นิ่วในไต

4 สาเหตุเสี่ยง “นิ่วในไต” ทั้งจากพฤติกรรม และอาหาร

Views

นิ่วในไต เกิดจากการตกตะกอนของแคลเซียม ออกซาเลต และสารต่างๆ ที่ขับออกมาในปัสสาวะ ตกค้างอัดแน่นจนกลายเป็นก้อนนิ่วก้อนเล็กๆ สีขาวอมเหลือง หรือสีน้ำตาล ขนาดเล็กเท่าเม็ดมะยม หรืออาจจะใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ ก้อนนิ่วอาจเข้าไปขัดขวาง ปิดกั้นการทำงานของอวัยวะภายในบางส่วน จนทำให้เกิดอาการปวดท้อง ซึ่งเป็นอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายถึงโรคนิ่วในไต

4 สาเหตุ เสี่ยง “นิ่วในไต”

  1. ดื่มน้ำไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกตะกอนของแต่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ออกซาเลต กรดยูริก และอื่นๆ ได้มากขึ้น
  2. ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถทำให้เกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุในปัสสาวะจนกลายเป็นก้อนนิ่วได้เช่นกัน
  3. บริโภคเกลือ (โซเดียม) หรือเนื้อสัตว์มากเกินไป โซเดียมในอาหารที่คุณรับประทานเข้าไป อาจจะกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของนิ่วในไตได้เนื่องจากไปเพิ่มปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะ โดยโซเดียมมักพบในอาหารกระป๋อง อาหารจานด่วน และอาหารสำเร็จรูป หรือพบได้ในเนื้อ และเครื่องปรุงรส
  4. โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น สมาชิกในครอบครัวมีคนเป็นนิ่วมาก่อน เราก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นนิ่วได้มากกว่าคนอื่น

อาการของโรคนิ่วในไต

ส่วนมากผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องบริเวณบั้นเอว หรือท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว ปวดบิดๆ เกร็งๆ เป็นพักๆ คล้ายท้องเดิน หรือปวดประจำเดือน อาจปวดเป็นชั่วโมงๆ หรือปวดทั้งวันก็ได้ ปวดๆ หายๆ และจะมีอาการปวดไปเรื่อยๆ หากก้อนนิ่วไม่หลุดออกมา นอกจากนี้อาจมีอาการใจหวิว ใจสั่น หรือคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วยได้

วิธีป้องกันโรคนิ่วในไต

ดื่มน้ำให้เพียงพอใจแต่ละวัน (ดื่มน้ำราว 1.5-2 ลิตรต่อวัน หรือจนกว่าปัสสาวะจะสีเหลืองอ่อนเกือบใส) ไม่กลั้นปัสสาวะนานเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารออกซาเลตสูง เช่น ปวยเล้ง บีทรูท และอัลมอนด์ ดื่มน้ำมะนาวบ้างเป็นครั้งคราว เพราะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดก้อนนิ่วได้ ลดการทานโซเดียม และลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเสริมโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว นม แทน

ขอขอบคุณ https://www.sanook.com

ข้อมูล :อ.นพ. มนินธ์ อัศวจินตจิตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ภาพ :iStock

Leave a Reply