ถั่งเช่า (Cordyceps) หรือหญ้าหนอน จัดเป็นสมุนไพรจีนที่มีคุณสมบัติหลายด้านมากในการดูแลสุขภาพและมีสรรพคุณทางยาแผนโบราณที่ใช้กัน อย่างแพร่หลายในตำราแพทย์ของจีนมาช้านาน โดย ถั่งเช่า หรือ Cordyceps นี้มีความหลากหลายทางสายพันธุ์มาก ปัจจุบันมีรายงานว่าสามารถแยกออกได้ถึง 680 ชนิด ซึ่งความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์จะแยกจากตัวหนอนที่สปอร์ของเห็ดไปเจริญเติบโตอยู่ สำหรับสายพันธุ์ที่มีความโดดเด่นและมีการศึกษามากที่สุดก็คือ Cordyceps sinensis(Berk.) Sacc ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของหญ้าหนอนที่พบบนเทือกเขาหิมาลัย จากประเทศธิเบตนั่นเอง
ต้นกำเนิดของถั่งเช่าหรือหญ้าหนอนจากเทือกเขาหิมาลัยนั้นเรียกได้ว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยหญ้าหนอนจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นตัวหนอน คือ ตัวหนอนของผีเสื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hepialus armoricanus และส่วนของเห็ดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cordyceps sinensisในประเทศจีนจะมีคำอธิบายสมุนไพรชนิดนี้ว่า ฤดูหนาวเป็นหนอน ฤดูร้อนเป็นหญ้า โดยหนอนชนิดนี้ในฤดูหนาวจะฝังตัวอยู่ใต้หิมะ เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลและน้ำแข็งเริ่มละลาย สปอร์ของเห็ดจะถูกพัดไปกับน้ำแล้วไปตกอยู่ตามพื้นดิน ตัวหนอนเหล่านี้ก็จะกินสปอร์เข้าไปเมื่อถึงฤดูร้อนสปอร์ก็เริ่มเจริญเติบโตโดยอาศัยการดูดสารอาหารและแร่ธาตุจากตัวหนอนนั้นและเส้นใยของเห็ดก็จะเริ่มงอกออกจากตัวหนอน เนื่องจากเห็ดเหล่านี้ต้องการแสงอาทิตย์มันจึงงอกพุ่งขึ้นสู่พื้นดินโดยงอกออกจากปากของตัวหนอน ส่วนตัวหนอนเองก็จะค่อย ๆ ตายไป อยู่ในลักษณะของหนอนตายซาก ดังนั้น ถั่งเช่าที่นำมาใช้ทำเป็นยาก็คือ ส่วนผสมของตัวหนอนและเห็ดที่แห้งแล้วนั่นเอง
สรรพคุณของถั่งเช่านั้นได้ถูกกล่าวขานกันมายาวนานและในประเทศจีนเองก็ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นยาตั้งแต่ปี 1964 โดยมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน บำรุง ปอด ไต ตับ ป้องกันมะเร็ง ลดไขมัน ส่งเสริมสุขภาพ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ จนเป็นที่มาของอีกชื่อที่เรียกว่า ไวอากร้าแห่งเทือกเขาหิมาลัย ตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นชัดถึงประสิทธิภาพของถั่งเช่าในการเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายก็คือ ในการแข่งขันกีฬาระดับชาติของประเทศจีนในปี 1993 นักวิ่งหญิง 3 คน ที่เข้าแข่งขันได้ทำลายสถิติโลกในการวิ่ง 1,500, 3,000 และ 10,000 เมตร ผู้คนต่างสงสัยกับปรากฏการณ์อันน่าทึ่งนี้และสงสัยว่านักกีฬาเหล่านี้อาจจะมีการใช้ฮอร์โมนหรือสารกระตุ้น แต่หลังจากผ่านกระบวนการตรวจสอบและไม่พบสารกระตุ้นใดๆ โค้ชของทีมคือนาย Ma Zunren ก็ได้ออกมาเปิดเผยในภายหลังว่า สิ่งที่ทำให้นักกีฬาเหล่านี้แข็งแรงและสามารถทำลายสถิติโลกลงได้อย่างง่ายดายนั้น นอกจากการฝึกซ้อมอย่างเอาจริงเอาจังแล้ว เคล็ดลับของเขาก็คือการให้นักกีฬาดื่มเครื่องชูกำลังที่ทำมาจากถั่งเช่านั่นเอง หลังจากนั้น ทางคณะกรรมการ โอลิมปิกของสหรัฐอเมริกาจึงอนุญาตให้มีการใช้ถั่งเช่าอย่างถูกกฎหมาย เนื่องจากมีสรรพคุณที่ปลอดภัยและโดดเด่นทางการแพทย์
ถั่งเช่าที่มีคุณภาพพบได้ในแถบทุ่งหญ้าบนภูเขาประเทศจีน (ธิเบต) และภูฏาน เนปาล ที่ระดับความสูง 10,000-12,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเล การเก็บถั่งเช่าจะเก็บในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิซึ่งเป็นช่วงที่เห็ดซึ่งมีลักษณะเป็นหญ้างอกโผล่พ้นพื้นดิน เมื่อขุดหญ้าและตัวหนอนขึ้นจากดินแล้ว ก็จะนำไปล้างน้ำให้สะอาดแล้วตากแห้ง หลังจากนั้นก็จะมีการนำมาคัดเกรดแยกตามขนาดของตัวหนอน โดยระดับที่ดีที่สุด ความยาวของตัวเห็ดจะเท่ากับความยาวของตัวหนอน (ประมาณ 3-4 เซนติเมตร) สำหรับการนำมารับประทานนั้นมีทั้งรับประทานสด ๆ นำมาต้ม หรือบดเป็นผงแล้วบรรจุในแคปซูล ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงเนื่องจากมีความต้องการมาก โดยส่วนใหญ่จะทำการเพาะในบริเวณภาคใต้ในมณฑลชิงไห่ เขตซางโตวในธิเบต มณฑลเสฉวน ยูนนาน และกุ้ยโจว แต่ประสิทธิภาพที่ได้ในด้านต่าง ๆ ก็ยังไม่เท่ากับถั่งเช่าที่เติบโตจากธรรมชาติโดยตรง
มีการศึกษาหลายชิ้นทั้งที่ทำใน สัตว์ทดลอง และในคน เกี่ยวกับผลทางชีวภาพและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของถั่งเช่ามากมาย ซึ่งโดยสรุปพบว่าถั่งเช่ามีคุณสมบัติเด่นในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน 20 คนที่รับประทานถั่งเช่าปริมาณ 3 กรัม/วัน พบว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ถึง วัน 95% ในขณะที่กลุ่มที่รักษาด้วยยาแผนปัจจุบันสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้เพียง 54%
- กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีงานวิจัยที่แสดงว่าสารสกัดจากถั่งเช่าสามารถกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์เพชฌฆาต (NK cell) ซึ่งเป็นเซลล์หลักในการปกป้องร่างกายจากมะเร็ง ได้อีกด้วย
- ฟื้นฟูระบบการทำงานของไต โดยให้ผู้ป่วยภาวะไตวายเรื้อรัง 51 คน รับประทานถั่งเช่าปริมาณ 3-5 กรัม/และพบว่าหลังจากให้ผู้ป่วย พบว่าถั่งเช่าทำให้การทำงานของไตมีประสิทธิภาพดีขึ้น วันรับประทานถั่งเช่าต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 1 เดือน สามารถช่วยลดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดจากภาวะไตวาย ได้แก่ ลดความดันโลหิต ลดระดับโปรตีนในปัสสาวะ ลดการเกิดภาวะโลหิตจาง และช่วยเพิ่มเอนไซม์ superoxide dismutase (SOD) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
- การกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ มีกรณีศึกษาในผู้ชาย 22 คน ใช้ถั่งเช่าเป็นอาหารเสริม พบว่าช่วยเพิ่มจำนวนของสเปิร์มในอสุจิได้ 33% และมีผลลดปริมาณของสเปิร์มที่ผิดปกติลง 29% และมีงานวิจัยผู้ป่วยทั้งชายและหญิง 189 คน ที่มีความต้องการทางเพศลดลง พบว่าเมื่อได้รับถั่งเช่าเสริมสามารถช่วยทำให้อาการและความต้องการทางเพศสูงขึ้น 66%
- ต้านอาการอ่อนเพลียและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย จากศักยภาพอันน่าทึ่งของนักกีฬาหญิงจีนในการแข่งขันกีฬานานาชาติที่กรุงปักกิ่งในเดือนกันยายนปี 1993 ที่สามารถทำลายสถิติโลกทั้ง 3 รายการ ได้จากการเสริมสุขภาพด้วยการดื่มเครื่องชูกำลังที่ทำมาจากถั่งเช่าก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดถึงประสิทธิภาพในด้านเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกาย และยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นในสัตว์ทดลองที่พิสูจน์ว่าถั่งเช่าสามารถลดอาการอ่อนเพลียและสามารถประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายให้ทำงานได้นานขึ้นได้โดยเฉพาะในกลุ่มทดลองที่อายุมาก
แม้ว่า Cordyceps เป็นอาหารเสริมที่มีงานวิจัยสนับสนุนถึงคุณสมบัติที่ดีอย่างมากมาย แต่ในแง่ของผลข้างเคียงและความเป็นพิษนั้นยังถือว่ามีข้อมูลค่อนข้างน้อย ในบางรายนั้นอาจพบอาการปากแห้ง คลื่นไส้ ท้องเสีย อาจมีข้อควรระวังในการใช้อยู่บ้างในผู้ใช้บางกลุ่ม เช่นในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและอาจไปเสริมฤทธิ์กับยาลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น แต่ความกังวลที่แท้จริงจากการใช้ Cordyceps sinensis ในปัจจุบันนั้น ไม่ได้เป็นผลมาจากการออกฤทธิ์ของตัวสมุนไพรเอง แต่หากเป็นการปนเปื้อนของสารพิษจำพวกตะกั่วมากกว่า เนื่องจากพ่อค้าหลายรายผสมตะกั่วเส้นไปกับตัวถั่วเช่าเพื่อเพิ่มน้ำหนัก โดยมีรายงานว่าพบระดับสารตะกั่วในเลือดถึง 130 microgram/dl ในผู้ที่ใช้ Cordyceps sinensis
สรุปข้อควรระวังในการใช้ถั่งเช่า คือ
- เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ การใช้ถั่งเช่าในผู้ป่วยเบาหวานอาจจะไปเสริมฤทธิ์กับยาลดน้ำตาลในเลือด
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive) ทั้งนี้เพราะว่าถั่งเช่ามีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
ถั่งเช่า จัดเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติทางยามากมายและถูกใช้มานานกว่าศตวรรษ หากแต่ยังต้องมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะการศึกษาทำในมนุษย์เพิ่มขึ้นและเนื่องจากถั่งเช่าเป็นสมุนไพรที่มีราคาแพง ระหว่างปี 1998-2009ราคาของถั่งเช่า เพิ่มขึ้นสูงถึง 900% และปัจจุบัน ราคาเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย ถึง 20% ต่อปี และหายาก ถั่งเช่าที่คุณภาพดีที่สุดจะเจริญเติบโตและพบมากในบริเวณแถบทุ่งหญ้าบนภูเขาหิมาลัยในประเทศภูฏาน เนื่องจากสภาวะแดดและดินเหมาะสมมาก
การใช้ถั่งเช่าจะต้องพิจารณาให้รอบคอบเพื่อให้ได้ประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าบนตัวหนอนชนิดอื่นที่จัดว่าเป็นคนละสายพันธุ์ เช่น Cordyceps Militalis และมีการกล่าวอ้างว่ามีคุณภาพดีกว่าถั่งเช่า ซึ่งจะต้องมีการศึกษาพิสูจน์ต่อไป สำหรับการใช้ในหญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และในเด็ก ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาวิจัยและข้อมูลที่เพียงพอ ฉะนั้นจึงควรระมัดระวังในการใช้และควรมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการใช้ถั่งเช่าในการรักษาโรคเพื่อความปลอดภัยและให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค
ข้อมูลโดย ศูนย์การแพทย์เวชศาสตร์สร้างเสริมสุขภาพและวิจัยโรคอ้วน RoyalLife และ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ
แหล่งข้อมูล
- Holliday, J., Cleaver, M., &Wasser, S. P. (2005). Cordyceps part 1. In encyclopedia of dietary supplements (pp.1-13) USA: Dekker Encyclopedias, Taylor and Francis Publishing
- Kiho, T., Ookubo, K., Usui, S., Ukai, S., & Hirano, K. (1999). Structural features and hypoglycemic activity of a polysaccharide (CS-F10) from the cultured mycelium of Cordycepssinensis. Biological and Pharmaceutical Bulletin, 22, 966-970
- Kiho, T., Yamane, A., Hui, J., Usui, S., &Ukai, S. (1996). Polysaccharides in fungi. XXXVI. Hypoglycemic activity of a polysaccharide (CS-F30) from cultural mycelium of Cordycepssinensis and its effect on glucose metabolism in mouse liver. Biological and Pharmaceutical Bulletin, 19, 294-296
- Chen, Y, J., Shiao, M. S., Lee, S. S., & Wang, S. Y. (1997) Effect of Cordycepssinensis on the proliferation and differentiation of human leukemic U937 cells. Life Science, 60, 2349-2359
- Zhang, W., Li, J., Qui, S., Chen, J., &Zheng Y. (2008). Effects of the exopolysaccharide fraction (EPSF) from a cultivated Cordycepssinensis on immunocytes of H22 tumor bearing mice
- Zhang, W., Yang, J., Chen, J., Hou, Y., & Han, X. (2005).Immunomodulatory and antitumor effects of an exopolysaccharide fraction from cultivated Cordycepssinensis (Chinese caterpillar fungus) on tumor-bearing mice. Biotecnology and Applied Biochemistry, 42, 9-15
- Yu, L., Zhao, J., Zhu, Q., & Li, S. (2007) Macrophage biospecific extraction and high performance liquid chromatography for hypothesis of immunological active components in Cordycepssinensis. Journal of Pharmaceutical and Biomedical Analysis, 44, 439-443
- Kim, S. D. (2010). Isolation, structure and cholesterol esterase inhibitory activity of a polysaccharide, PS-A from Cordycepssinensis. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 53, 784-789
- Yoshikawa, N., Nishiuchi, A., Kubo, E., Yamaguchi, Kunitomo, M., Kagota, S., Shinozuka, K., & Nakamura, K. (2011).Cordycepssinensis acts as an adenosine A3 receptor agonist on mouse melanoma and lung carcinoma cells, and human fibrosarcoma and colon carcino,a cells. Pharmacology & Pharmacy, 2, 266-270
- Zhou, X., Luo, L., Dressel, W., Shadier, G., Krumbiegel, D., Schmidtke, P., Zepp, F., & Meyer, C. U. (2008).Cordycepsin is an immunoregulatory active ingredient of Cordycepssinensis. The American Journal of Chinese Medicines, 36, 967-980.
- Matsuda, H., Akaki, J., Nakamura, S., Okazaki, Y., Kojima, H., Tamesada, M., & Yoshikawa, M. (2009). Apoptosis-inducing effects of sterols from the dried powder of cultured mycelium of Cordycepssinensis. Chemical and Pharmaceutical Bulletin (Tokyo), 57, 411-414
- Wu, J., Zhang, Q., & Leung, P. (2007). Inhibitory effects of ethylacetate extract of Cordycepssinensis mycelium on various cancer cells in culture and B16 melanoma in C57BL/6 mice. Phytomedicines, 14, 43-49
- Chiou, W., F., Chang, P. C., Chou, C. J., & Chen, C. F. (2000). Protein constituent contributes to the hypotensive and vasorelaxant activities of Cordyceps sinensis. Life Science, 66, 1369-1376
- 14Zheng, H., Maoqing, Y., XIA Liqiu, X., Wenjuan, T., Liang, L., & Guolin, Z. (2006). Purification and characterization of an antibacterial protein from the cultured mycelia of Cordyceps sinensis. Wuhan University Journal of Natural Science, 11, 709-714
- Qian, G., Pan, G. -F., & Guo, J.-Y.(2012). Anti-inflammatory and antinociceptive effects of cordymin, a peptide purified from the medicinal mushroom Cordyceps sinensis. Natural Product Research, 1-5
- Jing, M., Xiao, C., Chun, F. W., Li. W., & Gao, H. (2005) Cordycedipeptide A, a new cyclodipeptide from the culture liquis of Cordyceps sinensis (BERK.) SACC.. Chemical and Pharmaceutical Bulletin, 53, 582-583
- 17Guo QC, Zhang C. (1995) Clinical Observations of Adjunctive Treatment of 20 Diabetic Patients with JunSHuiBao Capsule. J Administration Traditional Chinese Medicine 1995:5 (suppl):22
- Kuo, Y. C., Tsai, W. J., Wang, J. Y., Chang, S. C., Lin, C. Y., & Shiao, M. S. (2001). Regulation of bronchoalveolar lavage fluid cell function bt theimmunomodulatory agents from Cordyceps sinensis. Life science, 68, 1067-1082.
- Liu, C., Lu, S., & Ji, M. R. (1992) Effects of Cordyceps sinensis (CS) on in vitro natural killer cells. Chinese Journal of Integrated Traditional and Western Medicine, 12, 267-269.
- Guan, Y. J., Hu, Z., & Hou, M. (1992). Effect of Cordyceps sinensis on T-lymphocyte subsets in chronic renal failure. Chinese Journal of Integrated Traditional and Western Medicines, 12(338-339), 323.
- Zhu, J.S., & Rippe, J. (2004) In Proceedings of the American physiological societys (APS) annual scientific conference, experimental biology. Washington, DC
- Ding, C., Tian, P., Jia, L., Li, Y., Ding, X., Xiang, H., Xue, W., & Zhao, Y. (2009). The synergistic effects of Cordyceps sinensis with Cs A in preventing allograft rejection. Frontiers in Bioscience, 14, 3864-3871.
- Ding, C., Tian, P., X., Xue, W., Ding, X., Yan, H., Pan, X., Feng, X., Xiang, H., Hou, J., & Tian, X. (2011). Efficacy of Cordyceps sinensis in long term treatmentof renal transplant patients. Frontiers in Bioscience (Elite Edition), 1, 301-307
- Guo, Y.(1986). Medicinal chemistry pharmacology and clinical applications of fermented mycelia of Cordyceps sinensis and JinShuBao capsule. Journal of Modern Diagnostics Therapeutics, 1, 60-65.
- Wan, F., Guo, Y., & Deng, X. (1988). Research on animal studies shows Cordyceps increase natural sex hormones. Chinese Traditional Patented Medicine, 9, 29-31.
- Huang, Y., Lu, J., Zhu, B., Wen, Q., Jia, F., Zeng, S., Chen, T., Li, Y., Xheng, G., & Yi, Z. (1987). Prevention and improvement of adrenal glands and thymus hormones, and infertile sperm count improve by 300% after Cordyceps supplement. Chinese Medicinal Preparation Research, 10, 24-25.
- Dong, C. H., & Yao, Y.-J. (2007) In vitro evaluation of antioxidant activities of aqueous extracts from natural and cultured mycelia of Cordyceps sinensis. LWT Food Science and Technology, 41, 669-677.
- Steinkraus D. C. W. (1994) Chinese caterpillar fungus and world record runners. United State of America.
- Dai, G. B. (2001) CordyMax Cs-4 improves steady-state bioenergy status in mouse liver. Journal of Alternative and Complementary Medicine, 7, 231-240.
- Winkler, Daniel (2008). “Yarsa Gunbu (Cordyceps sinensis) and the Fungal Commodification of the Rural Economy in Nepal”. Economic Botany 62 (3): 291305.
- Holliday, J. C., & Cleaver, M. (2008). Medicinal value of the caterpillar fungi species of the genus Cordyceps (Fr.) Link (Ascomycetes). A review. International Journal of Medicinal Mushrooms, 10, 219234.