ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid glands) เป็นต่อมขนาดเล็กสี่ต่อมที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ที่อยู่ข้างใต้ลูกกระเดือกในคอของคุณ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ เป็นก้อนเนื้อมะเร็งภายในต่อมพาราไทรอยด์
คำจำกัดความ
มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ คืออะไร
ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid glands) เป็นต่อมขนาดเล็กสี่ต่อมที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ที่อยู่ข้างใต้ลูกกระเดือกในคอของคุณ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์เป็นก้อนเนื้อมะเร็งภายในต่อมพาราไทรอยด์
พบได้บ่อยเพียงใด
มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์เป็นมะเร็งที่แบ่งตัวช้าประเภทที่พบได้น้อย ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์มักมีอายุ 30 ปีหรือมากกว่า โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์
อาการของมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่
- ปวดกระดูก
- ท้องผูก
- อ่อนเพลีย
- กระดูกแตก
- หิวน้ำบ่อย
- ปัสสาวะบ่อย
- มีนิ่วในไต
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- คลื่นไส้และอาเจียน
- ไม่มีความอยากอาหาร
อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์
สาเหตุที่เป็นไปได้ของมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ มีดังต่อไปนี้
- การฉายรังสี การรักษาด้วยเอกซเรย์หรือพลังงานชนิดอื่นๆ ที่บริเวณคอมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งชนิดนี้ได้
- การถ่ายทอดภาวะไทรอยด์ทำงานเกินในครอบครัว (Familial Isolated Hyperparathyroidism) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดนิ่วในไต คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ร่างกายอ่อนแรง และอ่อนเพลีย
- กลุ่มอาการ MEN1 (multiple endocrine neoplasia type 1) ซึ่งเป็นภาวะที่สัมพันธ์กับเนื้องอกของต่อมสร้างฮอร์โมน
ปัจจัยเสี่ยง
ความเสี่ยงของการเกิด มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์
กรรมพันธุ์มีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยง ในการเกิดมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ ประวัติครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ ภาวะที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เรียกว่า multiple endocrine neoplasia อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเนื้องอกต่อมพาราไทรอยด์ชนิดไม่อันตราย เนื้องอกต่อมพาราไทรอยด์ที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการ MEN มักเป็นชนิดที่ไม่ใช่เนื้อร้าย ปัจจัทางพันธุกรรมไม่ปรากฏว่าสัมพันธ์กับมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์
ไม่มีความเสี่ยงที่แน่ชัดสำหรับผู้ที่ไม่มีประวัติครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์
มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์สามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- การตรวจและประวัติสุขภาพ แพทย์จะสังเกตร่างกายและตรวจหาก้อนนูนหรือสิ่งอื่นๆ ที่ดูไม่ปกติ นอกจากนี้ แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวกับสุขภาพในปัจจุบัน และประวัติสุขภาพของครอบครัวของคุณ
- การตรวจเลือดและปัสสาวะ เป็นการตรวจหาระดับแคลเซียมและพาราไทรอยด์ฮอร์โมนระดับสูงในเลือดและปัสสาวะ ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ก่อนการตรวจ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับผลตรวจที่ถูกต้องที่สุด
- การสแกนต่อมพาราไทรอยด์ วิธีนี้จะแสดงให้เห็นว่าต่อมพาราไทรอยด์สร้างพาราไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไปหรือไม่ วิธีนี้ดำเนินการกับผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาล คุณจะได้รับการฉีดยาที่มีวัตถุกัมมันตรังสี แล้วคุณจะนอนนิ่งๆ เป็นเวลาประมาณ 30 นาทีในขณะที่ถูกถ่ายภาพศีรษะและคอ ต่อมาจะถ่ายภาพอีก และเปรียบเทียบกับภาพถ่ายชุดแรก
- CT (CAT) สแกน จะมีการใช้คอมพิวเตอร์และเอกซเรย์ถ่ายภาพอย่างละเอียดภายในร่างกาย
- MRI (magnetic resonance imaging) ใช้คอมพิวเตอร์ เอกซเรย์ และแม่เหล็กเพื่อถ่ายภาพอย่างละเอียดภายในร่างกาย .
- วิธีนี้ใช้คลื่นเสียงพิเศษเพื่อถ่ายภาพ ซึ่งเรียกว่าวิธีโซโนแกรม (sonogram)
- ฉีดน้ำสีชนิดพิเศษเข้าสู่หลอดเลือด ในขณะที่น้ำสีเคลื่อนผ่านร่างกาย จะทำการเอกซเรย์เพื่อตรวจหาการอุดกั้น
- ตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือด จะเป็นการนำตัวอย่างเลือดมาจากหลอดเลือดที่แตกต่างกัน และตรวจเพื่อดูว่าต่อมพาราไทรอยด์ต่อมใด ที่สร้างพาราไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าที่ควรจะเป็น
การรักษามะเร็งต่อมพาราไทรอยด์
หากแพทย์ตรวจพบมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ แพทย์จะตรวจว่ามีการลุกลามหรือไม่ ในบางครั้งมะเร็งจะแพร่กระจายและเกิดเซลล์มะเร็งใหม่ในที่อื่นในร่างกาย การรักษาแตกต่างกันออกไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
- การผ่าตัดเป็นการรักษาที่พบได้มากที่สุดสำหรับมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ แพทย์อาจผ่าตัดนำเพียงก้อนมะเร็งออกมาหรือนำเนื้อเยื่ออื่นๆ ออกมาด้วย หากมะเร็งลุกลามไปยังบริเวณอื่น
- การฉายรังสีโดยใช้เอกซเรย์และพลังงานสูงอื่นๆ เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง การฉายรังสีอาจใช้ก่อนหรือหลังจากผ่าตัด
- การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency ablation) ใช้ความร้อนเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนได้
- เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ประเภทของยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับมะเร็ง
- การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก เป็นการตรวจที่แพทย์ลองใช้ยาและวิธีการรักษาแบบใหม่ ให้สอบถามแพทย์ว่าคุณเป็นผู้รับการทดลองได้หรือไม่
การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยคุณในการรับมือมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์
คนเราสามารถที่จะรับมือกับมะเร็งได้ เช่นเดียวกับจัดการปัญหาอื่นๆ ในชีวิต โดยแต่ละคนทำได้ตามวิธีของตนเอง โดยอาศัยเวลาและการปฏิบัติ คนส่วนใหญ่หาหนทางต่างๆ สำหรับการทำงาน งานอดิเรก และความสัมพันธ์ทางสังคม
ในขณะที่คุณมองหาหนทางในการจัดการสิ่งต่างๆ ที่ได้ผลสำหรับคุณ คุณอาจต้องการลองใช้แนวคิดบางประการดังต่อไปนี้
- เรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้เกี่ยวกับมะเร็งและการรักษา
- แสดงความรู้สึก บางคนค้นพบว่าการได้ระบายความรู้สึก สามารถช่วยได้
- ดูแลตนเอง
- ออกกำลังกาย
- พยายามสื่อสารกับผู้อื่น
- พยายามมุ่งเน้นในสิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้ แทนสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้
ขอขอบคุณข้อมูล:hellokhunmor.com