อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง หมายถึง แรงดันที่อยู่ในระบบหลอดเลือด เกิดจากการที่หัวใจต้องสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การวัดความดันโลหิต จึงเป็นการวัดการทำงานของหัวใจและแรงดันในหลอดเลือด ค่าที่วัดได้จะมี 2 ค่า คือ
ค่าความดันสูงสุด เป็นค่าที่เกิดขณะที่หัวใจห้องซ้ายมายังหลอดเลือดแดงใหญ่เรียกว่า “ความดันโลหิตตัวบน”
ค่าความดันต่ำสุด เป็นค่าที่เกิดขณะที่หัวใจคลายตัว ให้เลือดที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่หัวใจห้องขวา เรียกว่า “ค่าความดันโลหิต ตัวล่าง”
ค่าความดันทั้งสองตัวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ตามเพศ, ภาวะการเจ็บป่วย, อายุ, ความเครียด, เชื้อชาติ, น้ำหนัก
ค่าความดันที่ถือว่าเป็นปกติ 120 / 180 มิลลิเมตร / ปรอท ถ้าความดันสูงกว่า 160 / 95 มิลลิเมตร / ปรอท จัดว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
1. จำกัดปริมาณเกลือที่รับประทาน
2. จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 30 มิลลิลิตร ในผู้ชาย และไม่เกิน 15 มิลลิลิตรในผู้หญิง
– เบียร์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 360 มิลลิลิตร
– ไวน์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 120 มิลลิลิตร
– วิสกี้ (80%) มีปริมาณแอลกอฮอล์ 45 มิลลิลิตร
3. ควบคุมน้ำหนักตัวโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยเพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้และอาหารไขมันต่ำ
4. ควรออกกลำลังกายสม่ำเสมอ
อาหารกับโรคความดันโลหิตสูง
อาหารที่ควรรับประทาน
– อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น เต้าหู้ ผักใบเขียว
– นมพร่องมันเยน เช่น โยเกิร์ตไขมันต่ำ
– ผักสดทุกชนิด เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว
– ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลืองน้ำมันงา น้ำมันดอกคำฝอย
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
– อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม ควรงดการเติมเครื่องปรุงรส เช่น ผงชูรส ผงฟู
– อาหารหมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว กะปิ ปลาเค็ม
– อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูแฮม
– ไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าวน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู
ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรสต่างๆ
ชื่อ | ปริมาณ 1 ส่วน | โซเดีย (มก.) |
เกลือ | 1 ชช. | 2,000 |
น้ำปลา | 1 ชช. | 500 |
ผงชูรส | 1 ชช. | 490 |
ผงฟู | 1 ชช. | 400 |
ซอสหอยนางรม | 1 ชต. | 450 |
น้ำจิ้มสุกี้ | 1 ชต. | 280 |
ซอสพริก | 1 ชต. | 220 |
ตัวอย่างอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ที่รับประทานต่อวัน
กลุ่มอาหาร | ปริมาณส่วน/วัน | ปริมาณต่อ 1 ส่วน |
ข้าว–แป้ง | 6 – 11 ส่วน | – ขนมปัง 1 แผ่น- ข้าวสวย 1 ทัพพี |
ผัก | 3 – 5 ส่วน | – ผักสด 2 ทัพพี- ผักสุก 1 ทัพพี |
ผลไม้ | 2 – 4 ส่วน | ผลไม้สด ½ ถ้วยตวง |
เนื้อสัตว์ | 2 – 3 ส่วน | – เนื้อสัตว์สุก 30 กรัม- เนื้อสัตว์สุก 2 ช้อนกินข้าว |
นม | 2 – 3 ส่วน | – นม 240 ซีซี- โยเกิร์ต 1 ถ้วย |
ไขมัน–น้ำมัน | 2 – 3 ส่วน | – น้ำมันพืช 1 ช้อนชา- เนย 1 ช้อนชา- กะทิ 1 ช้อนโต๊ะ |
น้ำตาล | ไม่เกิน 6 ส่วน | – น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา- น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา- แยม 1 ช้อนโต๊ะ |