HIV

เอดส์กับวัณโรค ต่างกันอย่างไร

Views

1. เอดส์กับวัณโรคเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจว่า ต้องแยกผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ที่ยังไม่มีอาการแสดงของโรคเอดส์จากผู้ป่วยที่เป็นเอดส์เต็มขั้น โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี จะมีโอกาสนเป็นวัณโรคได้ง่ายกว่าปปกติ 20-30 เท่า และเมื่อเป็นแล้วก็อาจจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าในคนที่ปกติได้ด้วย ปัจจุบันเราเริ่มพบว่าเชื้อวัณโรคของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี เริ่มดื้อยามากกว่าคนทั่งไป

2. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี จะพบโรควัณโรคระยะใด

ตอบ ในบ้านเราเองเนื่องจากยังมีความชุกของวัณโรคค่อนข้างสูง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไววี จึงสามารถพบวัณโรคได้ในทุกระยะ เพียงแต่ถ้าเมื่อการติดเชื้อลุกลามไปจนเป็นเอดส์เต็มขั้นก็ยิ่งพบวัณโรคได้มากขึ้น เช่นเดียวกับการติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆอีกหลายชนิด ทั้งนี้เป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเกิดการสูญเสียไปมาก

3. มีลักษณะอาการอย่างไร ลักษณะอาการแตกต่างๆจากวัณโรคทัวไปหรือไม่
ตอบ ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี ร่วมด้วยจะมีความแตกต่างไปจากกคนปกติบ้าง ได้แก่ มีไข้ยาวนานกว่า มีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่าและมีการแพร่กรกะจายของวัณโรคปอดไปยังอวัยวะอื่นๆ มากกว่า เช่น เยื่อหุ้มสมอง กระดูก หรือ ต่อมน้ำเหลือง ส่วนอาการอื่นๆ เช่น ไอ ไอเป็นเลือด หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก ก็จะมีเหมือนกับคนทั่วไป

4. การวินิจฉัยวัณโรคจะยุ่งยากมากกว่าคนธรรมดาหรือไม่
ตอบ เนื่องจากที่กล่าวมาแล้วว่าผู้ป่วยเอดส์จะมีโอกาสติเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆ นอกจากวัณโรคได้อีกมาก ดังนั้นการวินิจฉัยวัณโรคในผู้ป่วยนี้จึงมักจะยากกว่าคนปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเอกซ์เรย์ปอดก็จะมีความผิดปกติได้หลายรูปแบบ การตรวจย้อมเชื้อวัณโรคในบางระยะของโรคอาจจะพบได้น้อยกว่าคนธรรมดา และบางวครั้งเชื้อที่ย้อมพบอาจเป็นเชื้ออื่นที่ไม่ใช่วัรโรคแต่เห็นเป็นลักษณะแบบเดียวกันได้ ซึ่งต้องอาศัยการเพาะเชื้อจึงจะแยกกันได้อย่างแน่นอน

5. ถือเป็นโรคติดต่อเหมือนวัณโรคที่เป็นในคนทั่วไปหรือไม่
ตอบ ไม่ว่าจะเป็นวัณโรคในผู้ป่วยกลุ่มใดก็ตาม ก็จะสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้โดยการ ไอจาม หรือ การออกเสียงต่างๆที่ทำให้เกิดละอองเสมหะที่มีเชื้อวัณโรคติดอยู่และฟุ้งกระจายออกไป เมื่อคนเราหายใจเอาละอองเสมหะนี้เข้าไปในปอด ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อและอาจเป็นโรคตามมาได้

6. การรักษาวัณโรคในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ตอบ ปัจจุบันการรักษาวัณโรคจะเป็นแบบแผนเดียวกันทั้งประเทศตามแผนการควบคุมวัณโรคแห่งชาติแต่อาจจะมีความแตกต่างในรายละเอียดบ้างขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยทั่วไปจะเลือกใช้เลือกสูตรการรักษาระยะสั้นมาตราฐาน 6 เดือน ประกอยด้วยตัวยา 4 ชนิด ใน 2 เดือนแรก และเหลือแค่ 2 ชนิดในช่วง 4 เดือนหลัง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือคนธรรมดาก็จะรักษาเหมือนกัน

7. สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
ตอบ ถ้าผู้ป่วยรับการรักษาจนครบกำหนดและเชื้อไม่ดื้อยา ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีก็จะมีโอกาสหายหายขาดได้มากกว่าร้อยละ 95 เหมือนกับคนทั่วไป แต่ปัญหาที่พบบ่อยๆ คือ ผู้ป่วยที่แพ้ยาได้ง่าย และมักจะไม่มารับการรักษาสม่ำเสมอจนครบหรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่องหรือสิ้นสุดก่อนกำหนด กลยุทธสำคัญที่นำมาใช้ในการช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค ไม่ว่าจะติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยหรือไม่มารับการรักษาต่อเนื่องจนครบ ก็คือเรียกว่า ซึ่งหมายถึง การรักษาวัณโรคภายใต้การกำกับดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาสม่ำเสมอโดยอาศัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ ญาติของผู้ป่วยเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งถ้าเป็นสถานบริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครหรือของกระทรวงสาธารณสุข ผู้ป่วยจะไม่ต้องเสียค่ายาหรือค่าใช่จ่ายอื่นๆบางรายการ

8. การดูแลผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคทั่วไปรวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นเอดส์และวัณโรค
ตอบ การดูแลผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคทั่วไป ประกอบด้วย
     – ให้รับประทานยาสม่ำเสมอ และถูกต้องตามคำสั่งแพทย์ คอยสังเกตผลข้างเคียงที่เกิดจากยาวัณโรคตามคำแนะนำเพื่อจะได้รีบ     หยุดยาชั่วคราวก่อนที่จะเป็นรุนแรง
     – รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ พักผ่อนให้เพียงพอ
     – ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่นเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือ จนกว่าอาการไอจะลดลงมากหรือหายไป
     – ปิดปากและจมูกเวลาที่ไอจาม บ้วนเสมหะในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดแล้วรวบรวมไปทิ้งขยะหรือเททิ้งในห้องห้องน้ำ
     – ไปรับการตรวจตามกำหนดจนกว่าแพทย์จะหยุดสั่งยา

9. ผู้ป่วยที่เป็นเอดส์แล้วเป็นวัณโรคคนปกติจะได้รับเชื้อเอดส์ด้วยหรือไม่หรือติดต่อเฉพาะเชื้อวัณโรคอย่างเดียว
ตอบ ผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นวัณโรคร่วมด้วยจะแพร่เชื้อวัณโรคให้กับคนอื่นได้เหมือนกับผู้ป่วยวัณโรคทั่วไปสำหรับการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจะเป็นไปตามธรรมดา คือ ติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ และถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกขณะตั้งครรภ์

10. ข้อแนะนำช่วงท้ายรายการ
ตอบ คำแนะนำที่อยากจะฝากไว้ก็คือ ถ้ามีอาการ ไอ หรือ เป็นไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป โดยไม่พบสาเหตุจากโรคอื่นควรไปรับการตรวจกับแพทย์ว่าเกิดจากวัณโรคได้หรือไม่ ถ้าพบเชื้อวัณโรคแล้ว ปัจจุบันการรักษาค่อนข้างได้ผลดีและใช้เวลาไม่นานมากเหมือนแต่ก่อนขอเพียงแต่ให้ได้รับประทานยาสม่ำเสมอและต่อเนื่องจนครบตามที่แพทย์กำหนด สำหรับคนที่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีอยู่แล้วควรพยายามหลีกเลี่ยงผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคหรือกำลังรักษาวัณโรคอยู่ และไม่พยายามเข้าไปในสถานที่ที่มีการกระจายของ  เชื้อวัณโรคได้ง่าย เช่น สถานบันเทิงที่ระบบถ่ายเทอากาศไม่ดีและไม่มีแสงสว่างเพียงพอ

ขอขอบคุณ : si.mahidol

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรสกุล
ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Leave a Reply