มีหลักฐานจำกัด (limited evidence) ในมนุษย์ว่าการทำงานกะดึกทำให้เกิดมะเร็ง โดยมีความเกี่ยวเนื่องระหว่างการอยู่เวรกะดึก และมะเร็งของเต้านม ต่อมลูกหมาก ลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง มีหลักฐานเพียงพอในสัตว์ทดลองสำหรับการเกิดมะเร็งทเมื่อมีการเปลี่ยนสลับกันระหว่างแสงสว่างและความมืด และมีหลักฐานกลไกที่สำคัญในการทดลองโดยมีความเกี่ยวข้องกับการกดภูมิคุ้มกัน การอักเสบเรื้อรัง และการแบ่งตัวของเซลล์
*หลักฐานจำกัด หมายความว่ามีความเกี่ยวเนื่องเชิงบวกระหว่างการสัมผัสและโรคมะเร็ง แต่ก็สามารถอธิบายไปในแนวทางอื่นใด้เช่นกัน ได้แก่ โอกาส อคติ และการปนเปื้อน (chance, bias and confounding)
อาชีพที่มีเวรกะดึกได้แก่ คนงานโรงงานอุตสาหกรรม การแพทย์ บริการ พนักงานรักษาความปลอดภัย และการขนส่ง รวมไปถึงการทำงานในอากาศยานที่มีการข้ามเส้นเมอริเดียน
การทำงานกะดึกมีผลต่อนาฬิกาชีวิต (circadian system) อย่างไร ?
เนื่องจากการทำงานกะ จะสัมผัสกับกลางวัน กลางคืน เป็นเวลา และรบกวนจังหวะเวลาชีวิต ผลที่สำคัญที่สุดคือการทำลายนาฬิกาชีวิตของหน้าที่ปกติของร่างกาย ซึ่งไม่เป็นที่ทราบว่าจะต้องขนาดไหนจึงจะทำให้เกิดมะเร็ง
คณะทำงานได้ระบุว่าการทำงานกะดึกมีหลักฐานจำกัดว่าทำให้เกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ ในมนุษย์ แต่ไม่ได้ประมาณระดับความเสี่ยงในการสัมผัสว่าต้องขนาดเท่าใดจึงจะทำให้เป็นมะเร็ง
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยมะเร็งนานาชาติ ไม่ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า คนทำงานที่สัมผัสกับการทำงานกะดึกจะลดการทำงานเป็นเท่าไรจึงจะลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง ถ้าต้องทำงานกะดึก ควรปรึกษาแพทย์
แม้ว่าตอนนี้การทำงานกะดึก มีหลักฐานจำกัด และจัดให้เป็น class 2 A คืออาจก่อมะเร็งได้ แต่ถ้าในอนาคตมีการศึกษาที่สามารถลบข้อจำกัดลงได้ ก็อาจจะกลายเป็น class 1 คือเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้
ถ้าจำเป็นต้องทำงานกะดึก ควรทำอย่างไร ?
ในหลาย ๆ อาชีพต้องมีการทำงานเป็นกะ และอาจต้องทำกะตอนกลางคืน สิ่งที่ทำได้คือต้องหลีกเลี่ยงการทำงานกะดึกเป็นระยะเวลานานหลายปี และต้องควรลด หรือเลิกการทำงานกะดึกติดต่อกันหลายวันในหนึ่งสัปดาห์ ลดการรบกวนนาฬิกาชีวิต เช่น การกินอาหารเย็นดึกเกินไป เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง และมะเร็งต่อมลูกหมาก และในการทำงานกะดึกนอกจากเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของการผลิตเมลาโตนินแล้วยัง รบกวนฮอร์โมนอื่นๆ เช่น เทสทอสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย) ด้วย