ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เมื่อมีอาการป่วยก็จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ แต่เรื่องอาหารการกินก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้เช่นกัน
นอกจากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงและฟื้นตัวได้เร็วขึ้นแล้ว รู้หรือไม่ว่ามีอาหารบางชนิดที่ไม่ควรกินขณะมีอาการป่วยด้วย เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมได้!
เมื่อเป็นหวัดหรือมีไข้ สิ่งที่ไม่ควรทาน ได้แก่
- ผักโขม
ในผักโขมมีสารที่ชื่อว่า ฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่เป็นตัวหลั่งสารภูมิแพ้ออกมาทางร่างกาย “มันจไปกระตุ้มเซลล์ ที่เรียกว่าแมสต์เซลล์ และปล่อยสารฮีสตามีนออกมาและทำให้เกิดการอักเสบ” Renee Wellenstein แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าว “สารฮีสตามีนมีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับอาการหวัดละไข้จึงอาจเป็นสาเหตุทำให้อาการหนักกว่าเดิมได้”
- ถั่ว
ถั่วอันที่จริงแล้วเป็นแหล่งรวบรวมซิงก์และวิตามินอี แต่อีกมุมหนึ่งถั่วก็มีไขมันมาก การกินถั่วขณะที่ป่วยทำให้ร่างกายทำงานหนักขึ้น อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดท้อง
- บรอกโคลี
บรอกโคลีมีประโยชน์มากมาย มีภูมิคุ้มกัน เช่น วิตามินเอและซี แต่ก็เป็นผักที่มีไฟเบอร์สูง อาจทำให้ย่อยยากขณะที่คุณกำลังป่วย Mahmoud Ghannoum ผู้เชี่ยวชาญด้านลำไส้ กล่าว เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ลำไส้ทำงานหนักควรเลือกกินอาหารไฟเบอร์ต่ำไปก่อน
เมื่อปวดศีรษะ สิ่งที่ไม่ควรทาน ได้แก่
- ชีสที่บ่มมานาน (Aged Cheese)
อาหารที่ยิ่งบ่มนานยิ่งมีสารฮีสตามีนสูง ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัว ก่อให้เกิดอาการปวดหัวมากขึ้นกว่าเดิม
- อาหารหมักดอง
เพราะในอาหารหมักดองจะมีสารไทรามีน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ การกินอาหารประเภทนี้ขณะปวดหัวจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและหดตัว จึงเป็นสาเหตุให้มีอาการมากขึ้น
เมื่อไอหรือเจ็บคอ สิ่งที่ไม่ควรทาน ได้แก่
- ผักดิบ
ผักดิบมันจะมีส่วนหยาบหรือขรุขระ ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองขณะกลืนได้ แม้ว่าอันที่จริงแล้วผักดิบถือเป็นของคบเคี้ยวที่มีประโยชน์ แต่พักการกินไว้ก่อนหากกำลังไอหรือเจ็บคอ
- ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
แม้ว่าผลไม้เหล่านี้จะมีวิตามินสูง แต่ในอีกมุมหนึ่งความเป็นกรดของมันก็อาจทำให้ระคายคอมากขึ้นได้ ดังนั้นคุณควรจะหาวิตามินซีจากแห่งอื่นไปก่อนในช่วงที่มีอาการ
เมื่อปวดท้อง คลื่นไส้ หรือท้องเสีย สิ่งที่ไม่ควรทาน ได้แก่
- ผลิตภัณฑ์จากนม
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมมีส่วนผสมของแลคโตส บางคนก็มีอาการแพ้แลคโตส เพราะแลคโตสทำให้กระเพาะย่อยยาก จึงอาจทำให้มีอาการปวดท้อง หรือท้องเสียมากขึ้นได้
- รำข้าว
รำข้าวมีใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำสูง ดังนั้นเมื่อทานเข้าไปมันจะพุ่งตรงไปที่ลำไส้ เช่นเดียวกับพวกกราโนลา ข้าวกล้อง และพาสต้าข้าวสาลี
- ถั่ว
น้ำตาลที่อยู่ในถั่ว (อัลฟากาแลกโตซิเดส) ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร อาจทำให้ท้องเสียงหรือมีแก๊ซในท้องได้ เพราะว่าร่างกายอาจจะสร้างเอนไซม์ที่ไม่พอสำหรับการย่อยน้ำตาลเหล่านี้
ขอขอบคุณ
ข้อมูล Sanook.com
ภาพ :iStock