เบาหวานโรคไต

พฤติกรรมเสี่ยง 3 โรครวด เบาหวาน-ความดัน-ไตวาย

Views

3 โรคฮิตของคนกรุง โดยเฉพาะวัยทำงาน  ที่หลายคนน่าจะรู้จักกันดี คงหนีไม่พ้นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไต ซึ่งทั้ง 3 นี้แม้ว่าจะมีปัจจัยมาจากพันธุกรรมด้วยส่วนหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ร่างกายเป็นโรคเหล่านี้ในสมัยนี้ มักมาจากพฤติกรรมในการกิน และการใช้ชีวิตที่ทำร้ายตัวเองอยู่ตลอดเวลาเป็นประจำ วันละนิดวันละหน่อยอย่างไม่ทันรู้สึกตัว

ซ้ำร้ายไปกว่านั้น แทนที่คนๆ หนึ่งจะเป้นเพียงโรคเดียว เดี๋ยวนี้มีแนวโน้วว่าผู้ป่วย 1 คน จะมีโรคประจำตัวมากกว่า 1 โรค โดยเฉพาะคอมโบเซ็ต 3 โรคที่กล่าวไปข้างต้น ที่มักจะมาพร้อมกัน หรือค่อยๆ เพิ่มเข้ามาทีละโรค หากเราไม่ดูแลตัวเองให้ดีขึ้น ยังใช้ชีวิตอยู่แบบเดิม หรือไม่เข้ารับการรักษากับแพทย์อย่างถูกวิธี

ประชากรชาวไทยร้อยละ 17.6 หรือราว 8 ล้านคน ประสบภาวะโรคไต และร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรตไตเกิดจากโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลทุกโรคที่กล่าวมา ล้วนแล้วแต่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวคุณเองทั้งนั้น ทั้ง 3 โรคนี้อยู่ในกลุ่มของโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ที่เกิดจากความเครียด และพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบผิดๆ

พฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไต

  • ทานอาหารรสจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด
  • ความเครียดสะสม ใช้ชีวิตเร่งรีบ
  • รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ เช่น อาหารฟาสฟู้ด อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ

 eat-healthyiStock

ชีวิตดี เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

ทิ้งความอยาก ความอร่อยที่ตามใจปากออกไป แล้วมาลองทานอาหารตามนี้ดู รับรองว่าคุณจะสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณในเร็ววันแน่นอน

  1. ในหนึ่งมื้อ ให้ครึ่งหนึ่งเป็นผักหรือผลไม้สด อีกครึ่งหนึ่งเป็นโปรตีนไขมันต่ำ ลดแป้ง เช่น ส้มตำ (รสไม่จัด) ทานกับไข่ตุ๋น และต้มจืดมะระ
  2. โปรตีนที่ทาน มาจากกรรมวิธีต้ม นึ่ง ตุ๋น ไม่ใช้วิธีผัด หรือทอด เช่น อกไก่นึ่ง ไข่ตุ๋น ปลานึ่ง
  3. หากอยากทานอาหารประเภทผัดแบบเร็วๆ สามารถใช้น้ำมันมะกอก (ที่ไม่ใช่แบบ Extra Virgin ที่ทนความร้อนไม่ได้) ผัดในกระทะเทฟล่อนที่ไม่ติดกระทะ ใช้น้ำมันน้อยๆ ได้ หรืออาจจะผัดกับน้ำ เพื่อทำให้สุกโดยไม่ต้องใช้น้ำมันได้
  4. อย่าเผลอทานโปรตีนมากเกินไป (มากกว่าผักผลไม้ หรือทานแต่โปรตีนอย่างเดียว) เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ไตเสื่อมลงได้เช่นกัน วันหนึ่งๆ สำหรับวัยนหุ่ม ใช้พลังงานเยอะ ควรทานโปรตีนไม่เกิน 500 กรัม หรือครึ่งกิโลกรัม รวมหมดทั้งเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว เห็ด และอื่นๆ ที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ หากวันๆ ใช้พลังงานน้อย หรือเป็นผู้สูงอายุ สัดส่วนในการทานโปรตีนก็ต้องน้อยลงไปอีก เพราะฉะนั้นให้ไปเน้นที่ผักผลไม้แทน
  5. ลดแป้ง และน้ำตาล ที่มาจากอาหารคาว อาหารหวาน
  6. เลือกทานผักผลไม้อย่างหลากหลาย เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่ควรทานผักผลไม้แบบเดิมซ้ำๆ เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
  7. ยังมีความจำเป็นที่จะต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อยู่ แต่ลด หรือจำกัดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน (ไม่ดี) เท่านั้น (ในกรณีที่ยังไม่เป็นโรคอะไร)

ขอขอบคุณ https://www.sanook.com

ข้อมูล :นพ. บุญชัย อิศราพิสิษฐ์

ภาพ :iStock