิวหนังจากการติดเชื้อไวรัสที่คนเคยเป็นอีสุกอีใสต้องรู้

Views

งูสวัด อาการ

อาการโดยทั่วไปของโรคงูสวัด แบ่งได้ 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 เริ่มมีสัญญาณความผิดปกติบนผิวหนังด้านในด้านหนึ่งของร่างกายก่อนจะเริ่มลุกลามไปยังบริเวณอื่น สัญญาณที่ว่าคืออาการแสบร้อนหรือชา จุดที่พบได้บ่อยคือแผ่นหลังกับแขน เวลากดจะรู้สึกเจ็บปวดแต่จะยังไม่มีผื่นขึ้น ผู้ป่วยบางรายจะปวดศีรษะและมีไข้ต่ำๆร่วมด้วย สำหรับระยะที่ 1 นี้เป็นระยะที่เชื้อกำลังฟักตัว ใช้เวลาประมาณ 2-7 วันก่อนจะพัฒนาไปสู่ระยะที่ 2
  • ระยะที่ 2 บริเวณที่เคยแสบร้อนจะแดงมากขึ้น มีผื่นขึ้นโดยผื่นมีลักษณะเป็นตุ่มใส เรียงกันอยู่เป็นกลุ่มๆ
  • ระยะที่ 3 ผื่นจะขึ้นมากขึ้นและเรียงตัวแนวยาวพาดลำตัวตามแนวเส้นประสาท ส่วนมากจะพบที่แขนหรือเอว แต่ก็แต่ก็สามารถขึ้นที่ใบหน้า ลำคอ หู ศีรษะหรือในดวงตาได้เช่นเดียวกัน และถ้าลามเข้าดวงตา มีโอกาสตาบอดได้ ผื่นนี้จะสร้างความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนมาก บางคนปวดทรมานจนนอนไม่หลับเลยก็มี ผื่นงูสวัดนี้โดยปกติจะพบแค่ข้างเดียวและแนวผื่นจะไปหยุดบริเวณกึ่งกลางลำตัว เนื่องจากเส้นประสาทจะหยุดที่ตรงนั้น มีโอกาสน้อยมากหรืออาจไม่มีโอกาสเลยที่งูสวัดจะพันรอบลำตัว ยกเว้นในรายที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ที่กินยากดภูมิ ผู้ที่ติดเชื้อ HIV อาจมีโอกาสพบผื่นงูสวัดขึ้นพร้อมกันทั้งสองข้างได้ อย่างไรก็ตามก็ยังพบได้น้อยอยู่ดี หลังจากนั้น แผลจะค่อยๆแห้งและตกสะเก็ด ส่วนอาการอื่นๆจะดีขึ้นตามไปด้วย ระยะเวลาตั้งแต่ผื่นเริ่มขึ้นจนยุบแห้งหายสนิทใช้เวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย

ทั้งนี้ถึงแม้ว่าผื่นและอาการอื่นๆจะหมดไป แต่อาการต่อเนื่องของโรคจะยังคงอยู่ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตามแนวเส้นประสาท เนื่องจากเส้นใยประสาทถูกไวรัสทำลาย อาการปวดนี้จะอยู่นานหลายเดือน บางคนมีอาการเกือบปี แต่โดยมากแล้วอาการปวดปลายประสาทหลังรักษาหายแล้วจะเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ถ้าใครเชื้อลุกลามไปอวัยวะอื่นๆ เช่น หู ตา ปอด หัวใจหรือไต ก็จะมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆตามมาด้วย

งูสวัดเกิดจาก

งูสวัด(shingles, herpes zoster) คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์(VZV) การรับเชื้อนั้นมักเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ จากนั้นเชื้อก็เข้าสู่กระแสเลือด ก่อให้เกิดการติดเชื้อทั่วร่างกาย จริงๆแล้วจะบอกว่างูสวัดเกิดจากการติดเชื้อ VZV ตรงๆก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก เพราะหากได้รับเชื้อนี้ครั้งแรก จะเป็นโรคอีสุกอีใสไม่ใช่งูสวัด แต่เมื่อรักษาอีสุกอีใสจนหายดีแล้ว เชื้อจะแฝงตัวอยู่ตามเส้นประสาทไปตลอดชีวิต แต่จะอยู่ในสภาพที่ไม่ก่อโรค จนกระทั่งเกิดการติดเชื้อซ้ำ เชื้อโรคเพิ่มจำนวนขึ้นและเดินทางจากเซลล์ประสาทไปยังปลายประสาท จึงกลายเป็นโรคงูสวัดนั่นเอง ผู้ป่วยโรคนี้จะมีลักษณะเด่นของอาการเหมือนกันคือ มีผื่นใสขึ้นเป็นกลุ่มพาดตามลำตัวและแสบร้อนอย่างมากบริเวณที่มีอาการ ส่วนปัจจัยที่ทำให้งูสวัดกลับมากำเริบได้นั้นมีหลายประการ ดังนี้

  • ไม่รักษาสุขภาพ
  • อายุมากขึ้น
  • ผู้ที่ทานยากดภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

สำหรับกลไกที่ทำให้เชื้อกลับมากำเริบนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยด้านบนเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้โรคกำเริบได้ โรคงูสวัดจะมีความคล้ายคลึงกับเริมในเรื่องลักษณะของผื่น แต่จริงๆ แล้วเกิดจากไวรัสคนละสายพันธ์กันเพียงแต่อยู่ในแฟมิลี่เดียวกันเท่านั้น ปัจจุบันนี้มีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดแล้ว คนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรจะแดกันทุกคน เพราะลดโอกาสการเกิดโรคได้ถึง 50-90% หลังฉีดถึงแม้จะติดเชื้อ ก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้ รวมทั้งยังรักษาหายเร็วขึ้นด้วย

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย โรคภูมิแพ้ เข้าใจ รู้ทัน ป้องกันได้

งูสวัดห้ามกินอะไร

โดยทั่วไปแล้วไม่ได้มีข้อห้ามเรื่องการทานอาหารชนิด จึงสามารถทานได้ทั่วไป เพียงแต่เน้นทานให้ครบถ้วน 5 หมู่ ร่างกายจะได้ฟื้นตัวรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรงดอาหารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ ของหมักดอง อาหารสุกๆดิบๆ เป็นต้น เพราะมันอาจทำให้ร่างกายติดเชื้อเพิ่มเติมได้

งูสวัดกี่วันหาย

ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนอาการแสบร้อนตามประสาทหายไปใช้เวลาตั้งแต่ 2 สัปดาห์-1 ปี แต่ผื่นผิวหนังและอาการทางผิวหนังอื่นๆ จะหายตั้งแต่ 2-6 สัปดาห์แรกนับตั้งแต่วันที่ได้รับเชื้อ แต่หลังจากรักษาหายแล้วอาจจะมีอาการแสบร้อนตามปลายประสาทอยู่ ความรุนแรงและระยะเวลาในการปวดจะต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการทั้งหมดจะหายสนิทภายใน 1 ปี ทั้งนี้ไม่อยากให้ผู้ป่วยเป็นกังวล เพราะอาการปวดนี้มักเกิดกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปเท่านั้น ในคนอายุน้อยกว่านี้มีอัตราการเกิดต่ำมาก ถ้าอายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรงดี โดยมากแล้วจะมีไม่อาการปวดดังกล่าว

โรคงูสวัดเป็นโรคที่ป้องกันได้ไม่ยาก หากใครที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนก็ระมัดระวังอย่าให้ตัวเองติดเชื้อ ถ้ามีคนใกล้ชิดป่วยเป็นอีสุกอีใส ให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะรักษาตัวจนหายดีแล้ว หากกังวลก็ไปฉีดวัคซีนก็ได้ โดยสารมารถป้องกันได้นาน 5 ปี แต่ถ้าเคยเป็นอีสุกอีใสมากแล้ว ก็หมายความว่ามีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว การป้องกันได้ทำได้โดยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันโรคกลับมากำเริบอีกครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูล:atlanticcanadahealthcare.com

Leave a Reply