สุขภาพทั่วไป

สาเหตุของอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน

Views

อาการเหงื่อออกกลางคืนคืออะไร ?

อาการที่กำลังพูดถึงในบทความนี้ ไม่ใช่อาการร้อนแล้วเหงื่อแตก หรือว่าห่มผ้ามากไปแล้วเหงื่อแตกในตอนกลางคืน แต่เป็นอาการที่ทำให้คุณสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึก ร่วมกับมีเหงื่อออกมากในกลางดึก ซึ่งเป็นอาการที่ผิดปกติ มักเกี่ยวข้องกับการใช้ยา หรือโรคบางอย่าง วิธีการแก้ไขนั้นมีอะไรบ้างนั้นมีดังนี้

1. ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป

ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานและการเผาผลาญของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยที่มีฮอร์โมนไทรอยด์สูงเกินไป จะมีอาการเหงื่อออกง่าย ไวต่อความร้อน อุณหภูมิร่างกายสูงผิดปกติ กระหายน้ำบ่อย หิวบ่อย มือสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง เหนื่อยง่าย ท้องเสียบ่อย น้ำหนักลด รวมถึงอาจมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนร่วมด้วย

2. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ในผู้ป่วยเบาหวานการรักษาระดับน้ำตาลไม่ให้สูง หรือต่ำเกินไปเป็นเรื่องสำคัญ โดยภาวะน้ำตาลต่ำนั้นเป็นภาวะที่มีความอันตราย และหากมีมีระดับต่ำในกลางดึก อาจทำให้สะดุ้งตื่นแล้วเหงื่อออกได้ แก้ไข้โดยการทานน้ำหวาน หรือลูกอมเพื่อเพิ่มน้ำตาลในกระแสเลือด ส่วนสาเหตุนั้นอาจมาจากการมีกิจกรรมหนักๆในวันนั้นๆ ทานอาหารเย็นน้อย หรือยาที่ใช้มีขนาดสูงเกินไป และในผู้ที่ทำการตรวจน้ำตาลด้วยตนเองอาจคาดเดาได้ว่าจะมีอาการน้ำตาลต่ำตอนกลางคืนหรือไม่ เมื่อระดับน้ำตาลตอนเย็น น้อยกว่า 140 มก/ดล.

3. ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ หรืออ้วนมากๆ อาจหยุดหายใจระหว่างนอนหลับได้ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ กระตุ้นให้เข้าสู่ภาวะเอาตัวรอดของร่างกาย ซึ่งการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ และเหงื่อแตกเป็นหนึ่งในอาการเหล่านั้น แก้ไขโดยการใช้เครื่องช่วยหายใจช่วย ซึ่งจะต้องพิจารณาการใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

4. กรดไหลย้อน

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อน มักมีอาการแสบร้อนกลางอก หรือเจ็บหน้าอกทำให้สะดุ้งตื่นตอนกลางคืนได้อยู่แล้ว แม้ความสัมพันธ์ระหว่างโรคกรดไหลย้อนกับภาวะเหงื่อออกตอนกลางคืนนั้นยังมีน้อย แต่แพทย์ที่ทำการรักษาก็ยังเชื่อว่ามีความสัมพันธ์อยู่แต่ยังอธิบายไม่ได้ อย่างไรก็ตามการป้องกันคือการทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆในระหว่างวันและงดการรับประทานอาการก่อนนอน โดยเฉพาะอาหารทอด อาหารมันที่จะเป็นตัวกระตุ้นกรดให้มากขึ้น หากคุณมีอาการแบบนี้บ่อยๆ มากกว่า 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะต้องพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการแก้ไข

5. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

โรคมะเร็งหลายอย่างมักทำให้เกิดอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนอยู่แล้ว แต่ที่พบมากที่สุดคือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์มะเร็งรบกวนได้หลายอวัยวะได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ไขกระดูก และต่อมไทมัส โดยมากกว่า 1 ใน 4 ของผู้ที่เป็นมะเร็งชนิดนี้จะมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน และไข้ต่ำๆ นอกจากนี้อาจมีอาการ เหนื่อยง่าย คันตามร่างกาย ร่วมด้วย

6. ยาบางชนิด

มียาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการเหงื่ออกตอนกลางคืนได้เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้อักเสบ (เช่นยาแก้ปวดเม็ดสีชมพู ยาแก้ปวดท้องประจำเดือนเป็นต้น) ยาคลายกังวล ฮอร์โมนทดแทน (เช่น ยาคุมกำเนิด) ยาสเตียรอยด์ รวมถึงยารักษาต้อหินซึ่งทำให้ปากแห้ง จึงกระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อมากขึ้น ดังนั้นหากคุณได้รับยาชนิดใหม่มาทาน แล้วเกิดอาการดังกล่าว อาจปรึกษาแพทย์ หรือร้านยาที่มีเภสัชกรใกล้บ้าน เพื่อดูว่ายาที่ได้รับมาใหม่เกี่ยวข้องกับอาการดังกล่าว หรือมีความผิดปกติอื่นหรือไม่

7. ผู้ป่วยวัณโรค

ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยวัณโรคมีอาการดังกล่าว เนื่องจากเชื้อก่อโรค นอกจากนี้ยังมีอาการไอมาก ไอเป็นเลือด มีไข้ เหนื่อยง่าย อ่อนแรง หรือไม่อยากอาหารร่วมด้วย

8. ภาวะวิตกกังวล

อาการเครียด หรือวิตกกังวลส่งผลให้มีอาการเหงื่อแตกได้อยู่แล้วทั้งในตอนกลางวัน และกลางคืน นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่เครียดมากๆอาจมีอาการฝันร้าย จนถึงขั้นรบกวนชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเพียงความผิดปกติของร่างกายเท่านั้น หากได้รับการรักษาและบำบัดที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วยกลับมามีชีวิตที่ปกติได้อีกครั้ง

9. การติดเชื้อเอชไอวี

อาการโดยทั่วไปของผู้ติดเชื้อเอชไอวีคือ มีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ ต่อมน้ำเลืองบวม หรือเจ็บตามข้อ และ 1 ใน 10 ของผู้ติดเชื้อมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนร่วมด้วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย น้ำหนักลด หรือติดเชื้อฉวยโอกาสบางชนิดจะทำให้เกิดอาการเหงื่ออกกลางคืนมากขึ้น           

10. เนื้องอก หรือมะเร็ง

การมีเนื้องอก หรือมะเร็งเช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งในไต หรือเนื้องอกในมดลูกหรืออัณฑะ มะเร็งต่อมไทรอยด์ และมะเร็งตับอ่อน ทำให้เกิดอาการเหงื่ออกตอนกลางคืนได้ 

11. ภาวะหมดประจำเดือน

ภาวะเหงื่อออกตอนกลางคืนในหญิงวัยหมดประจำเดือนอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงแรกๆ ที่มีการปรับตัวของฮอร์โมนรวมถึงอาการร้อนวูบวาบด้วย หรือแม้กระทั่งผู้หญิงที่จำเป็นต้องตัดรังไข่หรือต้องหยุดการมีประจำเดือนระหว่างการให้เคมีบำบัด ก็จะมีอาการเช่นเดียวกัน ซึ่งอาการดังกล่าวก็อาจเกิดขึ้นได้ก่อนวัยหากคุณมีความเครียด ความเศร้า หรือดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ดังนั้นมีหลายสาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนได้ จึงไม่ควรตัดสินว่าภาวะดังกล่าวสัมพันธ์กับการมีประจำเดือนของคุณเพียงอย่างเดียว จึงควรปรึกษาแพทย์พื่อตรวจร่างกายอย่างะเอียดก่อนตัดสิน    

12. การติดเชื้อ

การติดเชื้อบางอย่าง หรือในบางอวัยวะทำให้คุณมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนได้ เช่นการติดเชื้อบลูเซลโล ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ในสัตว์แพร่สู่คนได้โดยการกินอาหารจากสัตว์เช่น นม หรือชีสที่ไม่สะอาด หรือการสัมผัสสัตว์ และการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆเช่น หัวใจ กระดูก รวมถึงการมีฝีในตับก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน     

13. เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต

เป็นเนื้องอกที่พบน้อยมาก แต่หากเกิดแล้วจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนหลายอย่างในร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เป็นเหตุให้มีอาการเหงื่อออกกลางคืน ปวดหัว หัวใจเต้นเร็ว โดยเนื้องอกชนิดนี้จะพบในผู้ที่อายุ 20 – 50 ปี โดยความเสี่ยงในการเกิดส่วนใหญ่มาจากกรรมพันธุ์

ขอขอบคุณ

ข้อมูลจาก: https://healthsmile.co.th

ภาพ:Healthsmile

Leave a Reply