ก้อนนิ่ว เป็นก้อนเล็กๆ สีขาวอมเหลือง หรือสีน้ำตาล ขนาดเล็กเท่าเม็ดมะยม หรืออาจจะใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ เป็นก้อนแข็งเหมือนหินที่มาจากการรวมตัวกันอย่างแน่นของแร่ธาตุ และสิ่งต่างๆ เช่น แคลเซียม ออกซาเลต และกรดยูริค และตกเป็นผลึกก้อนๆ ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ไต ที่เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่กรองเลือด
Dr. Brian Eisner ผู้อำนวยการร่วมโปรแกรมนิ่วในไต ที่โรงพยาบาล Massachusetts General ในเครือมหาวิทยาลัย Harvard ระบุว่า “นิ่วในไตมักพบในผู้ชายได้บ่อยกว่าผู้หญิง และครึ่งหนึ่งของผู้ที่เคยเป็นนิ่วในไตทั้งหมด จะกลับมาเป็นนิ่วในไตได้อีกครั้งภายใน 10-15 ปี หากไม่ได้มีการป้องกันใดๆ” ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเคยเป็นนิ่วในไตมาก่อน หรือไม่เคยเป็นนิ่วในไต แต่มีความเสี่ยงอยู่บ้าง ควรลองปฏิบัติตามเคล็ดลับเหล่านี้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
จากงานวิจัยในปี 2015 ขององค์กรโรคไตแห่งชาติอเมริกัน ระบุว่า คนที่ปัสสาวะมากถึง 2-2.5 ลิตรในแต่ละวัน มีความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในไตมากกว่าคนปัสสาวะน้อยกว่าราว 50% ถ้าอยากปัสสาวะให้ได้ราวๆ 2 ลิตร ก็ควรดื่มน้ำราวๆ 2 ลิตรด้วย - หลีกเลี่ยงอาหารออกซาเลตสูง
อาหารจำพวกผักปวยเล้ง บีทรูท และอัลมอนด์ เป็นอาหารที่เพิ่มออกซาเลตในร่างกาย แต่ไม่ใช่ว่าให้งดอาหารที่มีออกซาเลตโดยสิ้นเชิง เพราะอาหารที่มีออกซาเลตปานกางไปถึงต่ำอย่าง ช็อกโกแลต และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ยังสามารถทานได้ - ดื่มน้ำมะนาวบ้าง
อาหารที่มีส่วนประกอบของซีตรัส ช่วยลดความเสี่ยงในการก่อตัวของนิ่วได้ Eisner ระบุว่า “รายงานการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การดื่มน้ำมะนาวเข้มข้นละลายน้ำ ½ แก้ว หรือน้ำมะนาว 2 ลูกทุกวัน ช่วยเพิ่มซีตรัสในปัสสาวะได้ และนั่นจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดก้อนนิ่วได้ด้วย” - ระวังการทานโซเดียม
การทานอาหารที่มีโซเดียมสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต เพราะเป็นการเพิ่มแคลเซียมในปัสสาวะนั่นเอง เราไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน หากเคยเป็นนิ่วในไตจากการสะสมของแคลเซียมมาก่อนหน้านี้แล้ว ควรลดปริมาณโซเดียมที่ทานให้น้อยลงถึง 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน - ลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์
การทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก เช่น เนื้อแดง ไข่ และอาหารทะเล จะทำให้มีกรดยูริคในร่างสูงขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วในไตได้ หากรู้สึกว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในไต ลองจำกัดปริมาณเนื้อสัตว์ที่ทานในแต่ละวันให้น้อยลง โดยทานเนื้อที่มีขนาดไม่เกิน 1 สำรับไพ่
ขอขอบคุณ https://www.sanook.com
ข้อมูล :Harvard Health Publishing
ภาพ :iStock