อดีตรมว.คลัง แสดงความคิดเห็นเรื่องเงินเยียวยา จำนวน 15,000 บาท จากโครงการเราไม่ทิ้งกัน แนะ แนวทางใหม่ ให้เงินเยียวยาเท่าเทียมกันทุกคน เพียง มีบัตรประชาชน เพื่อจบทุกปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้

วันที่ 10 พ.ค. สำนักข่าวคมชัดลึก รายงานว่า วันที่ 9 พ.ค. 63 นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรมว.คลัง กล่าวถึงการเยียวยาประชาชนผู้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่เหมาะสมและรวดเร็ว คือ มีบัตรประชาชนไทย ควรได้เงินชดเชยเท่ากันทุกคน เนื่องจาก

1. รัฐบาลไทยใช้เงินจำนวนมากถึง 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น 11.4% ของผลผลิตของชาติ (GDP) เพื่อแก้วิกฤตโรคระบาดโควิด19 โดยเป็นเงินกู้ถึง 1 ล้านล้านบาท ประชาชนไทยทุกคน จะร่วมกันเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องเก็บภาษีในอนาคตมาใช้คืน

2. รัฐบาลมีเป้าหมายกู้เงิน เพื่อมาชดเชยเยียวยาประชาชน 600,000 ล้านบาท และฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท

3. วิธีการเยียวยาของรัฐบาล มีเงื่อนไขยุ่งยากมาก ชดเชยประชาชนแต่ละคนไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน เช่น การให้ประชาชนที่ค้าขายทำงานเอง และแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมคนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน มีประชาชนลงทะเบียนกว่า 28 ล้านคน เดิมรัฐบาลจะให้ 9 ล้านคน แต่หลังๆ มานี้ รัฐบาลได้เพิ่มผู้มีสิทธิ เป็น14 ล้านคน แล้วก็เพิ่มเป็น 16 ล้านคนเนื่องจากเงื่อนไขมาก จึงเกิดความล่าช้าไม่ทันกาล ในขณะที่ประชาชนไม่มีรายได้ไม่มีกิน

4. การชดเชยแรงงาน ในระบบประกันสังคมก็ยิ่งยุ่งยากใหญ่ ล่าช้าและไม่เท่าเทียมเรื่องเด่นวันนี้
ขอขอบคุณ https://varietyded.com