โรคหัวใจ

เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น เสี่ยงโรคหัวใจ

44348199 - man having chest pain - heart attack, outdoors
Views

“เจ็บหน้าอก” หรือ “แน่นหน้าอก” เป็นอาการที่ไม่ใช่โรค คือ การเจ็บปวดด้านหน้าและด้านในของทรวงอก ไม่ใช่เจ็บปวดส่วนด้านหลังของทรวงอก อาการเจ็บหน้าอกเป็นอาการที่พบบ่อยอีกอาการหนึ่งพบประมาณ 1-2% ของอาการทั้งหมดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ เกิดได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งหญิง และชาย

าการเจ็บหน้าอก เกิดจากอะไร

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคของปอด อาทิ โรคปอดบวม ภาวะหลอดเลือดอุดตันในปอด และโรคมะเร็งปอด
  • โรคของอวัยวะในช่องท้อง เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ มีแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ถุงดีอักเสบ และโรคนิ่วในถุงน้ำดี
  • โรคของกระดูก กล้ามเนื้อลำคอและทรวงอก อาทิ โรคกระดูกคอเสื่อม โรคของกล้ามเนื้อหน้าอก หรือโรคกระดูกซี่โครงอักเสบ
  • โรคงูสวัด ที่เกิดในส่วนผิวหนังหน้าอก
  • ปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ เช่น เครียด กังวล โกรธ กลัว และ หรือจากการเรียกร้องความสนใจ

      อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บแน่นหน้าอกถือว่าเป็นอาการนำของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งโดยมากมักจะเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น เหงื่อออก หายใจหอบ ปวดร้าวไปที่แขนข้างเดียว หรือทั้งสองข้างไปจนถึงคอ และกราม

สัญญาณเตือนว่าคุณมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

  • เหนื่อยง่าย เวลาออกกําลังกาย หรือเดินเร็วๆ
  • หายใจเข้าได้ลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา เป็นขณะออกกำลังกาย หรือใช้แรงมาก หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืน
  • เจ็บหน้าอก หรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก ด้านซ้าย หรือทั้ง 2 ด้าน
  • ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึ
  • เป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ขา หรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ

สัญญาณของอาการโรคหัวใจที่ควรไปพบแพทย์ทันที

  • เหนื่อย แน่นและเจ็บหน้าอก ซึ่งเป็นอาการที่พบได้มากที่สุด
  • นั่งพักแล้วอาการที่กล่าวมายังไม่ดีขึ้น และเป็นมากขึ้น
  • กรณีในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจใช้ยาอมใต้ลิ้นแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น
  • มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม

     นอกจากอาการเจ็บหน้าอกแล้ว ยังมีอาการที่บ่งชี้ถึงถึงสัญญาณของโรคหัวใจอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

  • อาการใจสั่น ใจสั่นในความหมายทางการแพทย์หมายถึง การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆ หยุดๆ อาการดังกล่าวอาจพบได้ในคนปกติ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และโรคอื่นๆ ที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด แพทย์จะซักประวัติอย่างละเอียดถึงลักษณะของอาการใจสั่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรู้สึกใจสั่นโดยที่หัวใจเต้นปกติ การตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการใจสั่นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการชั่วขณะ เมื่อมาพบแพทย์อาการดังกล่าวก็หายไปแล้ว แพทย์จึงไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ดังนั้น ท่านควรศึกษาวิธีจับชีพจรตัวเอง เมื่อเกิดอาการว่าหัวใจเต้นกี่ครั้งในเวลา 1 นาที และสม่ำเสมอหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ให้การวินิจฉัยได้รวดเร็วขึ้น
  • อาการเหนื่อยหอบง่ายผิดปกติ คำว่าเหนื่อย หอบ ในความหมายของแพทย์หมายถึง อัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยอาจรวมไปถึงอาการเหนื่อย เพลีย หมดแรง เหนื่อยใจ อาการเหนื่อยแบบหมดแรง มือเท้าเย็นชา พูดก็เหนื่อย (โดยอัตราการหายใจปกติ) เหล่านี้มักจะไม่ใช่อาการเหนื่อยจากโรคหัวใจ อาการเหนื่อย หอบง่ายผิดปกติ เช่น เวลาออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ทำงาน มีสาเหตุมากมาย เช่น โลหิตจาง (ซีด) โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) อาการเหนื่อยง่ายจากโรคหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น จะเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว เป็นเวลาออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรงจะเหนื่อยในขณะพัก บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ (นอนแล้วจะเหนื่อย ไอ) ต้องนอนศีรษะสูงหรือ นั่งหลับ
  • วิธีตรวจให้รู้ว่าคุณเป็นโรคหัวใจ หรือไม่

แพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติอาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่พึงสงสัย รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของผู้ป่วย

  • แพทย์จะทำการตรวจทุกระบบทั่วไปของร่างกาย รวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด ฟังการเต้นของหัวใจ วัดความดันโลหิต
  • ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ตามปกติ และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมในการวิ่งสายพาน จะเป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography)
  • หากเกิดข้อสงสัยว่าเป็นโรคหัวใจ การตรวจที่จะบอกได้แน่ชัดอีก คือการตรวจฉีดสี เพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ หรือที่เรียกว่าการสวนหลอดเลือดหัวใจ เพราะโรคหัวใจหากคุณพบความผิดปกติก่อนการดูแลรักษาจะได้ผลดีกว่า และเป็นอันตรายน้อยกว่าปล่อยให้เกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งมีความเสี่ยงถึงชีวิต

ขอขอบคุณ:paolohospital.com

Leave a Reply