ในสังคมปัจจุบันมีแต่การแข่งขัน ทำให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันของทุกคนต้องเร่งรีบไปด้วย ส่งผลให้สุขภาพ
ของคนในสังคมแย่ลงและปัญหาทาง สุขภาพที่พบได้บ่อย คือ การเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วน
ต้นซึ่งโดยทั่วไปเราเรียกกันว่า “โรคกระเพาะ”สาเหตุ เกิดจากมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไปร่วมกับ
ความต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง จึงทำให้มีแผลเกิดขึ้น และปัจจุบันพบว่ายังมี
ปัจจัยเสริมอื่นๆที่ทำให้เกิดโรคได้อีกได้แก่
1.การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor Pylori ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ติดต่อโดยการรับ
ประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ เชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้
เยื่อบุกระเพาะ ผนังกระเพาะจึงอ่อนแอลงและมีความทนต่อกรดลดลง ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วน
ต้นเกิดแผลได้ง่าย แผลหายช้า และเกิดแผลซ้ำได้อีก
2.รับประทานสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ เช่น ดื่มชา กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน
ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ ยาชุดหรือยาลูกกลอนที่มีสเตียรอยด์ เป็นต้น
3.มีอุปนิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหารอย่างเร่งรีบ รับประทานไม่เป็นเวลาหรือ
อดอาหารบางมื้อ เป็นต้น
4.การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสของการเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นอื่นๆ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล คิดมาก นอนไม่หลับ เครียด อารมณ์หงุดหงิด พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น
อาการของโรคกระเพาะมักมีอาการปวดแสบ
ปวดตื้อ จุกเสียดหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการปวดเหล่านี้เป็นได้ทั้งเวลาก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับ
ประทานอาหารใหม่ๆและเวลาท้องว่าง เช่น เวลาหิวข้าว ตอนเช้ามืดหรือตอนดึกๆก็ปวดท้องได้เช่นกัน อาการ
ปวดจะเป็นๆหายๆ เป็นได้วันละหลายๆครั้ง หรือตามมื้ออาหาร และแต่ละครั้งที่ปวดจะนานประมาณ 15 – 30 นาที
อาการปวดจะบรรเทาลงได้ถ้ารับประทานอาหาร ดื่มนมหรือรับประทานยาลดกรด
อาการแทรกซ้อน
โรคกระเพาะถ้าได้รับการรักษาและดูแลตนเองให้ถูกต้องส่วนใหญ่เป็นแล้วจะหาย แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่
ถูกต้องจนมีอาการมากและเรื้อรังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เช่น
– เลือดออกในกระเพาะอาหาร โดยสังเกตได้จากมีถ่ายอุจจาระสีดำหรืออาเจียนเป็นเลือดหรืออาเจียนมีลักษณะคล้ายผงกาแฟบดปนอยู่
– กระเพาะลำไส้เป็นแผลทะลุ โดยสังเกตได้จากมีอาการปวดท้องรุนแรงทันทีทันใด หน้าท้องแข็ง กดเจ็บ
– กระเพาะลำไส้ตีบตัน โดยสังเกตได้จากมีอาการปวดท้อง รับประทานอาหารได้น้อย อิ่มเร็ว และอาเจียนเป็นอาหารที่ไม่ย่อยหลังรับประทานอาหาร
ปวดท้องแบบไหนที่ใช่โรคกระเพาะ ?
ปวดท้องเฉียบพลัน นับเป็นการปวดรุนแรงที่อาจไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเราต้องความสนใจเป็นพิเศษเพราะ
อาจเกิดจากโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคกระเพาะก็เป็นได้ อาทิ โรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
ปวดท้องเรื้อรัง นับเป็นอาการปวดท้องที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด จะมีลักษณะอาการเป็นปวดๆ หายๆ ต่อเนื่องกัน
มาไม่น้อยกว่า 1 เดือน อาจเป็นการปวดท้องที่เกี่ยวข้องกับมื้ออาหาร เช่น ปวดขณะที่หิว หรือปวดขณะที่อิ่มแต่
เป็นการปวดที่ทนได้ ซึ่งเมื่อรับประทานยาลดกรด หรือรับประทานอาหารแล้วก็มีอาการดีขึ้นโรคในกระเพราะ
อาหารที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดเรื้อรัง ได้มีแพทย์ท่านหนึ่งอธิบายเพิ่มเติมเอาไว้ว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น
หลายชนิด เริ่มจาก โรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระเพาะอาหาร เช่น การเป็นแผลในกระเพาะ เป็นแผลใน
ลำไส้เล็กส่วนต้น กระเพาะอาหารอักเสบ หรือเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร ซึ่งอัตราที่จะเกิดโรค หรือภาวะเหล่านี้
นั้นมีประมาณร้อยละ 20 – 25 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง
การวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ
โดยปกติแล้วผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายว่าจะเป็นโรคกระเพาะนั้นเมื่อเดินมาทางมาให้แพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัย
แพทย์ก็จะทำการสอบถามประวัติและลักษณะอาการที่เป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงจะทำการตรวจร่างกายเพื่อหา
สาเหตุที่แน่ชัดว่าอาจเข้าข่ายเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือไม่ รวมถึงทำการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ
การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร (Endoscopy) , การเอกซเรย์กระเพาะอาหารด้วยการกลืนแป้งแบเรียมเพื่อ
ตรวจดูความผิดปกติ หรืออาจมีการตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ด้วยการตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ หรือ
การตรวจด้วยวิธีการพ่นลมหายใจ เป็นต้น
การดูแลตนเอง
-รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
-รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
-หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น ยาชุด ยาแก้ปวดข้อ ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาที่มีสเตียรอยด์ น้ำอัดลม อาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ช็อคโกแลต ชา กาแฟ เป็นต้น
-งดสูบบุหรี่
-อาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อไม่ควรมีปริมาณมากเกินไป
-ถ้าเครียดพยายามลดความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำสมาธิ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
-หมั่นออกกำลังกาย
-รับประทานยาลดกรด ยาน้ำ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ หรือยาเม็ด 1 – 2 เม็ด(เคี้ยวก่อนกลืน) วันละ 4 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็นหลังอาหาร 1 ชั่วโมง และก่อนนอน กรณีมีอาการปวดท้องก่อนเวลายาสามารถรับประทานเพิ่มได้และควรรับประทานยาติดต่อกันนานอย่างน้อย 4 – 8 สัปดาห์
-ถ้าปฏิบัติตามนี้แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอน
-รับประทานยาสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ
อย่างไรก็ดีหากใครเป็นโรคกระเพาะมีอาการเจ็บท้องมากๆมีอาหารเป็นบ่อยๆให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่าพึ่งไปหาซื้อยาทานเองตามร้านยาทั่วไปนะค่ะ ไปพบหมอดีกว่าค่ะชั่วกว่า อย่างไรก็ดีดูแลรักษาสุขภาพด้วยน่ะค่ะด้วยความเป็นห่วง
ขอขอบคุณข้อมูล:healthyhome.asia