ปัจจุบันมีจำนวนผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงวัยเจริญพันธุ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สิ่งนี้ก่อให้เกิดคำถามสำคัญเรื่อง มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ ว่าจะส่งผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ของคุณหรือไม่
อย่างไรก็ตามยังไม่มีคำตอบที่น่าพึงพอใจสำหรับคำถามดังกล่าวว่า มะเร็งเต้านมสามารถส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์และการตั้งครรภ์ของ ผู้หญิงอย่างไร ข้อสรุปสุดท้ายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เเละบทความนี้จะชี้เเจงบางประเด็นที่คุณอาจจำเป็นต้องทราบ
เเต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรตระหนักก็คือ การเป็นมะเร็งเต้านมไม่ได้หมายถึง การเป็นหมัน ที่จะทำให้ตั้งครรภ์ไม่ได้ ดังนั้นหากคุณรักษาโรคมะเร็งเต้านมจนอาการดีขึ้นแล้วและต้องการตั้งครรภ์ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อช่วยให้การดูแลและคำแนะนำในการวางแผนมีบุตรต่อไป
มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้บ้าง
ประเภทของการรักษา
ไม่ใช่การรักษามะเร็งเต้านมทุกประเภท ที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องผ่าตัดเเละฉายรังสีจะยังคงมีบุตรได้ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด ความเสี่ยงของภาวะรังไข่ล้มเหลวเเละการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็วขึ้นจะมีสูงมาก
ประเภทเเละระยะของมะเร็ง
มะเร็งจะรุนเเรงขนาดไหนขึ้นอยู่กับการตรวจพบ เช่นเดียวกับประเภทของมะเร็ง ประเภทเเละความรุนเเรงจะชี้ชัดว่าจำเป็นต้องรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือไม่ จึงส่งผลต่อความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่มีต่อรังไข่ด้วย
ประเภทของเนื้องอกยังส่งผลต่อโอกาสที่จะตั้งครรภ์ของผู้หญิง มีมะเร็งเต้านมเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ไวต่อฮอร์โมน หมายความว่าไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ฮอร์โมน เเละต้องรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเเทน
อายุของผู้ป่วย
อายุของผู้ป่วยเป็นตัวชี้วัดภาวะเจริญพันธุ์ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปีมีเเนวโน้มที่จะมีบุตรยากขึ้น เเละยาเคมีบำบัดจะกระตุ้นการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน สำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
การรักษาภาวะเจริญพันธุ์
ภาวะเจริญพันธุ์ ในที่นี้หมายถึง ความสามารถในการตั้งครรภ์ของผู้หญิง ซึ่งเเม้ว่าความเสี่ยงต่อภาวะเจริญพันธุ์จะขึ้นอยู่กับการรักษามะเร็งเต้านม (โดยเฉพาะการใช้ยาเคมีบำบัด) แต่ก็มีวิธีการที่จะรักษาภาวะเจริญพันธุ์ก่อนการรักษามะเร็ง ที่สร้างความหวังให้กับผู้ป่วยหลายราย
สำหรับวิธีการรักษาที่น่าจะได้ผลที่สุด คือ เเช่เเข็งไข่ด้วยการปฏิสนธิเทียม อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีข้อเสีย คือ อสุจิต้องพร้อมที่จะปฏิสนธิกับไข่ และเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก
อาการกำเริบเเละอันตรายต่อบุตรในครรภ์
อาการกำเริบเป็นคำถามสำคัญ ที่ดึงความสนใจของผู้ที่หายป่วยจากโรคมะเร็งหลายราย เเนะนำว่าควรรอ 2 ปีก่อนจะตั้งครรภ์ เนื่องจากอาการกำเริบที่รุนเเรงที่สุดมักเกิดขึ้นภายใน 2 ปีหลังจากเสร็จสิ้นการรักษา
สำหรับผู้ที่หายป่วยจากโรคมะเร็ง อาจกังวลว่าบุตรของพวกเขาอาจจะเสี่ยงเป็นมะเร็งหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญพบว่าความเสี่ยงดังกล่าวต่ำมาก เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับพันธุกรรมจากบิดาหรือมารดา
อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตว่าการมีปฏิกิริยาระหว่างยีน รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งเเวดล้อมบางอย่างมีผลต่อมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยต้องเเจ้งปัญหาให้เเพทย์ทราบ เพราะถือว่าทุกขั้นตอนในการรักษามีความสำคัญมาก โดยปกติเเล้วนักวิทยาด้านเนื้องอก (oncologist) จะได้รับการฝึกให้เตรียมเเผนการรักษามะเร็งที่ดีที่สุด ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องมีเเผนของตนอย่างชัดเจนก่อนจะปรึกษาเเพทย์
ขอขอบคุณ:hellokhunmor.com