โรคเหน็บชา คือโรคอะไร มีอาการของโรคอย่างไร สาเหตุการเกิดโรคคืออะไร การรักษาโรคทำอย่างไร การป้องกันการเกิดโรคทำได้ไหม บทความนี้จะนำข้อมูลมาเสนอให้ทราบกัน
โรคเหน็บชา ( Beriberi ) คือ ภาวะการเกิดอาการชา และ เหมือนมีเข็มจำนวนมากจิ้ม เป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ทั่วไปเกิดได้กับทุกคน สาเหตุของโรคเกิดจากการขาดวิตามินบี1 โดยมีโอกาสพบได้ทั้งเด็กผู้ใหญ่และคนชรา ทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนมากจะพบโรคนี้ในชุมชนที่ห่างไกลความเจริญ จนถึงพื้อที่ขาดแคลน ขาดความรู้เรื่องโภชนาการ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหารต่างๆ เช่น วิตามินบี1 หรือ Vitamin B1 อีกชื่อหนึ่งคือ ไทอะมีน หรือ Thiamine ถ้าหากขาดวิตามินนี้แล้วจะส่งผลต่อร่างกายเกี่ยวข้องกับระบบประสาทในการรับส่งสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์ประสาท โดยวิตามินบี1 เป็นตัวเร่งกระแสประสาทการรับรู้ความรู้สึก จากเซลล์รับรู้ความรู้สึก สู่เซลล์ประสาทเพื่อเชื่อมต่อไปยังสมอง เมื่อขาดวิตามินบี1 จะทำให้การรับรู้ได้น้อยลง จึงทำให้เกิดความรู้สึกชา หรืออาการชา เกิดขึ้นได้
โรคเหน็บชา ตามความเข้าใจที่ผ่านมาอาจจะคิดว่าโรคนี้ จะพบในผู้ที่ร่างกายซูบผอม เพราะไม่ได้รับประทานอาหารปกติ แต่จากความเป็นจริงคนที่ร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ เนื่องจากการบริโภคมากแต่สารอาหารไม่ครบก็ทำให้ร่างกายสะสมแต่ไขมัน แต่การเผาพลาญอาหารลดลงได้ โดยการที่ขาดวิตามินบี1 นั้น ทำให้การเผาพลานคาร์โบไฮเดรต และสารอาหารอื่นๆลดลง
ดังนั้น โรคเหน็บชาก็สามารถพบได้ในคนอ้วนได้เช่นกัน ความเข้าใจเรื่องผอมแล้วเป็นโรคเหน็บชาจึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ความแตกต่างระหว่างอาการชาและอาการเหน็บ
อาการสองอย่างนี้มีความแตกต่างกัน แต่มักเกิดร่วมกันหรือเกิดแยกกันได้ แล้วแต่สิ่งเร้าและสภาพร่างกายผู้ป่วย อาการชาเกิดจากการที่ร่างกายขาดความรู้สึกการสัมผัส ส่วนใดส่วนหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่ง แล้วแต่สิ่งเร้าที่ได้รับ เช่น ชาจากการสัมผัส ตามปลายมือ ปลายเท้า ชาต่อความเย็นเมื่อสัมผัสความเย็นเป็นเวลานาน ชาที่ขาที่แขนเมื่อถูกกดทับนานๆ ส่วนอาการเหน็บจะเริ่มต้นมาจากอาการชา แต่จะมีความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นมา เช่นอาการเหน็บที่ขา เกิดความเจ็บปวดไม่สามารถยืดได้ ลุกเดินไม่ได้ ปวดมาก ผู้ที่ป่วยโรคเหน็บชาจะพบอาการต่างๆเหล่านี้บ่อยกว่าคนทั่วไปหลายเท่า ทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการดำรงชีวิต แต่โรคเหน็บชาไม่ได้เป็นโรคที่รุนแรงจนถึงชีวิตเพียงแต่เป็นโรคที่ทุกทนทรมาน
สาเหตุการเกิดโรคเหน็บชา
- การที่ร่างกานขาดวิตามินบี1 โดยทั่วไปวิตามินบี1 พบได้ในข้าวกล้อง เนื่องจากในปัจจุบันข้าวที่ขายอยู่ทั่วไปจะผ่านกระบวนการสีที่เริ่มจากการกระเทาะเปลือก การแยกเปลือกกับเมล็ด กระบวนการขัดเพื่อให้เยื่อที่แยกระหว่าเปลือกกับเมล็ดออกจากกัน จะได้เป็นเมล็ดข้าวสีขาวที่คนนิยมบริโภคกัน โดยกระบวนการนี้จะทำให้จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดหลุดออกไป แต่ในจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดนี้มีวิตามินต่างๆและสารอาหารอื่นอยู่มาก รวมทั้งวิตามินบี1 ด้วย ส่วนเมล็ดที่เป็นสีขาวล้วนๆจะมีเฉพาะแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต ซึ่งก็มีประโยชน์เฉพาะเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายแต่ไม่มีสารอาการอื่นเลย ทางที่ดีผู้ที่บริโภคข้าวเป็นประจำควรเลือกบริโภคข้าวกล้อง หรือ ข้าวขัดสีบางส่วน ข้าวที่มีจมูกข้าว หรือ การผสมระหว่างข้าวขาวและข้าวกล้องก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งจะทำให้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชาลดลงอีกด้วย
- ร่างกายเปลี่ยนแปลงสภาพภายในต่างๆ เช่น การที่ตั้งครรภ์ การทำงานหนัก การป่วยไข้ การติดเชื่อต่างๆ สภาวะเหล่านี้มักจะเป็นตัวเร่งการเผาพลาญพลังงานและความต้องการใช้วิตามินบี1 มักจะเพิ่มตาม เมื่อร่างกายต้องการวิตามินบี1 มากยิ่งขึ้นแต่ไม่ได้ตามความต้องการจะทำให้เกิดสภาวะการขาดวิตามินบี1 และทำให้เป็นโรคเหน็บชาได้ในที่สุด
- พันธุกรรม พบรายงานว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ คนที่ป่วยมักจะมีร่างกายที่ต้องการวิตามินบี1 มากกว่าคนทั่วไปและทำให้เป็นโรคเหน็บชาได้ง่ายกว่าคนที่ไม่ได้มีพันธุกรรม
- ผลกระทบจากการผ่าตัด เช่น ผู้ที่ผ่าการผ่าตัดทางเดินอาหาร ผู้ผ่าตัดลำไส้ ทำให้การรับสารอาหารไม่ได้ตามปกติ จะมีโอกาสป่วยโรคเหน็บชา มากยิ่งขึ้น
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และต้องรับการฟอกไต มักจะพบอาการของโรคเหน็บชา ได้มากกว่าคนทั่วไป
- ผู้ติดสุรา หรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง พบว่าจะมีความบกพร่องต่อการดูดซึมวิตามินบี1 หรือการไม่รับประทานอาหาร หรือรับประทานน้อยลง ทำให้โอกาสได้รับวิตามินบี1 ลดลงด้วยจึงมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเหน็บชา มากยิ่งขึ้น
- อาหารหมักดองบางชนิดมีผลต่อการดูดซึมวิตามิน เช่น อาหารพวกปลาที่ผ่านกระบวนการหมักดอง ปลาร้า ปลาส้ม รวมทั้งอาหารดิบต่างๆ เช่น แหนมดิบ หอยดิบ ปลาน้ำจืดดิบ
- การให้นมลูกอ่อน เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มักมีความเสี่ยงอยู่แล้ว การให้นมก็จะยิ่งเร่งการเผาพลาญและความต้องการวิตามินบี1 เพิ่มขึ้นอีกมาก
- ในเด็กทารกก็มีโอกาสเสี่ยงเช่นกันเนื่องจากในน้ำนมไม่มีวิตามินบี 1 ควรมีการเสริมวิตามินบี1 ให้ทารกด้วย
- การใช้แรงงานหนัก หรือ บุคคลที่ต้องออกแรงมากๆ เช่นนักกีฬา กรรมกร ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ชาวประมง เพราะบุคคลเหล่านี้จะมีการเผาพลาญพลังงานที่มากกว่าปกติ
- ผู้ที่อายุมากจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยเพราะไม่มีกิจกรรมให้ทำมาก ความเสี่ยงต่อการกดทับอวัยวะมากขึ้นรวมถึงความสามารถในการดูดซึมวิตามินบี1 ลดลง จึงป่วยเป็นโรคเหน็บชาได้ง่าย
- ผู้ป่วยโรคตับ ส่วมากจะมีสาเหตุมาจากการดื่มสุรามาก หรือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เพราะเมื่อร่างกายดูดซึมวิตามินบี1 เข้าสู่ร่างกายแล้วตับจะทำหน้าแปรสภาพให้อยู่ในรูปที่ร่างกายนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ แต่เมื่อตับไม่อยู่ในสภาพปกติจะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำวิตามินบี1 ที่ได้รับไปใช้ได้ จึงทำให้เป็นโรคเหน็บชา
อาการโรคเหน็บชา
- โรคเหน็บชาที่พบในเด็ก หรือ Infantile beriberi อาการนี้จะพบได้ในเด็กอ่อนพึ่งเกิดไม่เกิน 6 เดือน เนื่องจากเด็กยังเล็กมากไม่สามารถบอกความเจ็บปวดแก่มารดาให้ทราบได้ ทำให้เด็กที่ป่วย โรคเหน็บชา มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต สาเหตุหลักก็เกิดจากการที่ไม่ได้รับวิตามินบี1 จากมารดา เพราะในน้ำนมนั้นไม่มีวิตามินบี1 และจากการที่มารดางดทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี1 จึงทำให้เด็กทารกไม่ได้รับวิตามินบี1 ไปด้วย หากเด็กเกิดอาการตัวเขียว ซึม ร้องไม่มีเสียง เสียงร้องผิดปกติ ขาบวม หายใจหอบ หน้าเขียว แสดงว่าเด็กเกิดอาการเจ็บปวดเป็นอย่างมาก แต่ไม่สามารถพูดได้ ต้องรีบเข้ารับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
- โรคเหน็บชาที่พบในผู้ใหญ่ หรือ Adult beriberi เป็นอาการที่มีความเจ็บปวด โดยระยะแรกๆจะรู้สึกชา มีอาการอ่อนเพลีย หมดแรง ไม่อยากอาหาร เหนื่อยง่าย ไม่อยากทำอะไร และระยะต่อมาจะมีอาการชามากขึ้นๆ และชาตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า มีอาการแสบแปลก เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดมากเป็นตะคริวไม่สามารถขยับแขนขาได้ ลุกไม่ได้ เมื่อขยับจะปวดกล้ามเนื้อรุนแรง หากปล่อยให้เป็นมากๆโดยไม่รักษามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต จะต้องรีบเข้ารับการรักษาติดตามอาการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งผู้ที่ติดสุราเรื้อรังจะต้องทำการรักษาที่ต้นเหตุก่อนคือการเลิกสุรา โดยจะต้องเข้ารับการบำบัดอย่างถูกวิธีเพื่อฟื้นฟูตับ และลดความเสี่ยงต่อการกลับไปติดสุราอีกครั้งด้วย
- โรคเหน็บชาชนิดที่แสดงอาการผอมแห้ง หรือ Dry beriberi โรคนี้ผู้ป่วยจะสูบผอมมาก โดยจะเห็นได้ชัดเจนผอมจนเห็นกระดูกซีกโครง อาการส่วนมากคือชาตามปลายมือปลายเท้า แขนขาอ่อนแรงจากการขาดสารอาหารรุนแรง รวมทั้งวิตามินบี1 ไม่สามารถเดินได้ถนัดเพราะระบบประสาทถูกทำลาย มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต บุคลิกภาพเป็นอย่างมาก
- โรคเหน็บชาอ้วนหรือ อีกชื่อคือชนิดเปียก Wet beriberi โรคนี้ค่อนข้างรุนแรงเพราะมีอาการทางหัวใจร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการชาตามมือและเท้า ร่วมกับภาวะทางหัวใจคือใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หัวใจโต หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที จะทำให้เสียชีวิตได้ ถือว่าเป็นชนิดที่รุนแรง
- โรคเหน็บชาจากสุราเรื้อรัง ร่วมกับอาการทางจิต หรือ Wernicke-Korsakoff syndrome พบในผู้ติดสุราเรื้อรัง มีอาการที่พบคือ เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ เดินเซทรงตัวไม่ได้ การมองเห็นบกพร่อง เกิดอาการโคม่า และภาวะหัวใจล้มเหลียว จนเสียชีวิตในที่สุด
การตรวจวินิจฉัยโรคเหน็บชา
- การทดสอบระบบประสาทโดยการให้ผู้ป่วยนั่งยองๆ หากไม่สามารถทำได้แสดงว่าเป็นโรคเหน็บชา ที่อาการเข้าขั้นรุนแรง
- การตรวจการตอบสนองของระบบประสาทหรือรีเฟล็กซ์ของร่างกาย ผู้ป่วยจะมีการตอบสนองช้ากว่าคนทั่วไป หรือหากรุนแรงอาจจะไม่มีการตอบสนองเลย
- การตรวจหัวใจ การหายใจ หารเต้นของของหัวใจ อาการตับโต หากเต้นมากกว่า130 ครั้งต่อนาทีให้ต้องสงสัยเอาไว้ก่อน
การรักษาโรคเหน็บชา
- การรักษาตามต้นเหตุของการป่วย เช่น ในผู้ป่วยโรคติดสุราเรื้อรังจะให้ทำการบำบัดเพื่อเลิกสุราและการเสริมวิตามินบี1 ร่วมด้วย ปริมาตร 100 มิลลิกรัมต่อวัน เมื่ออาการดีขึ้น จะมีการให้รับประทานวิตามินบี1 ต่อเนื่อง ขนาด 10 มิลลิกรัมต่อวัน และสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ เพื่อประคองอาการและร่วมกับการฉีดวิตามินบี1 25-50 มิลลิกรัม
- ในรายที่อาการไม่มากนัก จะให้รับประทานวิตามินบี 1 โดยจะแนะนำอาหารที่มีวิตามินบี 1 และอธิบายทำความเข้าใจให้ปรับพฤติกรรมการกิน ให้เลือกข้าวกล้อง แทนข้าวขาว
การป้องกันโรคเหน็บชา
- การเลิกดื่มสุรา ในรายที่ติดสุราเรื้อรังจะต้องเข้ารับการบำบัดอย่างถูกวิธี เพื่อลดคามเสี่ยงการกลับมาดื่มสุราอีกครั้ง ทั้งนี้ครอบครัวและคนใกล้ชิดเป็นกำลังใจที่สำคัญให้ผู้ป่วยสามารถเลิกขาดได้
- การเลือกรับประทานข้าวกล้อง การเปลี่ยนพฤติกรรมการกินโดยการเพิ่มข้าวกล้องแทนข้าวขาว หรือข้าวขัดสี เพราะในลำข้าว เยื่อหุ้มข้าว จมูกข้าว อุดมไปด้วยสารอาหารรวมทั้งวิตามินบี1 อย่างมาก หากทำไม่ได้ในช่วงแรกให้ผสมกับข้าวขาวและค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้น จนสามารถบริโภคได้ปกติ
- ลดอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมวิตามินบี1 เช่นของหมักของดอง ของดิบต่างๆ รวมทั้งชา กาแฟ อาหารต่างๆเหล่านี้มีผลต่อการดูดซึมวิตามินบี1 หากเป็นไปได้ให้ลดลงหรือเลิกบริโภคได้จะมีผลดีต่อร่างกายเป็นอย่างมาก
- ในเด็กอ่อนมารดาจะต้องสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิดเพราะเด็กไม่สามารถพูดได้ หากเกิดอาการผิดปกติตามที่กล่าวมาจะต้องรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพราะอันตรายเป็นอย่างมาก
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นธัญพืชต่างๆ ถั่ว ผัก ผลไม้ เพราะในสิ่งเหล่านี้มีวิตามินแร่ธาจุต่างๆมากมาย
ขอบคุณข้อมูลจาก https://lungwee.com/