กรดไหลย้อนภูมิคุ้มกันโรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะและกรดไหลย้อน หนึ่งในออฟฟิศซินโดรมที่คุณควรป้องกัน !

Views

เราหลาย ๆ คน อาจจะคุ้นเคยกับสภาวะเร่งรีบในสังคมเมืองปัจจุบัน ที่ในแต่ละวันจะเริ่มต้นตั้งแต่รีบตื่นนอนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหารถติด แถมยังต้องรีบรับประทานมื้อเช้ากันแบบเร่งด่วน เพื่อที่จะเข้าทำงานให้ทันเวลา รวมไปถึงในมื้ออาหารอื่น ๆ ที่เราอาจบริโภคกันตรงเวลาบ้างไม่ตรงเวลาบ้าง เนื่องจากการทำงานหรือการประชุมติดพัน ซึ่งชีวิตเร่งรีบแบบนี้ จึงทำให้เรามีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อร่างกายและทำให้เกิด สภาวะเจ็บป่วยได้ง่าย และที่พบได้บ่อยก็คือ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน และอาการอื่น ๆ ที่พบบ่อย คือ อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น หลังจากรับประทานอาหาร ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เกิดจากสภาวะเร่งรีบ รวมทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง

สิ่งเหล่านี้ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ล้วนแล้วแต่อยู่ในหมวดหมู่ของกลุ่มอาการของ โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งเป็นอาการที่ส่งผลเสียทำให้เราเจ็บป่วย ไม่สบายตัว และเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

เมื่อเราทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ทางที่ดีคือการรู้จักวิธีรักษาตัวเองในเบื้องต้น คือ รู้จักสังเกตอาการของตัวเองว่าเป็นอย่างไร มีสภาวะที่ผิดปกติอะไรบ้าง หรือควรหาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่อยู่ใกล้ตัวเรา เช่น สมุนไพรพื้นฐาน ซึ่งหาได้ง่ายและสามารถช่วยรักษาและป้องกันอาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ ดังนั้น เราควรมาทำความรู้จักกับตัวการสำคัญที่จะกล่าวถึง คือ โรคกระเพาะอาหาร และโรคกรดไหลย้อนก่อนว่ามันคืออะไร และมีลักษณะอาการอย่างไร ? และเราสามารถจะรับมือ ป้องกัน และรักษากันได้อย่างไรบ้าง 

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร คือ ภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ถูกทำลาย ถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะแต่ก็สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะและลำไส้ เพราะน้ำกรดหรือน้ำย่อยในทางเดินอาหารของเราได้หลั่งออกมามากเกินความจำเป็น ส่งผลทำให้ไปกัดกร่อนหรือทำลายเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในทางเดินอาหารของเรา และสาเหตุที่ทำให้มีน้ำกรดหรือน้ำย่อยออกมามากเกินนั้น ก็มีสาเหตุมาจากหลาย ๆ ปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เกิดจาก พฤติกรรมของเราเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่

  • การถูกกระตุ้นของระบบปลายประสาท ซึ่งเกิดจากความเครียดหรือวิตกกังวล
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
  • ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (Caffeine) เพราะสารชนิดนี้จะมีผลกระตุ้นทำให้กรดหลั่งออกมามาก
  • การสูบบุหรี่ก็มีผลกระตุ้นทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามากด้วยเช่นกัน
  • การกินอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้น้ำกรดในร่างกายมีสภาวะสับสน และทำให้น้ำกรดหลั่งออกมาไม่ถูกเวลา จึงส่งผลกระทบกัดกร่อน เนื้อเยื่อในทางเดินอาหารได้
  • นอกจากพฤติกรรมดังกล่าวยังมีอีกหลายปัจจัยปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะได้ เช่น การเลือกรับประทานยาที่มีฤทธิ์กัดหรือทำลายเนื้อเยื่อทางเดินอาหาร การมีโรคประจำตัว เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ ที่ส่งผลกระตุ้นน้ำกรดหลั่งออกมาได้เช่นกัน หรือเกิดจากสภาวะติดชื้อในทางเดินอารหาร (Helicobacter pylori) ซึ่งสาเหตุที่ก่าวมานี้ล้วนส่งผลให้เนื้อเยื่อทางเดินอาหารของเราถูกทำลายได้ทั้งนั้น

อาการของโรคกระเพาะ

  1. ปวดท้อง ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ
    • ปวดตรงบริเวณกลางท้อง เหนือสะดือ หรือบริเวณใต้ลิ้มปี่ (เพราะตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งของกระเพาะอาหาร) รวมทั้งมีอาการของ ปวดแบบจุกเสียด แสบร้อน จนบางครั้งผู้ป่วยจะต้องงอตัวเพื่อบรรเทาอาการปวด ซึ่งอาการแบบนี้จะเป็นอยู่แบบเป็น ๆ หาย ๆ
    • อาการปวดจะสัมพันธ์กับอาหารและเวลา เช่น เมื่อหิวก็ปวด อิ่มก็ปวด แต่ในบางรายอาจมีอาการปวดในช่วงกลางคืนได้ด้วย
  2. จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน
  3. อาการโรคแทรกซ้อนที่พบ ได้แก่
    • อาเจียนหรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น
    • ปวดท้องรุนแรงและช็อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ
    • ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดตันของกระเพาะอาหาร
    • บางรายไม่มีความสัมพันธ์หรือแสดงอาการอะไร แต่มีภาวะน้ำหนักตัวลด เบื่ออาหาร แน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียนบ่อย ๆ ตลอดเวลา และเมื่อไปรักษาก็มักจะพบว่ามีแผลในกระเพาะหรือเนื้อเยื่อให้ทางเดินอาหารที่ใหญ่มาก ดังนั้นเราไม่ควรให้อาการแบบนี้เกิดขึ้น

โรคกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease – GERD) คือ ภาวะที่มีน้ำย่อย หรือ น้ำกรดในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารจนส่งผลให้มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ คือ

  1. ระคายเคืองบริเวณลำคอ ทำให้บางคนมีเสียงแหบ เสียวฟัน เรอเปรี้ยว กลืนน้ำลายติดขัด หรือเหมือนมีอะไรมาจุกอยู่บริเวณลำคอ หรือมีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่เกิดจากน้ำกรดในร่างกายของเราไหลย้อนกลับขึ้นไปนั่นเอง
  2. แสบร้อนบริเวณหน้าอก หรือจุกเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก คล้ายๆ กับแน่นหน้าอก เหมือนคนเป็นโรคหัวใจ
  3. จุก เสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ซึ่งจะมีอาการจะคล้ายกับคนเป็นโรคกระเพาะอาหาร

อาการที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นมีสาเหตุหลักที่เกี่ยวข้องมาจากความผิดปกติในการทำหน้าที่ของหูรูดหลอดอาหาร จนมีผลทำให้น้ำกรด ซึ่งควรจะลงไปในกระเพาะอาหาร แต่กลับไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารอีกครั้ง ซึ่งอาจจะมาจากการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างโดยที่ไม่มีการกลืน หรือมาจากความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลง จนไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้องและการบีบตัวของกระเพาะอาหารได้ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือนาน ๆ ครั้งจะเป็น แต่บางคนก็อาจจะเป็นได้ตลอดเวลาเช่นกัน นอกจากสรีระในร่างกายที่ทำงานบกพร่องแล้วยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เป็นกรดไหลย้อนได้อีกด้วย คือ

  • พฤติกรรมการบริโภคการรับประทานอาหารอาหารรสจัดหรือรสเผ็ด อาหารประเภทไขมันสูง อาหารทอด  ชา กาแฟ น้ำอัดลม การดื่มสุรา รวมทั้งการสูบบุหรี่
  • พฤติกรรมการนอนหรือการเอนกายทันทีหลังรับประทานอาหาร
  • ความเครียดส่งผลให้น้ำกรดหลั่งออกมาตลอดเวลาก็ทำให้ล้นไหลขึ้นมาได้
  • โรคอ้วน เพราะด้วยสรีระที่แน่นอึดอัด พุงใหญ่ ตลอดจนการสวมเสื้อผ้าที่คับและการรัดเข็มขัดแน่น ๆ ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้เช่นกัน
  • การตั้งครรถ์ ด้วยเหตุผลคล้ายกับโรคอ้วน เพราะมีสรีระรูปร่างๆ คล้ายๆ กัน
  • ยาบางชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม ยาลดความดันบางกลุ่ม ตลอดจนกลุ่มยาฮอร์โมนบางตัวก็มีผลกระตุ้นการคลายตัวของหูรูดหรือมีการหลั่งกรดมากขึ้น

วิธีการรักษาหรือดูแลตัวเองในเบื้องต้น

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง คือ ลดสภาวะตึงเครียดหรือเร่งรีบ จนทำให้เครียดและส่งผลให้ร่างกายต้องหลั่งน้ำกรดออกมามากเกินไป
  2. รับประทานยาหรือสมุนไพร เพื่อการรักษาหรือป้องกัน ซึ่งแน่นอนการเลือกรับประทานยานั้นอาจจะอยู่ในความดูแลของบุคลากรการแพทย์เป็นคนดูแล แต่สมุนไพรนั้นยังอยู่ในการตัดสินใจของเราได้ และสมุนไพรพื้นฐานหรือภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้สืบทอดต่อกันมาว่ารักษาและดูแลกระเพาะอาหารหรือเนื้อเยื่อทางเดินอาหารของเราได้คือ “ขมิ้นชัน” ดังนั้นมาทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้กันดีกว่ามันคืออะไร และมีประโยชน์กับเราอย่างไร

สมุนไพรกับการรักษากลุ่มโรคทางเดินอาหาร

สมุนไพรที่ดีมีประโยชน์โดยตรงในการดูแลรักษาโรคกระเพาะอาหารและโรคกรดไหลย้อน รวมถึงอาการจุกเสียด แน่นท้อง มีลมในท้อง อาหารไม่ย่อย คือ ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน (Turmeric) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขมิ้นทอง, ขมิ้นดี, ขมิ้นไข, ขมิ้นหยวก, ขี้มิ้น, ขมิ้นแกง เป็นต้น และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa L. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) จัดเป็นพืชจำพวกเหง้า ใบเป็นแผ่นรูปหอกปลายแหลมกาบใบแคบมีร่องเล็ก ๆ สีเขียวอมน้ำตาล ดอกออกเป็นช่อใหญ่จากเหง้าสีขาว เนื้อในเหง้ามีสีส้มและมีกลิ่นฉุน

สรรพคุณของขมิ้นชัน

ช่วยเจริญอาหาร ยาบำรุงธาตุ ฟอกเลือด แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด อาหารไม่ย่อย ลดกรด และยังพบว่า สมุนไพร ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่มีสารเคอคิวมินอยด์ที่ซึ่งมีอยู่ในเหง้าหรือหัวของขมิ้นชัน สารนี้ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดการอักเสบ กระตุ้นการขับน้ำดีจึงทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ทั้งยังช่วยกระตุ้นการหลั่งของสาร มิวซิน ซึ่งเป็นสารเคลือบกระเพาะอาหาร จึงทำให้แผลดีขึ้น มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และน้ำมันในขมิ้นชันยังช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก https://medthai.com/

Leave a Reply