สุขภาพจิต

“ชอบขโมยของ” โรคทางจิตที่แปลกแต่จริง

Views

เคยดูข่าวแล้วเกิดความสงสัยกันบ้างไหมคะว่า บางคนรวยมาก มีทรัพย์สินเป็นพันล้าน บางคนเป็นถึงผู้บริหารระดับสูงๆ แต่ยังมีข่าวเรื่องการขโมยของ ซึ่งสิ่งของที่ขโมยนั้นมีมูลค่าเพียงหลักร้อยถึงหลักพันเท่านั้น เป็นเพราะว่าเขาเหล่านั้นอาจมีพฤติกรรมเสี่ยงเป็น โรคชอบขโมยของ ฟังดูชื่อโรคแล้วอาจจะไม่คุ้นหู เป็นโรคที่แปลกและมีอยู่จริง แต่จะมีลักษณะอาการเป็นอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอจะพาไปหาคำตอบกัน


โรคชอบขโมยของ (Kleptomania) คืออะไร?

โรคชอบขโมยของ (Kleptomania) คือ อาการป่วยทางจิตเป็นโรคเป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติทางสมอง  โดยสมองมีการหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) น้อยลง ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ไม่สามารถยับยั้งใจต่อแรงกระตุ้นที่จะลักขโมยได้ผู้ป่วยยังสามารถมีอาการทางจิตอื่นๆร่วมด้วยได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตหวาดระแวง เป็นต้น


ไขข้อข้องใจ สาเหตุอะไร ที่ทำให้เป็นโรคชอบขโมยของ

ผู้ป่วยโรคชอบขโมยของเกิดจากความผิดปกติของการหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมอง จนอาจเสี่ยงเป็นโรคภาวะซึมเศร้า โดยมีสาเหตุดังนี้

พันธุกรรม การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็ก ความเครียด ความวิตกกังวล อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคชอบขโมยของ มีความสุขทุกครั้งที่ได้หยิบฉวยสิ่งของหรือขโมยของจากผู้อื่น เวลาเครียด หรือ มีปัญหา เพียงได้ขโมยของเล็กๆน้อยๆ จะทำให้รู้สึกดีขึ้นมาทันที หลังจากขโมยของไปแล้วจะมีความรู้สึกผิดทางใจ รู้สึกเสียใจทีหลังกับสิ่งที่ทำลงไป ไม่สามารถห้ามใจตัวเองขณะหยิบของได้ วิธีการรักษา


วิธีรักษา โรคชอบขโมยของ

ผู้ป่วยเป็นโรคชอบขโมยของมีวิธีการรักษา แบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้

  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา อธิบายถึงผลเสียของพฤติกรรมการลักขโมย ทำให้ผู้ป่วยตระหนักถึงพฤติกรรมดังกล่าวที่ส่งผลเสียต่อตนเอง
  • ใช้ยาในการบำบัด เพิ่มควบคุมการหลั่งสารเคมีในสมอง โดยสารเพิ่มเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมองช่วยในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ลดความเสี่ยงจากภาวะเครียด ซึมเศร้า อาจเป็นการเพิ่มความรู้สึกให้ผู้ป่วยรู้ถึงผลเสียของการขโมยของ

อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมชอบขโมยของ ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคชอบขโมยของเสมอไป แต่อาจจะเป็นคนที่มีนิสัยขี้ขโมยหรือชอบต่อต้านสังคม ดังนั้น หากคุณพบว่าตัวเองมีพฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคชอบขโมยของ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และรับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของเรา

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ภาพ :iStock

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.sanook.com/

Leave a Reply