“โรคกระเพาะอาหาร” เป็นโรคสําคัญและพบได้บ่อย โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานอาจการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา มีความเครียด หรือรับประทานยาที่กัดกระเพาะ ซึ่งอาการอาจมีความรุนแรงจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยต้องหยุดงานหรือต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ดังนั้น ผู้ป่วยและบุคคลทั่วไป มีความรู้เบื้องต้นจะมีประโยชน์ในการดูแลรักษาตนเองเบื้องต้น และป้องกันโรคได้อย่างถูกวิธีอาการปวดท้องกระเพาะอาหารเป็นอย่างไร ?
- ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่เหนือสะดือ เช่น แสบร้อน, แน่นอึดอัดท้องหลังรับประทานอาหาร, อิ่มเร็วกว่าปกติ บางรายอาจมีเรอหรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
- อาจมีอาการของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ เรอเปรี้ยว หรือแสบร้อนหน้าอกร่วมด้วยได้
โรคกระเพาะอาหาร…เกิดจากสาเหตุอะไร ?
- การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
- การรับประทานยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน
- การรับประทาน ยาแก้อักเสบ หรือแก้ปวดจำพวกที่ใช้ในโรคกระดูกและข้อ
- การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่
- ภาวะความเครียด, ความวิตกกังวล
- การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ชื่อ Helicobacter pylori สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของคนเรา มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้เช่นกัน
- การมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นได้ทั้งเนื้อดี และเนื้อร้ายอีกด้วย
การรักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างไรให้ถูกวิธี การรักษาที่สำคัญที่สุดของโรคกระเพาะ คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระเพาะนั่นเอง การรักษาต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคที่พบ ซึ่งจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยก่อนเพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะจากสาเหตุใดการรักษาโดยหลักมี 2 แบบ คือ
- การรักษาด้วยยา โดยจะรักษาตามสาเหตุ เช่น มีการติดเชื้อแพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะไว แพทย์จะให้ยาลดอาการของโรคกระเพาะ
- การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การผ่าตัดกรณีที่มีเนื้องอกในกระเพาะอาหาร, การปรับอาหาร, การออกกำลังกาย
“การแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร คือสิ่งสำคัญ เพราะการเอาใจใส่ในเรื่องการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของมัน ของทอด หลีกเลี่ยงการเข้านอนหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ, การงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การงดการสูบบุหรี่, ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อควบคุมน้ำหนัก ทั้งหมดนี้ คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเป็นการรักษาสำคัญที่ทำให้มีโอกาสหายขาดจากโรคกระเพาะอาหารได้”
ขอขอบคุณ:โรงพยาบาลบางปะกอก