สำหรับสาเหตุการเกิดโรค SLE
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่เชื่อกันว่าเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัสบางอย่าง ยาบางตัว หรือแสงอัลตราไวโอเลต
อาการของโรคเอสแอลอี
มีไข้เรื้อรัง มีผื่นขึ้นที่หน้าพาดผ่านจมูกมาที่แก้มทั้งสองข้าง เรียกกันว่า ผื่นผีเสื้อ (Butterfly Rash) ผื่นเหล่านี้มักเป็นมากขึ้นหากถูกแสงแดด หลังจากนั้นมีอาการผมร่วงบาง ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เส้นเลือดทั่วตัวอักเสบ ปลายมือและปลายเท้ากลายเป็นสีเขียวเมื่อถูกความเย็น เส้นประสาทอักเสบ สมองอักเสบ และชัก จนอาการโคม่า
– ใช้ยาต้านอักเสบ (Non Steroid Anti-inflammatory Drugs)
– ยาที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย เช่น คลอโรควิน (Chioroquine)
– ยาละลายลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin)
– ยากดภูมิต้านทาน เช่น สารสเตียรอยด์ เป็นต้น
โรคเอสแอลอี ร้ายแรงแค่ไหนต่อการตั้งครรภ์
ด้วยความที่ โรค SLE มักเกิดในคนอายุยังน้อย โอกาสตั้งครรภ์จึงมีสูงแม้จะกินยารักษาโรคนี้อยู่ก็ตาม ซึ่งผลที่ตามมาทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรงขึ้น ทั้งจากโรคและตัวยา หากเป็นโรคเอสแอลอี และกำลังรักษาอยู่ ไม่ควรปล่อยให้ตั้งครรภ์ เพราะทั้งแม่และลูกมีโอกาสเสียชีวิตจากครรภ์เสี่ยงสูง