มะเร็งมะเร็งรังไข่รู้ทัน-โรค

ทำไมมะเร็งรังไข่ถึงเรียกว่าภัยเงียบ?

Views

มะเร็งรังไข่มักถูกเรียกว่าภัยเงียบ เนื่องจากมักไม่มีอาการจนกระทั่งโรคมีการดำเนินเข้าสู่ระยะท้าย ผู้หญิงอเมริกันประมาณ 1/3 อาจเกิดมะเร็งไม่ว่าแบบใดแบบหนึ่งในช่วงชีวิตและพบว่ามีประมาณ 1.5% ของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งทั้งหมดที่มีมะเร็งเกิดขึ้นที่รังไข่ 1 หรือ 2 ข้าง

อาการของมะเร็งรังไข่ระยะแรกมักไม่รุนแรง ทำให้สามารถตรวจหาโรคนี้ได้ยาก อาการที่อาจพบในระยะแรก เช่น

  • รู้สึกผิดปกติหรือตึงท้องหรือไม่สบายท้องบริเวณท้องน้อย
  • มีอาการอาหารไม่ย่อย มีลมมาก ท้องอืดโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่ดีขึ้นหลังการใช้ยาลดกรด
  • มีอาการเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • มีเลือดออกผิดปกติ
  • ท้องบวมหรือเจ็บ

ซึ่งอาการเหล่านี้ส่วนมากมักไม่ได้แสดงถึงโรคมะเร็งรังไข่ แต่หากคุณมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ การตรวจพบมะเร็งรังไข่ตั้งแต่ระยะแรกจะมีโอกาสรักษาให้หายได้สูงถึง 90% แต่เนื่องจากโรคนี้ไม่มีอาการที่ชัดเจนทำให้มีผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ถึง 75% ที่จะมีการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่ช่องท้องขณะแล้ว ณ เวลาที่ตรวจพบโรคและผู้ป่วยส่วนมากมักเสียชีวิตภายใน 5 ปี หลังจากนั้น

การวินิจฉัย

มะเร็งรังไข่ที่ไม่มีอาการมักตรวจพบจากการตรวจภายในประจำปี โดยแพทย์จะทำการคลำรังไข่ทั้ง 2 ข้างระหว่างการตรวจทางช่องคลอดและ ทวารหนักเพื่อดูว่ามีถุงน้ำในรังไข่หรือเนื้องอกผังพืดหรือไม่ หากพบความผิดปกติจากการตรวจดังกล่าว จะมีการส่งตรวจเพิ่มเติมเช่นการทำ ultrasound และการเอกซเรย์ช่องอก และหากต้องการการตรวจเพิ่มเติมมากขึ้น อาจต้องใช้การส่องกล้อง

เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่ประกอบด้วยการใช้ ultrasound ร่วมกับการตรวจเลือด การตรวจเลือดอาจพบโปรตีน CA 125 ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบได้ในผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่บางคน การทดสอบเหล่านี้ใช้ได้ดีในการประเมินการโตของมะเร็ง แต่ไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นวิธีการคัดกรองโรคที่เชื่อถือได้ การทำ ultrasound อาจพบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่มากพอในการวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่ ในขณะที่สาร CA125 ก็สามารถพบได้แม้ว่าไม่มีมะเร็ง โดยอาจเกิดจากภาวะอื่น เช่น เนื้องอกพังผืด เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ มีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน การตั้งครรภ์ หรือภาวะอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปัญหาทางนรีเวช

การรักษามะเร็งรังไข่

การรักษามะเร็งรังไข่ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่แล้วการรักษาวิธีแรก คือ การทำหัตถการเพื่อช่วยวินิจฉัยโดยการทำผ่าตัดเพื่อดูระยะการลุกลามโรคและทำการประเมินระยะของโรค ระยะของโรคสามารถแบ่งได้ตั้งแต่ I – IV โดยระยะ I เป็นระยะแรกสุดและ IV เป็นระยะที่ลุกลามมากที่สุด การรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะและลักษณะของโรค โดยพยาธิแพทย์จะเป็นผู้ประเมินระยะการลุกลามของโรค

หลังจากการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่มักจะต้องผ่าตัดตัดมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ในผู้หญิงอายุน้อยที่ยังต้องการมีบุตรและเป็นมะเร็งรังไข่ระยะแรกบางชนิดที่ยังคงอยู่แค่ภายในรังไข่ข้างเดียวอาจสามารถตัดรังไข่เฉพาะข้างที่เป็นโรคออกได้ หลังจากนั้นจะรักษาต่อด้วยการให้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย

คุณมีความเสี่ยงหรือไม่?

หากมีสมาชิกในครอบครัว (แม่ พี่สาวน้องสาว หรือลูกสาว) ที่เป็นมะเร็งรังไข่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น 3 เท่า หรือคิดเป็นความเสี่ยง 5-7% ในการเกิดมะเร็งรังไข่ในอนาคต หากโรคมะเร็งรังไข่นี้มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม ตัวโรคอาจแสดงในช่วงอายุ 10 ปี ก่อนหน้านั้นในคนรุ่นถัดไป (เช่นหากแม่ของคุณเป็นมะเร็งรังไข่เมื่ออายุประมาณ 60 ปี คุณจะมีโอกาสในการเกิดโรคนี้เมื่ออายุประมาณ 50 ปี) ดังนั้นในผู้หญิงที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่อาจมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับพันธุกรรม

ผู้หญิงที่มีประวัติครอบครัวดังกล่าวอาจสามารถเลือกตัดรังไข่ได้ แม้ว่าอาจจะไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้มากถึง 75-90% มีงานวิจัยพบว่าผู้หญิงที่ทางแป้งบริเวณอวัยวะเพศจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่สูงขึ้น 60% และการใช้สเปรย์ดับกลิ่นกายสามารถเพิ่มความเสี่ยงได้เกือบ 2 เท่า

ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดอย่างน้อย 5 ปี จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ลงครึ่งหนึ่งในระยะสั้นหลังใช้หรืออาจตลอดชีวิต ยิ่งใช้ยาคุมกำเนิดนานเท่าไหร่ก็จะยิ่งช่วยลดความเสี่ยงลงได้มากขึ้น การมีลูก 2-3 คนสามารถลดความเสี่ยงได้ประมาณ 30% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์หรือคลอดบุตร และการมีบุตรมากกว่า 5 คนก็สามารถลดความเสี่ยงได้มากถึง 50% การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะสามารถลดความเสี่ยงได้มากขึ้น การทำหมันจะช่วยลดความเสี่ยงได้มากถึง 70%

ควรระลึกไว้ว่าวิธีในการตรวจพบมะเร็งรังไข่ที่ดีที่สุดก็คือการตรวจภายในประจำปี คุณควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อทำ Papsmear (การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก) และตรวจทางช่องคลอดและทวารหนัก หรือตรวจด้วยวิธีที่แพทย์คิดว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.honestdocs.co

Leave a Reply