สุขภาพทั่วไปโควิด-19

“โควิด-19” VS “ไข้หวัดใหญ่” VS “ปอดอักเสบ” แตกต่างกันอย่างไร?

Views

อาการโควิด 19 (ไวรัสโคโรนา) กับ อาการของปอดอักเสบ มีความคล้ายคลึงกันดังนี้

  • 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ มักติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยโดยเฉพาะเชื้อนิวโมคอคคัส ทำให้เกิดปวดบวม บางรายอาจติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เสียชีวิตได้
  • โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอด จะมีอัตราการเสียชีวิตจากโรค Covid-19 ไข้หวัดใหญ่ และปอดอักเสบ มากกว่าคนปกติ


ในช่วงที่ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ระบาด และดันมีอาการที่คล้ายคลึงกันกับไข้หวีดใหญ่ และปอดอักเสบ เราจะมีวิธีสังเกตอาการตัวเอง หรือคนใกล้ตัวก่อนที่จะเดินทางไปโรงพยาบาลได้อย่างไร Sanook Health มีข้อมูลจาก พญ. พเยีย ฉันทาดิศัย แพทย์ด้านโรคติดเชื้อ รพ. สมิติเวช สุขุมวิท มาฝากกัน

อัตราการพบได้บ่อย

โควิด-19

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุระหว่าง 15-49 ปี (55.1% ของผู้ป่วยทั้งหมด)

ไข้หวัดใหญ่

  • ทั่วโลกพบ 713 คน ต่อ 100,000 ประชากร/ปี
  • ในไทยพบ 1,231 คน ต่อ 100,000 ประชากร/ปี

โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส

ยิ่งอายุมาก ยิ่งพบบ่อย

  • อายุ 50-64 ปี พบ 25 คน ต่อ 100,000 ประชากร/ปี
  • อายุ > 65 ปี พบ 67 คน ต่อ 100,000 ประชากร/ปี

ยิ่งอายุมากและมีโรคประจำตัว ยิ่งพบบ่อย

  • อายุ>65 ปี และเป็นโรคเบาหวาน พบ 187 คน ต่อ 100,000 ประชากร/ปี
  • อายุ>65 ปี และเป็นโรคหัวใจ พบ 254 คน ต่อ 100,000 ประชากร/ปี
  • อายุ>65 ปี และเป็นโรคหอบหืด พบ 398 คน ต่อ 100,000 ประชากร/ปี
  • อายุ>65 ปี และเป็นโรคปอดพบ 516 คน ต่อ 100,000 ประชากร/ปี


เชื้อที่เป็นสาเหตุ

โควิด-19

  • SARS-CoV-2

ไข้หวัดใหญ่

  • Influenza A(H3N2), A(H1N1)) virus
  • Influenza B virus

โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส

  • Streptococcus pneumoniae (เชื้อนิวโมคอคคัส)


อาการ

โควิด-19

  • ระยะฟักตัว 14 วัน
  • ประมาณ 97.5% จะเริ่มมีอาการใน 11.5 วันโดยเฉลี่ย
  • มีไข้ (98%) ประมาณ 60% พบไข้สูงกว่า 38 องศา
  • ไอแห้งๆ (68%)
  • อ่อนเพลีย (38%)
  • หายใจหอบเหนื่อย (31%)
  • (อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือหนาวสั่น พบได้น้อยประมาณ 11-13%)


ไข้หวัดใหญ่

  • ไข้สูงกว่า 38 องศา มีการหนาวสั่น
  • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
  • ไอแห้งๆ
  • อ่อนเพลีย
  • คัดจมูก
  • เจ็บคอ


โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส

  • ไข้สูง หนาวสั่น
  • หอบ หายใจลำบาก
  • ไอมีเสมหะ


ความรุนแรง

โควิด-19

อาการรุนแรง (14%) – หายใจหอบเหนื่อยร่วมกับภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ hypoxia

อาการขั้นวิกฤต (critical) (5%) – มีภาวะหายใจล้มเหลว

หรือมีอวัยวะภายในล้มเหลว


ไข้หวัดใหญ่

1ใน 3 ของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ มักติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยโดยเฉพาะเชื้อนิวโมคอคคัส ทำให้เกิดปวดบวม บางรายอาจติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เสียชีวิตได้


โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส

  • มักต้องนอนรักษาตัวในรพ.
  • เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้สูงวัย > 65 ปี
  • ในคนไข้บางรายอาจติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว


อัตราการเสียชีวิต

โควิด-19

  • ทุกช่วงอายุ: 1.4-2.3% (คาดว่าอัตราการเสียชีวิตอาจน้อยกว่า 1% เนื่องจากมีผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการด้วย)
  • ผู้สูงอายุ >80 ปี: 14.8%
  • ผู้มีโรคประจำตัว


ไข้หวัดใหญ่

  • ทุกช่วงอายุ: <0.1%
  • ผู้สูงอายุ >65 ปี: 11.4%
  • ผู้มีโรคประจำตัว
    • โรคหัวใจ 11%
    • เบาหวาน 10.6%
    • โรคปอดเรื้อรัง 7.7%


โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส

  • ทุกช่วงอายุ: 10%
  • ผู้สูงอายุ > 80 ปี: 22%
  • ผู้มีโรคประจำตัว
    • โรคหัวใจ 18%
    • เบาหวาน 11%
    • โรคปอด 10%


การแพร่ระบาด

โควิด-19

จากผู้ที่เป็นโรค ทางการไอหรือจามในระยะ 1-2 เมตร และตามพื้นผิวที่มีการปนเปื้อนของน้ำลาย เมื่อจับแล้วสัมผัสต่อไปที่ใบหน้า จมูก ปาก

ยังไม่พบหลักฐานที่เชื้อจะลอยอยู่ในอากาศ โดยทั่วไปได้ 


ไข้หวัดใหญ่

เชื้อไข้หวัดใหญ่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายผู้ป่วย สามารถแพร่กระจายทางการไอ และจาม การสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อน


โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส

เชื้อนิวโมคอคคัสอาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของทุกคนสามารถแพร่กระจายผ่านทางละออง การไอและจาม


วิธีป้องกัน

โควิด-19

  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70%
  • รักษาระยะห่างจากผู้อื่นไม่ต่ำกว่า 1 เมตร โดยเฉพาะผู้ที่ไอ หรือ จามควรห่างมากกว่า 2 เมตร
  • หลีกเลี่ยงการจับใบหน้า จมูก หรือปาก และหลีกเลี่ยงการทักทายด้วยการสัมผัสร่างกายผู้อื่น เช่นการจับมือ หรือการกอด
  • สวมหน้ากากอนามัย
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ผู้คนชุมนุมกัน พลุกพล่าน


ไข้หวัดใหญ่

  • ล้างมือให้สะอาด
  • สวมหน้ากากอนามัย
  • หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด
  • ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่ (ฉีดวัคซีน 1 เข็ม ทุกปี)


โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส

  • ล้างมือให้สะอาด
  • สวมหน้ากากอนามัย
  • หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด
  • ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส (ฉีดวัคซีน 13 สายพันธุ์ 1 เข็ม ตามด้วย 23 สายพันธุ์ 1 เข็ม ห่างกัน 1 ปี)

ขอขอบคุณ https://www.sanook.com

ข้อมูล :พญ. พเยีย ฉันทาดิศัย แพทย์ด้านโรคติดเชื้อ รพ. สมิติเวช สุขุมวิท

ภาพ :iStock

Leave a Reply