พ.ต.อ.นพ.คำนูณ อธิภาส จักษุแพทย์เผยโรคต้อกระจก มักมาพร้อมกับอายุมากที่ขึ้น
นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้ เช่น ผลข้างเคียงจากการใช้ยา สารสเตียรอยด์ สารพิษ ประสบอุบัติเหตุ และ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาทิ ผู้ป่วยเบาหวาน และไทรอยด์
โรคนี้จะค่อยๆ เกิดขึ้น โดยใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาจนกระทั่งตาขุ่นมัว จึงอาจทำให้คนทั่วไปไม่ทันได้ตระหนัก
ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอย่างผู้เข้าสู่วัยเกษียณ หรือคนใกล้ชิด จึงควรตรวจสอบถึง 5 สัญญาณเสี่ยง ดังนี้
1.ตาค่อยๆ มัวลง อย่างช้าๆ โดยไม่เจ็บปวด อาจเริ่มมัวลงภายใน 2 – 3 เดือน หรือมากกว่า 10 ปีในบางราย
2.สายตากลับ มีการเปลี่ยนแปลงด้านมองเห็นอย่างชัดเจน เช่น สายตายาวแล้วเปลี่ยนเป็นสั้นหรือเอียงขึ้น
3.เห็นแสงแตกกระจาย มองแสงแล้วจะเห็นเป็นเส้นๆ เป็นแฉกๆ หรืออาจดูมีภาพซ้อน
4.มองเห็นในที่มืดลดน้อยลง ซึ่งจะพบบ่อยๆ ในกลุ่มคนสูงวัยมากๆ
5.ต้อกระจกบางชนิดจะมองเห็นในที่มืดชัดกว่าที่สว่าง เนื่องจากมีความขุ่นมัวเฉพาะส่วนกลางของเลนส์ตา ซึ่งในที่สว่างรูม่านตาจะเล็ก เวลาใช้สายตาก็จะมองผ่านเฉพาะส่วนที่ขุ่นมัวนั้น แต่ในที่มืดรูม่านตาจะขยายกว้างขึ้นการมองเห็นก็จะดีขึ้น มักพบในคนที่ป่วยต้อกระจกจากโรคเบาหวาน กินยาสเตียรอย หรือหยอดตามานาน
หากมีอาการน่าสงสัยเพียงข้อใดข้อหนึ่ง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียดและรักษาได้ทันท่วงที
การรักษามีทั้งสวมแว่น ใช้ยาหยอดกรณีอาการยังไม่นแรงมาก เปลี่ยนเลนส์แก้วตา ที่ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เช่น สลายต้อกระจกด้วยระบบอัลตราซาวน์ แผลจะเล็กเพียง 2-3 มม. พักฟื้นไม่นาน เลือกใช้เลนส์แก้วตาเทียม
ผู้ที่มีอายุมากกว่า50ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง จึงควรตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง หรืออาจเข้ารับการตรวจที่เร็วขึ้น หากว่าอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงอื่นๆ เช่น เป็นเบาหวาน และ ไทรอยด์ หรือใช้ยาสเตียรอยด์บ่อยครั้ง เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูล:siamrath.co.th