มะเร็งต่อมน้ำลาย

มะเร็งต่อมน้ำลาย โรคร้ายที่เกิดได้ง่ายในปัจจุบัน

Views

โรคมะเร็ง นับว่าเป็นโรคที่มีผู้คนเป็นมากที่สุดในโลก และหลายคนคงรู้จักมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไปบ้างแล้ว เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ  แต่คุณรู้หรือไม่ ว่ามีโรคมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่อันตรายไม่แพ้ มะเร็งที่ได้กล่าวมาข้างต้น นั่นก็คือ มะเร็งต่อมน้ำลาย ซึ่ง มะเร็งต่อมน้ำลาย นี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา โดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัวเลยก็ได้ วันนี้เราจะพาไปรู้จัก และแนะนำภัยอันตรายของ มะเร็งต่อมน้ำลาย กันคะ

          มะเร็งต่อมน้ำลาย ถึงแม้จะเป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ค่อนข้างน้อยมาก แต่ก็เป็นมะเร็งอีกชนิดที่อันตรายมากเช่นกัน มะเร็งต่อมน้ำลาย เกิดขึ้นที่ต่อมน้ำลาย ซึ่งต่อมน้ำลายจะอยู่ในบริเวณปากและลำคอ มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร และยังป้องกันการเสื่อมสภาพของฟันได้อีกด้วย ดังนั้น ต่อมน้ำลายจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกายเรา ซึ่งหากใครเป็น มะเร็งต่อมน้ำลาย แล้วก็จะทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร และส่งผลกระทบอีกหลาย ๆ อย่างตามมา … รู้อย่างนี้แล้วเราควรสังเกตตัวเองว่ามีอาการ หรือปัจจัยเสี่ยงทำให้เป็นโรค มะเร็งต่อมน้ำลายหรือไม่ กันดีกว่า

อาการของ มะเร็งต่อมน้ำลาย

           มะเร็งต่อมน้ำลาย เป็นโรคที่ยากในการสังเกตด้วยตาเปล่า และยากมากที่ผู้ป่วยจะรู้ว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ เนื่องจาก มะเร็งต่อมน้ำลาย จะไม่ค่อยแสดงออกมาให้เห็นภายนอกเท่าไหร่นัก ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรค มะเร็งต่อมน้ำลาย ส่วนใหญ่ จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส เป็นต้น ส่วนอาการอื่น ๆ ที่จะปรากฏภายนอก คือ

            1. มีก้อนเนื้อหรืออาการบวมบริเวณ ขากรรไกร ในคอ หรือในปาก

            2. มีอาการชาบริเวณใบหน้า

            3. ไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อ บริเวณหน้าข้างใดข้างหนึ่ง

           4. มีอาการปวดบริเวณต่อมน้ำลาย

            5. กลืนอาหารลำบาก

            6. ไม่สามารถอ้าปากกว้างได้

            7. หน้าข้างซ้าย และข้างขวามีขนาดไม่เท่ากัน

           ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปปรึกษาและพบแพทย์จะเป็นการดีที่สุด

สาเหตุของ มะเร็งต่อมน้ำลาย

           สำหรับใครที่ชอบคุยโทรศัพท์เป็นเวลานาน ๆ ต้องฟังทางนี้ไว้นะคะ โดยข้อมูลจากการวิจัยของประเทศอิสราเอล ได้ศึกษาค้นพบว่า คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือนาบไว้กับหูข้างใดข้างหนึ่ง เป็นเวลารวมกันหลายชั่วโมงต่อวันนั้น จะมี ความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำลายสูงกว่าปกติถึง 50 % เลยทีเดียว

บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงการเป็น มะเร็งต่อมน้ำลาย

            1. คนที่ DNA ถูกทำลาย

            2. คนที่ชอบสูบบุหรี่

            3. คนที่อยู่ใกล้สถานที่ ที่มีการฉายคลื่นรังสี

            4. คนที่รับประทานเนื้อมากเกินไป

            5. คนที่มีครอบครัว มีประวัติการเป็นมะเร็ง

            6. คนที่อายุมาก โดยเฉพาะ 60 ปีขึ้นไป

การป้องกัน มะเร็งต่อมน้ำลาย
       
           เมื่อเรารู้สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค มะเร็งต่อมน้ำลาย แล้ว ก็หันมาสำรวจตัวเองว่า เราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงนั้นหรือเปล่า หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ลดพฤติกรรม ดังกล่าวลง เช่น

            ใช้โทรศัพท์ให้น้อยลง อาจจะใช้คุยเฉพาะเรื่องงาน หรือคุยเฉพาะเรื่องที่จำเป็นเท่านั้น

            เลิกสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงหรืออยู่ใกล้สถานที่ ที่มีคนสูบบุหรี่

            หลีกเลี่ยงสถานที่เสียงที่มีการฉายรังสี เช่น โรงพยาบาล

การรักษา มะเร็งต่อมน้ำลาย

           ในการรักษามะเร็งต่อมน้ำลายส่วนใหญ่ มีการรักษาทั้งแบบฉายรังสี และไม่ฉายรังสี ในแต่ละการรักษาจะควบคุมโดยแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งประกอบด้วย แพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก , แพทย์เฉพาะทางมะเร็ง และแพทย์เฉพาะทางที่สามารถรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสี

            1. การผ่าตัด ถ้ามะเร็งยังไม่ลามออกไปนอกต่อมน้ำลาย และเนื้องอกยังมีขนาดเล็กหรืออยู่ในระยะแรก การผ่าตัดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการเอาเนื้อร้ายออก

            2. การกายภาพบำบัด หลังการผ่าตัดอาจจำเป็นที่จะต้องมีการทำกายภาพบำบัด เช่น การฝึกพูด การเคี้ยว และการกลืน นักโภชนาการสามารถช่วยให้คุณเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม เมื่อคุณไม่สามารถทานอาหารตามปกติได้

            3. การปลูกเนื้อเยื่อ ถ้าหากมีการเสียหายหรือสูญเสียเนื้อเยื่อจำนวนมากระหว่างการผ่าตัด จะมีการรักษาโดยการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้น โดยการรักษาเช่นนี้ก็เพื่อทำให้ การเคี้ยว การกลืน การพูด หรือหายใจ ของผู้ป่วยดีขึ้น

            4. การฉายรังสี ถ้าก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่หรืออยู่ในระยะที่ร้ายแรง หรือมะเร็งมีการลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ นอกต่อมน้ำลาย อาจมีการฉายรังสีหลังผ่าตัด และถ้าก้อนเนื้อไม่สามารถผ่าตัดออกไปได้ การฉายรังสีเพียงอย่างเดียว ก็อาจจะสามารถรักษามะเร็งต่อมน้ำลายได้

ขอขอบคุณข้อมูล:spk.onab.go.th