สุขภาพเด็ก

5 อาหารที่เด็กๆ แพ้บ่อย!

Views

ปัญหาการแพ้อาหารในลูกน้อย มักสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อ และคุณแม่ การแพ้อาหารในเด็กคืออะไร จะสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีคำตอบ

การแพ้อาหาร (Food allergy) เป็นปฏิกิริยาที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่ออาหารบางชนิดแบบผิดปกติ อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร หรือระบบหลอดเลือดและหัวใจ เช่น ผื่นแดง คัน ผื่นลมพิษ ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย หอบ คัดจมูก มีน้ำมูกสีใสได้ โดยอาการเหล่านี้สามารถเกิดซ้ำได้ เมื่อรับประทานอาหารที่แพ้ หากมีอาการแพ้รุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

การแพ้อาหารในเด็กจะสามารถเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคลอด หรือหลังคลอด มักพบบ่อยในช่วงปีแรก โดยอาหารที่เด็กมักแพ้ ได้แก่ นม ไข่ แป้งสาลี ถั่วต่างๆ  และอาหารทะเล

การรักษาการแพ้อาหารนั้นมักจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ หากเป็นอาหารสำเร็จรูปให้อ่านฉลากซึ่งระบุ “ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร” เนื่องจากอาการเหล่านี้มักจะไม่หายไป

อาหารที่มักแพ้ ได้แก่ นม ไข่ ข้าวสาลี ถั่ว ถั่วเหลือง

โดยนม อายุที่เริ่มแพ้ ตั้งแต่ 1 ปี อาการมักหายไปเมื่ออายุ 10 ปี

ไข่ เริ่มแพ้ตั้งแต่ 1 ปี อาการแพ้มักหายไปเมื่ออายุ 9 ปี

ข้าวสาลี มักแพ้พบบ่อยในช่วงเด็ก จะหายในช่วง 4-18 ปี

ถั่ว พบแพ้ทั้งในช่วงวัยเด็ก และวัยผู้ใหญ่ โดยอาการแพ้จะหายไปเมื่ออายุมากขึ้น แต่บางรายอาการจะคงอยู่ตลอดชีวิต

ถั่วเหลือง เริ่มแพ้เมื่ออายุ 2 ปี อาการแพ้ที่มักหายไปเมื่ออายุได้ 6 ปี

นอกจากหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่แพ้นั้น แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ และในปัจจุบันการรักษาการแพ้อาหารมียาในการรักษา เรียกว่า “วิธีการ รักษาภาวะแพ้อาหารโดยวิธีรับประทาน” (oral immunotherapy) โดยจะต้องกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ทั้งนี้ การแพ้อาหารบางชนิดในเด็กนั้น อาการจะดีขึ้นตามช่วงวัย แต่ก็จะมีอาหารหลายประเภทที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ตลอดชีวิต

ดังนั้น ผู้ปกครองควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ในเด็ก และไม่ควรไปทดสอบการแพ้อาหารเอง หากสงสัยว่าลูกน้อยมีอาการแพ้อาหาร แนะนำให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

ข้อมูลจาก Oryor.com

ขอบคุณที่มา สยามรัฐ