ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ติดต่อว่องไว บางคราวระบาดทั่วเมืองหรือทั่วโลก พอล้มเจ็บก็เป็นไข้ตัวร้อนทันที มีอาการอ่อนเพลีย เจ็บปวดตามสันหลังและแขนขา ตาแดงจากการอักเสบ ซึ่งโดยปกติจะหายได้เองภายใน ไม่กี่วัน ตามปกติแล้วไข้หวัดใหญ่จะไม่มีอันตรายมาก แต่หากมีการติดโรคแทรกซ้อนก็อาจจะเกิดอันตรายร้ายแรงได้เช่นกัน
พระองค์เจ้าจรูญโรจน์ เรืองศรี ได้เขียนไว้ในหนังสือวชิรญาณ หลายสิบปีมาแล้ว ทรงอธิบายว่า คนเป็นหวัดกันมากในฤดูฝนหรือฤดูวัสส์ คนโบราณจึงเรียก ว่าเป็นวัสส์ คือเป็นการเจ็บป่วยที่เกิดประจำในฤดูวัสส์
ดังนั้นคำว่า ไข้หวัด ที่เราใช้กันในปัจจุบันนั้น เป็น การผิดเพี้ยนมาจากคำว่า ไข้วัสส์ ในอดีตนั่นเอง ซึ่งเป็นการเขียนตามเสียง มิใช่การเขียนตามตัวสะกด
การแพทย์แผนไทยได้ระบุจุดที่ใช้กดเพื่อป้องกันและรักษาไข้หวัดอย่างได้ผลไว้ดังนี้คือ
1. จุดบริเวณโคนนิ้วชี้และโคนนิ้วหัวแม่มือ
2. จุดบริเวณตรงข้อมือด้านหน้าระดับหัวแม่มือลงมา
3. จุดบริเวณข้อแรกของปลายนิ้วนางและปลายนิ้วชี้
4. จุดบริเวณโคนเล็บนิ้วชี้ด้านนิ้วหัวแม่มือ
5. จุดบริเวณรอยพับโคนนิ้วก้อยที่ติดกับฝ่ามือ
6. จุดบริเวณตรงกลางข้อมือ (ด้านหลังมือ)
ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: นิตยสารหมอชาวบ้าน
เล่มที่: 364เดือน/ปี: สิงหาคม 2552
คอลัมน์: นวดไทย
นักเขียนหมอชาวบ้าน: พิศิษฐ เบญจมงคงวารี
ข้อมูลจาก : https://www.doctor.or.th