ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์บน The scientific journal Nature ระบุรายละเอียดว่า เมื่อใช้ A.I. ตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม พบว่าผลของการตรวจเป็นเท็จน้อยลง A.I. เทคโนโลยีตรวจผ่าน แมมโมแกรม กับผู้หญิงมากกว่า 15,000 คนในสหรัฐฯ และมากกว่า 76,000 คนในสหราชอาณาจักร
โดยตัวโปรแกรมนี้สามารถลด ผลบวกที่ผิดพลาด ได้ 5.7% ในกลุ่มผู้เข้าตรวจจากสหรัฐฯ และ 1.2% ในกลุ่มที่มาจากสหราชอาณาจักร อีกทั้งยังลด ผลลบที่คลาดเคลื่อน ได้ถึง 9.4% ในกลุ่มผู้เข้าตรวจจากสหรัฐฯ และ 2.7% ในกลุ่มจากสหราชอาณาจักร
ระบบนี้สามารถพิสูจน์แล้วว่า A.I. มีความแม่นยำกว่ามนุษย์ที่มีทักษะเชี่ยวชาญในด้านนี้และรู้ประวัติผู้ป่วย แม้ว่าแพทย์จะอ่านผลตรวจแมมโมแกรมซ้ำถึงสองครั้งก็ตาม โดยการศึกษาในครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง Google Health, มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น, ศูนย์วิจัยมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักร และ โรงพยาบาล Royal Surrey County
มีการคาดการณ์เพิ่มเติมว่า แอปพลิเคชั่นในอนาคตบ่งชี้ว่าโมเดลดังกล่าวจะสามารถเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพการคัดกรอง รวมถึงลดเวลาของกระบวนการวินิจฉัยและความเครียดของผู้เข้าตรวจอีกด้วย การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ตรวจคัดกรองได้ดีกว่ายังเป็นเรื่องที่ใหม่อยู่ โดยโมเดลดังกล่าวระบุว่า 1 ใน 8 ของผู้หญิงอเมริกัน มีสัญญาณการเติบโตของมะเร็งเต้านมอยู่
นอกเหนือจากด้านการวินิจฉัยสุขภาพแล้ว โมเดล A.I. ของ Google ยังถูกนำไประบุชนิดของสัตว์ต่าง ๆ ในโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่าเพื่อการปกป้องและตรวจสอบทั่วโลก เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการระบุชนิดของสัตว์ต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น โดยมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญสามารุตรวจสอบได้ 300 ถึง 1,000 ภาพต่อชั่วโมง แต่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของ Google สามารถตรวจสอบและวิเคระห์ได้ถึง 3.6 ล้านภาพต่อชั่วโมง อีกทั้งยังสามารถจำแนกชนิดของสัตว์ได้อัตโนมัติด้วย