ากพฤติกรรมการรับประทานอาหารของประชาชนในประเทศไทย พบว่ามีการบริโภคอาหารที่มีรสชาติจัดจ้านและส่วน ใหญ่นิยมรับประทานอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในส่วนผสมมีแป้ง ไขมัน น้ำตาลและเกลือ จนเกิดเป็นปัญหาโรคแทรกซ้อนตามมา ซึ่งทำให้เสี่ยงเป็นโรคไตได้
จากปัจจัยในการรับประทานอาหารในปัจจุบันเป็นการสะท้อนปัญหาทางสังคม และปัญหาเรื่องโรคไตในเด็กที่มีเพิ่มสูงมากขึ้นจนน่าหวั่นใจ ในหลายๆ โรงพยาบาลพบปัญหาเด็กเป็นโรคไตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม หรือรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไปและไม่ออกกำลังกายจนส่งผลเสียต่อการ ทำงานของไตในเด็กนั่นเอง
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลง่า โดยทั่วไปถ้าหากเราพูดถึงผู้ป่วยโรคไต ส่วนใหญ่จะนึกถึงแต่ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานและโรคความดัน ซึ่งโรคเหล่านี้จะมาพร้อมกับภาวะไตวาย จึงจำเป็นต้องได้รับการฟอกไต และในส่วนใหญ่แล้วประชาชนน้อยคนนัก ที่จะทราบว่าโรคไตก็สามารถเป็นในเด็กได้ ซึ่งถ้าหากไม่รีบรักษาหรือป้องกันก็อาจนำไปสู่สภาวะไตวายระยะสุดท้าย
โดยสาเหตุสำคัญของโรคไตในเด็กเกิดขึ้นกับช่วงอายุของเด็ก สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.โรคไตในเด็กแรกเกิด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของรูปร่างไตตั้งแต่กำเนิด (congenital anomaly of kidneys) การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ (obstructive uropathy) ทำให้เกิดภาวะไตบวมน้ำ (hydronephrosis) สาเหตุของโรคไตในเด็กเล็กมักเป็นจากการติดเชื้อหรือภาวะกรวยไตอักเสบ (pyelonephritis) การไหลย้อนของปัสสาวะไปที่ไต (vesicoureteral reflux)
2.โรคไตสำหรับเด็กโต เกิดจากการอักเสบของไต โดยมาจากโรคภูมิคุ้มกันต่าง ๆ เช่น โรคไตอักเสบเนโฟรติก (nephrotic syndrome) โรคไตอักเสบจากเอสแอลอี (lupus nephritis) โรคไตอักเสบชนิดไอจีเอ (IgA nephropathy) ในส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่พบในเด็กโตได้แก่ ความดันเลือดสูง // โรคเบาหวาน และภาวะอ้วน
อาการของโรคไตในเด็กจะมีความแตกต่างกัน เพราะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคไตด้วย เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูง ปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย มักเป็นจากการติดเชื้อที่ไต ผู้ป่วยที่มีอาการบวม ปัสสาวะเป็นเลือด หอบเหนื่อยและซีดลง อาการเหล่านี้เกิดจากการอักเสบของไต อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เป็นโรคไตบางชนิดมักจะไม่มีอาการ แต่จะตรวจพบโดยบังเอิญ เช่น ตรวจพบไตบวมน้ำระหว่างที่อยู่ในครรภ์มารดา (prenatal hydronephrosis)
การรักษาโรคไตในเด็กจะต้องขึ้นอยู่กับชนิดของโรคไต สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ไต จะต้องเข้ารับการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะหรือการรักษา โดยใช้ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิดเพื่อรักษาการอักเสบของไต เพื่อฆ่าเชื้อที่เกิดขึ้น แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีการอุดกั้นสิ่งของตรงบริเวณทางเดินปัสสาวะหรือ การไหลย้อนของปัสสาวะที่รุนแรง ในกรณีแบบนี้ควรได้รับการผ่าตัดแก้ไขโดยศัลยแพทย์เด็กด้านระบบทางเดิน ปัสสาวะก่อน จึงสามารถรับยาปฏิชีวนะได้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์จะมีความทันสมัยและก้าวหน้าไปมาก แต่โรคไตบางชนิดก็ยังหาสาเหตุของการเกิดโรคไตไม่ได้ อาทิ โรคไตเนโฟรติก โรคไตอักเสบชนิดไอจีเอหรือเอสแอลอี นั่นเอง
ในส่วนของการป้องกันและลดความเสี่ยงสำหรับโรคไตมีดังนี้ (1)โรคอ้วน ความดันเลือดสูงและเบาหวาน มักพบร่วมกันได้ โดยในปัจจุบันเด็กนิยมบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและเกลือสูง ซึ่งทำให้อ้วน ความดันเลือดสูงและมีโรคเบาหวานตามมา เด็กที่มีลักษณะอ้วนท้วนสมบูรณ์มากเกินไป อาจจะยังไม่มีภาวะเหล่านี้ในวัยเด็ก แต่จะเริ่มพบโรคแทรกซ้อนเหล่านี้เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยทำงาน ซึ่งภาวะดังกล่าวสามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมน้ำหนัก ลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม รสหวาน รวมถึงการออกกำลังกายอยู่เสมอ (2)โรคติดเชื้อที่ไต สามารถป้องกันได้ด้วยการไม่กลั้นปัสสาวะ รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำปริมาณที่มากขึ้นเพื่อไม่ให้ท้องผูก เนื่องจากว่าการที่มีท้องผูกเรื้อรัง จะทำให้ระบบการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติไปด้วย อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ไตอีกด้วย
โรคไตหลายชนิดสามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพียงแค่ ไม่กลั้นปัสสาวะมีการ ควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม หวาน มันและหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็จะห่างไกลจากโรคไตของผู้ใหญ่และโรคไตในเด็ก ได้แล้ว แต่สำหรับโรคไตบางชนิดที่ไม่สามารถป้องกันได้ ควรต้องได้รับการตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถควบคุมอาการของโรคไตได้ง่าย
สำหรับในปีนี้สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้เตรียมจัดกิจกรรมงาน “วันไตโลก” (World Kidney Day) และการจัดงานสัปดาห์วันไตโลก ประจำปี 2559 ภายใต้คำขวัญ “โรคไตเป็นได้ตั้งแต่เด็ก รู้แต่เล็กป้องกันได้” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2559 ณ Atrium Zone ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ถนนราชประสงค์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 19.00 น. ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยในปีนี้สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้เน้นการณรงค์โรคไตในเด็กเป็นสำคัญ เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ป่วยเด็กป่วยเป็นโรคไตจำนวนมาก สาเหตุเนื่องจากมีการรับประทานเค็มในเด็กเกินความพอดีอยู่ทั่วประเทศ