คนไทยคุ้นเคยกันดีกับโรคกระเพาะอาหาร ฉะนั้นเมื่อเกิดอาการ “เรอเปรี้ยว หรือมีรสขมในปาก ปวดแสบร้อนในช่องท้องส่วนบน ปวดบริเวณหน้าอก” ก็จะคิดไว้ก่อนว่านั่นเป็นอาการของโรคกระเพาะอาหาร ทั้งที่ความจริงแล้วอาจจะเป็น “โรคกรดไหลย้อน จากกระเพาะสู่หลอดอาหาร (Gastro esophageal Reflux Disease : GERD)”
“โรคกรดไหลย้อน” เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยของที่ไหลย้อนส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ส่วนน้อยอาจเป็นด่างจากลำไส้เล็ก โดยอาจมีหรือไม่มีหลอดอาหารอักเสบก็ได้
ผู้ป่วยด้วยโรคนี้จะมีอาการแสบยอดอก เรอเปรี้ยว ภาวะนี้อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบหรือเป็นมากจนเกิดแผลรุนแรง จนทำให้ปลายหลอดอาหารตีบ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ของเยื่อบุหลอดอาหารได้ บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้
“แต่เท่าที่พบผู้ป่วยบางรายไม่ได้มาด้วยอาการแสบยอดอก เรอเปรี้ยว แต่มาหาหมอด้วยอาการของโรคหู คอ จมูก เช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง มีกลิ่นปาก หรืออาจมาด้วยอาการทางระบบหายใจ เช่น หอบหืด บางรายก็มาด้วยอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งเมื่อวินิจฉัยแล้วไม่พบโรคอื่น ก็จะส่งมาที่แผนกและส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน”
โรคกรดไหลย้อน มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ลักษณะของโรคคือการที่มีกรดไหลย้อนขึ้นจากกระเพาะอาหารมาที่หลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อนมักพบได้จากการที่มีการอักเสบของหลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อน ซึ่งมีผลกระทบได้ในทุกช่วงอายุ และวิถีชีวิตในแถบยุโรป พบได้ในผู้ใหญ่ ประมาณ 20-40% ซึ่งอาการที่พบเป็นประจำคืออาการแสบยอดอก
โรคกรดไหลย้อนจะพบได้มากใน ทุกกลุ่มอายุ แต่ที่พบมาก และมักจะมีอาการรุนแรงจะเป็นกลุ่มคนอ้วน ยิ่งกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น
อาการของโรคจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการนอกหลอดอาหารจะมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง ซึ่งหากเจ็บคอเรื้อรังแต่หาสาเหตุไม่พบส่วนใหญ่ 70% จะเป็นโรคกรดไหลย้อน ส่วนที่มีอาการในหลอดอาหารจะมีการอักเสบ
การวินิจฉัยโรค ไม่แนะนำให้ใช้วิธีส่องกล้อง ยกเว้นในรายที่มีอาการอาเจียนอย่างรุนแรง ถ่ายอุจจาระสีดำ เพราะการส่องกล้องจะวินิจฉัยได้เพียง 10-30% เท่านั้น หากรักษาด้วยการใช้ยารักษา ซึ่งใช้ดีที่สุดในกลุ่มคนไข้ที่มีการอักเสบของหลอดอาหาร หากให้ยาแล้ว 2 สัปดาห์อาการดีขึ้นก็ให้สันนิษฐานว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน
“การปรับพฤติกรรมการกิน การนอน จะสามารถช่วยรักษาได้ 20% แต่หากใช้ยาในการรักษาจะหายได้ 80-100% คนไทยจะพบโรคนี้ประมาณ 7.4% ซึ่งมากกว่าเบาหวานซึ่งจะพบแค่ 4% ของประชากรเท่านั้น แต่ผู้ที่มีโรคนี้ประมาณ 40% จะไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน” แต่หากรักษาด้วยยาไม่ได้ผลก็จะใช้วิธีการผ่าตัดด้วยการ “ผูกหูรูดกระเพาะอาหาร” เพื่อไม่ให้กรดไหลย้อน แต่การผ่าตัดต้องใช้ฝีมือศัลยแพทย์มือหนึ่ง ซึ่งมีแพทย์ที่ทำได้ไม่มากนักในเมืองไทย
ให้เราคิดว่าเราแบ่งภาวะที่มีการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารเข้าหลอดอาหารนี้เป็น 3 ระดับหรือ 3 กลุ่ม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : RAMA CHANNEL โรงพยาบาลกรุงเทพ
© Copyright 2017 แพทย์ทางเลือก.com | thaialternativemedicine.org | News & Magazine