โรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขพบได้ประมาณ 1% ของมะเร็งทั้งหมดที่พบนสุนัขเท่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมะเร็งโพรงจมูกจะพบในสุนัขสายพันธุ์ที่มีโครงสร้างจมูกยาว และมักเกิดกับสุนัขที่มีอายุค่อนข้างเยอะ มะเร็งโพรงจมูกจะทำให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง
ลักษณะอาการของมะเร็งโพรงจมูก
สุนัขที่เป็นมะเร็งโพรงจมูกมักจะมีอาการเลือดกำเดาไหล มีน้ำมูกใสหรือสีเขียว/เหลือง จาม หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง จมูกผิดรูป ตาโปน หรืออาจมีอากาทางประสามร่วมด้วย
เมื่อพบว่าสุนัขมีอาการคล้ายคลึงกับมะเร็งโพรงจมูกต้องทำอย่างไร?
โรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขต้องการศัยการวินิจฉัยที่มีความซับซ้อนค่อนข้างมากจึงจะสรุปได้ว่าสุนัขที่เข้ารับการตรวจนั้นเข้าข่ายเป็นโรคมะเร็งโพรงจมูกหรือไม่ หากคุณพบว่าสุนัขมีอาการเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งโพรงจมูกควรนำสุนัขไปพบสัตว์แพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยให้แน่ชัด เพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องแม่นยำและรักษาได้อย่างถูกวิธี โดยการวินิจฉัยของสัตว์แพทย์นั้นมีหลายวิธีเช่น
วินิจฉัยโรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขโดยใช้ภาพถ่ายรังสี
วิธีนี้เป็นวิธีเริ่มต้นในการวินิจฉัยโรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัข สัตว์แพทย์จะทำการถ่ายภาพท่าต่างๆดังนี้ ท่านอนตะแคง (lateral) ท่านอนคว่ำ (dorsoventral recumbency) ทานอนหงายเปิดปาก (ventrodorsal open mouth view) และทาพิเศษเพื่อดูโพรง ฟรอนทัล (frontral sinus view) โดยภาพถ่ายรังสีจะช่วยให้สัตว์แพทย์ประเมินการถูกทําลายของกระดูกได้
วินิจฉัยโรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขโดยใช้ภาพรังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (Advanced diagnostic imaging)
การวินิจฉัยโรคมะเร็งจมูกในสุนัขวิธีนี้คือการ เอกซเรย์คอมพิวเตอร (computed tomography, CT) หรือการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยสนามแมเหล็กกําลังสูง(magnetic resonance imaging, MRI) CT จะให้ภาพที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับกระดูกชัดเจน ในขณะที่ MRI ให้ภาพราละเอียดของเนื้อเยื่ออ่อนได้ดี ภาพรังสีวินิฉัยก้าวหน้าทั้งสองอย่างนี้ช่วยให้สัตว์แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งในจมูกและการลุกลามไปยังบริเวณข้างเคียง รวมถึงการทำนายมะเร็งชนิดนี้ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
วินิจฉัยโรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขโดยการสองกลองโพรงจมูก (Rhinoscopy)
การวินิจฉัยด้วยการสองกลองโพรงจมูกช่วยให้สัตว์แพทย์มองเห็นเนื้อเยื่อที่แม้จริงภายในโพรงจมูกของสุนัข ซึ่งทำให้สามารถวินิฉัยโรคได้ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
วินิจฉัยโรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขโดยการเก็บชิ้นเนื้อไปตรวจทางจุลพยาธิวิทยา (Biopsy)
วิธีนี้เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัข นอกจากวินิฉัยจากภาพถ่ายหรือการส่งกล้องแล้วสัตว์แพทย์อาจจะใช้วิธีเก็บชิ้นเนื้อไปตรวจทางจุลพยาธิวิทยาเข้าร่วมด้วย โดยการเก็บชิ้นเนื้อสามารถทำได้หลายวิธีทั้งการเก็บชิ้นเนื้อจากการส่องกล้องโพรงจมูก เป็นต้น
สุนัขที่เป็นโรคมะเร็งโพรงจมูกมีโอกาสได้รับการรักษาด้วยวิธีไหนบ้าง?
โรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขมีทางเลือกในการรักษาที่ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้มักแพร่กระจายทำลายกระดูกและเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง รวมถึงอาจแพร่กระจายเข้าสู่สมองได้อีกด้วย และการรักษาโรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขให้ขายขาดเป็นไปได้ยาก สิ่งที่สัตว์แพทย์ทำได้เมื่อมีการวินิจฉัยแน่นอนแล้วว่าสุนัขเป็นโรคมะเร็งโพรงจมูกคือการทำให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรืออาจมีระระเวลารอดชีวิตที่นานขึ้น ซึ่งการรักษาสามารถทำได้ดังนี้
รักษาโรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขด้วยยาเคมีบําบัด
การใช้ยาเคมีบำบัดรักษาสุนัขที่เป็นโรคมะเร็งโพรงจมูกอาจจะใช้ได้ผลในสุนัขบางตัวเท่านั้น เนื่องจากการตอบสนองต่อยาในสุนัขแต่ละตัวมีไม่เท่ากัน ในกรณีที่ยาไม่สามารถซึมเข้าไปยังบริเวณที่เป็นมะเร็งได้ดีเท่าที่ควร การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอาจจะใช้ไม่ได้ผล
รักษาโรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขด้วยการผ่าตัด
การรักษาโรคด้วยวิธีการผ่าตัดมีสิ่งที่สัตว์แพทย์ต้องพิจารณาคือ ลักษณะทางพยาธิวิทยา จุดกำเนิด และขอบเขตของรอยโรค รวมถึงความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัดด้วย กรณีเป็นก้อนเนื้องอกที่ไม่ร้ายแรงสัตว์แพทย์สามาถทำการผ่าตัดผ่านทางงช่องจมูกโดยตรง หรืออาจใช้การผ่าตัดผ่านทางกล้อง (endoscopic guidance) ได้ แต่หากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่จะต้องทำการผ่าตัจากภายนอก (external incision) เพื่อทำการรักษา จากการศึกษาของ Adam et al. พบว่า การรักษาสุนัขที่เป็นมะเร็งโพรงจมูกโดยวิธีการผ่าตัด ไม่มีผลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของระยะเวลาการรอดชีวิต และการรักษาด้วยวิธีนี้อาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆตามมาได้ โดยทั่วไปสัตว์แพทย์จะไม่ใช้วิธีนี้ในการรักษาสุนัขเป็นวิธีหลัก แต่จะใช้ร่วมกับการฉายแสงร่วมด้วย
รักษาโรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขด้วยรังสีรักษา
การรักษาโรคมะเร็งโพรงจมูกในสุนัขเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุดเมื่อเทียบกับการรักษาวิธีอื่นๆ สัตว์แพทย์จะทำการฉายแสงรักษามะเร็งเฉพาะบริเวณที่วางแผนไว้ รังสีจะผ่านผิวหนังไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ระยะเวลาการรอดชีวิตขึ้นกับระยะของมะเร็งก่อนที่จะได้รับการฉายแสง โดยปกติแล้วระยะเวลารอดชีวิตเมื่อรักษาดวยการฉายแสงอยู่ที่ประมาณ 450 วัน แต่การรักษาด้วยการฉายแสงอาจจะมีผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันและผลข้างเคียงแบบเรื้อรังเกิดขึ้นได้
ขอขอบคุณข้อมูล:jojohouse.com