ภาวะปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือ พยาธิ อาการปอดบวม ปอดจะมีหนอง และ มีน้ำอยู่ในถุงลม ส่งผลให้ร่างกายขาดอ๊อคซิเจน อาจทำให้เสียชีวิตได้ สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย
สาเหตุของโรคปอดบวม
โรคปอดบวม ( Pneumonia ) เกิดจากเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือพยาธิ เชื้อที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคปอดบวมมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถแพร่กระจาย ได้โดยการไอหรือจาม นอกจากเชื้อโรคบางตัวแล้ว พบว่ามีสารเคมี เช่น ไนโตรเจน แอมโมเนีย ไดออกไซด์ การติดเชื้อโรคที่คอ สามารถทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ แต่ถ้าร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี ก็จะช่วยได้ การสำลัก น้ำลาย หรือ เศษอาหาร ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการทำให้ปอดติดเชื้อ ในบางกรณีอาจได้จากการ ใช้ แก้วน้ำหรือผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้ป่วย
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม
สำหรับ ในกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดบวม ได้แก่
- อายุ ในเด็กเล็กๆและในผู้สูงอายุ เพราะร่างกายมีความบกพร่องในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรค
- การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และ/หรือรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษาโรคมะ เร็ง (ยาเคมีบำบัด) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค และการกำจัดเชื้อโรค
- การมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฟันผุ และเหงือกเป็นหนอง โรคไตเรื้อรัง ฯลฯ
- การไม่รักษาสุขภาพและอนามัย เช่น การขาดอาหาร สุขภาพทรุดโทรม อยู่อาศัยในสถานที่ที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศที่ดีพอ ในที่ที่มีมลภาวะที่ต้องหายใจและสูดมลภาวะเข้าไปในปอด
อาการของโรคปอดบวม
ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น เวลาหายใจจะหอบและเหนื่อย เจ็บหน้าอก อาการไอของผู้ป่วยโรคปอดบวมในระยะแรก จะไอแบบแห้งๆ ต่อมาก็จะมีเสมหะเพิ่มมากขึ้น และเสมหะจะเหนียว อาการของปอดบวม ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มักมีเสมหะ มีไข้ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย อา การเหล่านี้อาจมีไม่ครบทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็กเล็กๆ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยทุพพลภาพที่ไม่สามารถช่วยตัวเองและสื่อสารได้จำกัด ควรให้ความสนใจและสงสัยมากกว่าปกติ เนื่องจากอาการอาจไม่ชัดเจน เช่น ในผู้สูงอายุ อาจจะมีเพียงมีไข้ หรือตัวอุ่นๆและซึมลงเท่า นั้น อาจจะไอเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะไม่ไอให้เห็นก็ได้ เนื่องจากมีความจำกัดในการเคลื่อน ไหว หรือกล้ามเนื้อไม่มีแรงพอที่จะไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เราสามารถตรวจสอบว่าเราเป็นโรคปอดบวมได้ โดยสังเกตุอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น การตรวจเลือด การเอ็กสเรย์ปอด
การรักษาโรคปอดบวม
โรคปอดบวมส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็ก การรักษาต้องให้เด็กดื่มน้ำมากๆ ทานยาตามที่หมอสั่ง ต้องคอยสังเกตุที่ริมฝีปาก หากพบว่าริมฝีปากคล้ำให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน แพทย์จะรักษาโดย การให้อ๊อคซิเจน ให้ยาปฏิชีวนะ ให้น้ำเกลือ วัคซีนที่สามารถป้องกันโรคปอดบวมได้ เช่น H.influenza, Pertussis, Pneumococcal
- การให้ยาปฏิชีวนะ หากในรายที่เป็นไม่มากและไม่มีอาการแทรกซ้อนอาจให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกด้วยยาชนิดรับประทาน กรณีนอกจากนี้การรักษาควรให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดแบบผู้ป่วยใน
- การรักษาประคับประคองตามอาการทั่วๆไปเช่น การให้ยาลดไข้ การให้สารน้ำทางหลอดเลือด การให้ออกซิเจน การให้อาหารเหลวทางสายให้อาหารลงกระเพาะอาหารในรายที่รับประทานอาหารเองไม่เพียงพอ ฯลฯ
- การรักษาอาการแทรกซ้อนเช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่เหนื่อยและหายใจเองไม่เพียงพอ การให้ยาเพิ่มความดันโลหิตหากมีความดันโลหิตลดต่ำลง ฯลฯ
การป้องกันโรคปอดบวม
สมารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน และดูแลสุขอนามัยให้สะอาดถูกหลักอนามัย สามารถป้องกันได้ดังนี้
- รักษาสุขภาพและอนามัยให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอเช่น การรับประทานอาหาร พักผ่อน ออกกำลังกาย ให้เหมาะสมกับสภาพและวัยของท่าน (รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน/สุขบัญญัติแห่ง ชาติ)
- การงดและเลิก บุหรี่ สุรา และยาเสพติด
- หากท่านมีโรคประจำตัวอยู่ ให้รักษาตามแผนและคำแนะนำของการรักษาโรคนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว
- การป้องกันการรับเชื้อโดยการปิดปากและจมูกเมื่อต้องสัมผัสผู้ป่วยที่ไอ หรือจาม และผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม ควรป้องกันการแพร่กระจายฝอยละอองไปยังผู้อื่น ด้วยการปิดปากและจมูกด้วยกระดาษหรือผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัย
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ได้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง/ยาเคมีบำบัด ฯลฯ ควรพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำปีทุกปี
ข้อมูลจาก : https://beezab.com