โรคไส้เลื่อน ( Hernia ) คือ ภาวะความผิดปรกติของลำไส้ โดยลำไส้เคลื่อนตัวไปอยู่ตรงพื้นี่อื่นในช่องท้อง เกิดจากสาเหตุหลายสาเหตุ โดยมากเกิดกับผู้ชาย ความอันตรายของโรคไส้เลื่อน คือ การเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือด ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง จนลำไส้เน่าได้ โรคระบบทางเดินอาหาร
โรคไส้เลื่อน คือโรคที่อัตรายไหม พบมากในเพศใด สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคคืออะไร การรักษาทำอย่างไร ป้องกันการเกิดโรคอย่างไร บทความนี้จะนำความรู้มาให้ทราบ
โรคไส้เลื่อน ( Hernia ) คือ ภาวะความผิดปรกติของลำไส้ โดยลำไส้เคลื่อนตัวไปอยู่ตรงพื้นี่อื่นในช่องท้อง เกิดจากสาเหตุหลายสาเหตุ โดยมากเกิดกับผู้ชาย ความอันตรายของโรคไส้เลื่อน คือ การเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือด ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง จนลำไส้เน่าได้ โรคระบบทางเดินอาหาร
โรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในโดยเฉพาะลำไส้เล็ก จะพบบ่อยมาก เกิดจาก การเคลื่อนตำแหน่งขอลำไส้เล็ก จากที่ปกติไปอีกที่หนึ่ง โดยมี เนื้อเยื่อ หรือ พังพืด หุ้มไว้ อยู่ทำให้เกิด อาการนูนโป่งเป็นตุ่มเนื้อ นอกร่างกายเห็นได้ชัด โดยมากจะ รักษาโดยการผ่าตัด
การเกิดไส้เลื่อน สามารถเกิดได้หลายตำแหน่ง ได้แก่ ตรงขาหนีบ พบมากในชาย มากกว่า หญิง ตรงสะดือ พบมากใน เด็กหญิง มากกว่า ชาย ที่เราเรียกว่า สะดือจุ่น ไส้เลื่อนกระบังลม ไส้เลื่อนเชิงกราน พบใน หญิง มากกว่า ชาย ไส้เลื่อนภายหลังการผ่าตัด พบมากใน ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดช่องท้อง
สาเหตุการเกิดโรคไส้เลื่อน
- ความผิดปกติแต่กำเนิด เด็กบางรายที่ คลอดก่อนกำหนด มักมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้
- อายุ เมื่อ อายุมากขึ้น กล้ามเนื้อมักอ่อนแรงลง ทำให้เกิด การเคลื่อนที่ของลำไส้เล็ก ได้
- ลักษณะทางกายวิภาค เนื่องจาก เพศหญิง จะมี พื้นที่บริเวณเชิงกราม มากกว่า เพศชาย ทำให้มี โอกาสของการเกิด ไส้เลื่อนเชิงกราม มากกว่า เพศชาย 8 เท่าตัว
- กระบังลมเสื่อน เนื่องจาก เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อกระบังลมจะหย่อนยานลง ทำให้ ความดันในช่องท้องมากกว่าปกติ ดันให้ลำไส้เคลื่อนที่ ได้
- กล้ามเนื้อช่องท้องหย่อนยาน หรือ ไม่แข็งแรง พบมากในผู้สูงอายุ
- แผลจาก การผ่าตัดช่องท้อง ทำให้กล้ามเนื้อ และ พังผืด บริเวณแผลอ่อนแอกว่าบริเวณอื่น เมื่อ เกิดความดันในช่องท้อง ก็สามารถดันให้ไส้ออกมาทางนั้นได้
อาการโรคไส้เลื่อน
- คลำเจอก้อนไส้เลื่อน ทั้งขาหนีบ ลุกอัณฑะ สะดือ หน้าท้อง ข้างหน้าท้อ แผลหลังผ่าตัด
- อาการปวดแบบหน่วงๆ
- อาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ไม่ถ่ายอุจจาระ
- ไม่มีแก๊ส หรือ ไม่ผายลม
- ลำไส้ จะถูดบีบรัดทำให้ ไม่มีเลือดไปเลี้ยง และ กลายเป็นเนื้อตาย หากไม่ผ่าตัดจะทำให้เกิด การติดเชื้อที่เนื้อตาย และแพร่เข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้เสียชีวิตได้
- อาการชา เนื่องจาก ไส้เคลื่อนที่ไป กดทับเส้นประสาท
- อาการกรดไหลย้อน ในผู้ป่วยใส่เลื่อนกระบังลม เรอบ่อย เหม็นเปรี้ยว
- อาการจุก แน่นหน้าอก
การตรวจโรคไส้เลื่อน
- ตรวจประวัติการรักษา
- ตรวจร่างกายทั่วไป สอบถามอาการ
- ตรวจก้อนไส้เลื่อน โดยการคลำ พิจารณาว่าเป็นแบบติดคาหรือไม่
- ทำอัลตราซาว์
- เอกซ์เรย์ช่องท้อง ทรวงอก
- ส่องกล่อง
การรักษาโรคไส้เลื่อน
- โดย การผ่าตัด ดันให้ไส้กลับไปอยู่ตำแหน่งเดิม และ ปิดรูที่ไส้เคลื่อนออกมา
- เสริมสร้าง ความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ผังผืด หลังการผ่าตัด
- หากเป็น ไส้เลื่อนแบบติดคา ต้องเข้ารับ การผ่าตัดด่วม ก่อนจะกลายเป็น เนื้อตาย ลดความเสี่ยงจาก การติดเชื้อแพร่เข้าสู่กระแสเลือด
- การให้ยาแก้ปวด เพื่อ ลดอาการปวด และ ยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อ ง่ายต่อการดันไส้กลับไปตำแหน่งเดิม
- หากมีอาการไม่มาก จะเน้นการปรับพฤติกรรม เพื่อ ลดอาการปวด
การดูแลและป้องกันโรคไส้เลื่อน
- ไม่ยกของหนัก
- ไม่เบ่งอุจจาระมาก
- ไม่ใส่เข็มขัดแน่นเกินไป
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์มาตรฐาน
- งดสุรา
- งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- งดอาหารรสจัด
- งดอาหารมัน
- ไม่รับประทานมากไป ให้ทานแค่พออิ่ม
- งดการสูบบุหรี่
- เมื่อคลำเจอก้อนผิดปกติให้รีบพบแพทย์
- หากมีอาการต่างๆตามที่กล่าวมาให้รีบพบแพทย์โดยด่วน
ขอบคุณข้อมูลจาก https://lungwee.com/