การออกกำลังกายแน่นอนว่าเป็นการกระทำที่ทำให้เกิดสุขภาพที่ดี แต่ก็ต้องมีเรื่องที่ต้องคำนึงก่อนที่จะออกกำลังกายเช่นกัน เพราะถ้าเราไม่ระวังอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้
1. ควรออกกำลังกายให้พอเหมาะกับอายุ เพศ และสภาพร่างกาย เช่น คนสูงอายุ การเดินเร็ว ๆ ดีที่สุด คนวัยทำงานการวิ่งเหยาะสามารถทำได้ง่ายและประหยัด สำหรับเด็ก การวิ่งเล่นเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด เป็นต้น ยกเว้นกรณี การเจ็บป่วย พิการ การออกกำลังกายก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ควรเป็นรูปแบบเฉพาะแล้วแต่กรณี
2. ควรออกกำลังกายให้ถูกเวลา เช่น เช้า เย็น หรือ ไม่ควรออกกำลังกายในเวลาที่มีอาการร้อนจัด จะทำให้ไม่สบายได้ และควรออกกำลังกายก่อนอาหาร หรือหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
3. ไม่ควรออกกำลังกายเวลาที่ไม่สบาย เป็นไข้ เพราะอาจจะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรือ เวลาที่ท้องเสีย เพราะร่างกายจะขาดน้ำหรือเกลือแร่ ทำให้อ่อนเพลีย เป็นลมเป็นตะคริว หรือโรคหัวใจ
4.ก่อนและหลังการออกกำลังกายทุกครั้งควรอบอุ่นร่างกาย และผ่อนคลายร่างกาย เพราะจะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ และช่วยทำให้อาการเมื่อยล้าหายได้เร็วขึ้น
5. การเลือกใช้อุปกรณ์ในการออกกำลังกายให้เหมาะสม เช่น ไม่สวมรองเท้าหนัง หรือรองเท้าแตะ หรือไม่สวมรองเท้าในขณะออกกำลังกาย เพราะว่ารองเท้าจะช่วยลดแรงกระแทกขณะออกกำลังกายได้อีกด้วย เสื้อผ้าที่สวมใส่ขณะออกกำลังกาย ควรเป็นเสื้อผ้าที่ยืดหยุ่นได้ ระบายความร้อนได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย
6. ในขณะออกกำลังกายควรงดสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา เพราะแอลกอฮอล์เป็นยาขับปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากยิ่งขึ้น
7. ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะทำให้ร่างกายได้รับอันตรายได้ง่าย
8. เมื่อมีอาการเตือนที่แสดงว่าเริ่มมีอันตราย ควรหยุดออกกำลังกายทันที โดยไม่ฝืน เช่น อาการเวียนศีรษะ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจขัด
9. ผู้มีอายุวัยกลางคนขึ้นไป (40 ปี) ควรต้องได้รับการตรวจสุขภาพ รวมทั้งการทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อน
10. สำหรับผู้สูงอายุ (อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) ควรระมัดระวังมากกว่าคนอายุน้อย โดยเริ่มออกกำลังกายที่เบาก่อน ส่วนการเพิ่มความหนักนั้นต้องเพิ่มกว่าคนอายุน้อย
ถ้าเราออกกำลังกายตอนที่เราพร้อม ร่างกายพร้อม ก็จะเกิดโยชน์สูงสุด เมื่อรู้แล้วว่าควรระวังตัวเองอย่างไรถึงจะออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นนั้นแล้วก็สบายใจได้ ไปออกกำลังกายกันดีก
ขอขอบคุณข้อมูล:thaihealth.or.th